Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 ธันวาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.มั่นใจประมูล 4G คลื่น 900MHz ถึงขั้น “เลือดตก ยางออก” // เพื่อไม่ให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz มีต้นทุนต่ำกว่า และได้เปรียบในการกำหนดราคาค่าบริการ

ประเด็นหลัก





     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วิเคราะห์การแข่งขันการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ว่าจะเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดระดับ “เลือดตกยางออก” โดยมีเหตุผลมาจาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรก ผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz คงไม่ปล่อยให้คนที่จะชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ได้คลื่นไปในราคาที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz มีต้นทุนต่ำกว่า และได้เปรียบในการกำหนดราคาค่าบริการ
     
       ปัจจัยที่สอง จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ใช้ราคาคลื่นความถี่ที่ประมูลได้ในครั้งนี้ไปคำนวณราคากลางในการประมูลคลื่นความถี่ในอนาคต ดังนั้น คลื่นที่จะประมูลในอนาคตจะมีราคาสูงกว่าราคาในการประมูลครั้งนี้ ปัจจัยต่อมา คือ ความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ของผู้ให้บริการยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ที่ยังไม่มีคลื่นความถี่ คือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด และผู้ที่มีคลื่นความถี่อยู่แล้วแต่มีน้อยจึงมีความจำเป็นต้องใช้คลื่น คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งหากเรียงลำดับความสำคัญ ผู้ที่ต้องการใช้คลื่นมากที่สุดน่าจะเป็น แจส โมบาย, เอดับบิวเอ็น, ทรูฯ และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ดังนั้น การแข่งขันจะไม่มีใครยอมใครแน่นอน
     
       ปัจจัยสุดท้ายคือ เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz แตกต่างจาก 1800 MHz ที่ราคาในการเคาะหากเกินมูลค่าคลื่น 100% สามารถนำไปจ่ายในปีที่ 4 ได้



____________________________________________________________



กสทช.มั่นใจประมูล 4G คลื่น 900MHz ถึงขั้น “เลือดตก ยางออก”



        เลขาธิการ กสทช.วิเคราะห์ประมูล 4G คลื่นความถี่ 900 MHz เลือดตก ยางออกแน่ ไม่มีใครยอมใคร พร้อมรับมือการประมูลอย่างน้อย 3 วัน
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วิเคราะห์การแข่งขันการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ว่าจะเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดระดับ “เลือดตกยางออก” โดยมีเหตุผลมาจาก 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรก ผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz คงไม่ปล่อยให้คนที่จะชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ได้คลื่นไปในราคาที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz มีต้นทุนต่ำกว่า และได้เปรียบในการกำหนดราคาค่าบริการ
     
       ปัจจัยที่สอง จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ใช้ราคาคลื่นความถี่ที่ประมูลได้ในครั้งนี้ไปคำนวณราคากลางในการประมูลคลื่นความถี่ในอนาคต ดังนั้น คลื่นที่จะประมูลในอนาคตจะมีราคาสูงกว่าราคาในการประมูลครั้งนี้ ปัจจัยต่อมา คือ ความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ของผู้ให้บริการยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ที่ยังไม่มีคลื่นความถี่ คือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด และผู้ที่มีคลื่นความถี่อยู่แล้วแต่มีน้อยจึงมีความจำเป็นต้องใช้คลื่น คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งหากเรียงลำดับความสำคัญ ผู้ที่ต้องการใช้คลื่นมากที่สุดน่าจะเป็น แจส โมบาย, เอดับบิวเอ็น, ทรูฯ และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ดังนั้น การแข่งขันจะไม่มีใครยอมใครแน่นอน
     
       ปัจจัยสุดท้ายคือ เงื่อนไขการประมูลคลื่น 900 MHz แตกต่างจาก 1800 MHz ที่ราคาในการเคาะหากเกินมูลค่าคลื่น 100% สามารถนำไปจ่ายในปีที่ 4 ได้
     
       นายฐากร กล่าวอีกว่า กสทช.ได้เตรียมการรองรับการประมูลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 คืน โดยให้ผู้ประมูลจัดเตรียมเสื้อผ้ามาให้พร้อม เชื่อว่าการต่อสู้ในการเคาะราคาจะดุเดือดไม่มีใครถอย ทั้งนี้ คาดว่าหากการประมูลจะมีการเคาะราคาต่อเนื่องโดยเริ่มต้นราคาที่ 12,864 ล้านบาท โดยมีการเคาะราคาต่อเนื่อง 36 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดเวลา 21.00 น. ราคาจะไปอยู่ที่ 26,066 ล้านบาท และเมื่อพักประมูลแล้วเคาะราคาต่อไปถึง 24.00-06.00 น. ของวันที่ 16 ธ.ค. ราคาจะไปอยู่ที่ 31,862 ล้านบาท หากเคาะราคาต่อในเวลา 09.00 -21.00 น. ราคาจะไปอยู่ที่ 43,454 ล้านบาท เมื่อพักและเคาะราคาต่อ ราคา ณ เวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้นในวันที่ 17 ธ.ค.ราคาจะอยู่ที่ 49,250 ล้านบาท หากเคาะราคาต่อในเวลา 09.00-21.00 น. ราคาจะไปอยู่ที่ 60,842 ล้านบาท หากประมูลต่อถึงเช้าวันที่ 18 ธ.ค. ราคาจะไปอยู่ที่ 66,638 ล้านบาท
     

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135673

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.