Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ธันวาคม 2558 (บทความ) อนาคตของแอป วันนี้อาจอยู่ในมือของ “กูเกิล”? // การพัฒนาฟีเจอร์นี้ยังเป็นการทลายข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเสิร์ชเอนจิน นั่นก็คือ การทำให้เสิร์ชเอนจินสามารถค้นหาข้ามแพลตฟอร์มได้

ประเด็นหลัก

       การพัฒนาฟีเจอร์นี้ยังเป็นการทลายข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเสิร์ชเอนจิน นั่นก็คือ การทำให้เสิร์ชเอนจินสามารถค้นหาข้ามแพลตฟอร์มได้ ซึ่งใครที่สามารถทำในจุดนี้ได้ก่อน (มีรายงานของ Re/code ว่า ไมโครซอฟท์กำลังพัฒนาความสามารถดังกล่าวอยู่เช่นกัน) ก็ย่อมครองความได้เปรียบ และสามารถผูกใจผู้บริโภคได้มากกว่านั่นเอง เพราะอย่าลืมว่าในยุคที่มีแอปพลิเคชันต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย บางครั้งคำตอบที่ผู้บริโภคต้องการอาจมาจากคอนเทนต์ของแอปพลิเคชันก็เป็นได้


_______________________________________




อนาคตของแอป วันนี้อาจอยู่ในมือของ “กูเกิล”?




        ต้องยอมรับว่าไม่ธรรมดาจริงๆ ต่อการเปิดตัวความสามารถใหม่ของเสิร์ชเอนจินจากกูเกิล ที่สามารถค้นลึกลงไปได้จนถึงข้อมูลภายในแอปพลิเคชันของสมาร์ทโฟน แถมยังสามารถ “สตรีมมิ่ง” แอปพลิเคชันขึ้นมาทำงานได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปตัวนั้นๆ ลงในเครื่อง เพราะมันตอบโจทย์ความต้องการของทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภค นักพัฒนา รวมถึงตัวกูเกิลเอง ซึ่งอาจเรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกสามตัวก็ได้
     
       ตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างไร ประการแรก ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ในแอปพลิเคชันนั้นได้แม้พวกเขาจะไม่เคยติดตั้ง หรือไม่เคยรู้จักแอปพลิเคชันนั้นๆ มาก่อน ประการที่สอง เมื่อคลิกเลือกคอนเทนต์ที่ต้องการได้แล้ว กูเกิลจะช่วยในการสตรีมมิ่งแอปพลิเคชันนั้นๆ มาให้ใช้งานในสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ต้องการภายใต้สภาพการทำงานที่คล้ายกับการทำงานจริง และประการสุดท้าย เมื่อสิ้นสุดการสตรีมมิ่ง สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคก็จะทำงานต่อได้ตามปกติ
     
       ตัวอย่างความสามารถของระบบใหม่นี้ สมมติว่าผู้ใช้ค้นหาคำว่า “Hotels in Chicago” ระบบของกูเกิลจะสามารถค้นหาลึกลงไปถึงคอนเทนต์ในแอปพลิเคชัน HotelTonight ที่อาจไม่ได้เผยแพร่เป็นการทั่วไปเหมือนในเว็บไซต์ต่างๆ และดึงขึ้นมาแสดงผลให้ ซึ่งถ้าหากผู้ใช้สนใจก็สามารถคลิกที่ลิงก์ดังกล่าว และระบบจะทำการสตรีมมิ่งแอปลงมาให้ใช้ถึงในตัวเครื่องกันเลย
     
       มองในแง่ดีอีกด้านหนึ่งก็คือ ผู้ใช้บางรายอาจไม่มีพื้นที่เหลือมากนักในตัวเครื่อง การสตรีมมิ่งแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ก็ทำให้พวกเขาสามารถใช้งานแอปต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องเสียพื้นที่เพิ่มนั่นเอง แถมแอปพลิเคชันบางตัวก็อาจไม่มีเหตุต้องใช้ทุกวันจนต้องติดตั้งลงในเครื่องให้เปลืองพื้นที่ด้วย
     
       ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวของความสามารถนี้คือ การต้องใช้เครือข่ายไวไฟเท่านั้น เพราะหากเป็นเครือข่ายแบบอื่นแบนด์วิธในการทำงานอาจไม่เพียงพอจะรองรับการสตรีมมิ่งแอปได้นั่นเอง
     
       แม้ในวันเปิดตัวจะมีเพียง 9 แอปที่เผยโฉมเป็นพันธมิตรกับกูเกิล ได้แก่ HotelTonight, Weather, Chimani, Gormey, My Horoscope, Visual Anatomy Free, Useful Knots, Daily Horoscope และ New York Subway แต่วิศวกรกูเกิล Lan Liu หนึ่งในผู้ทำงานกับโปรเจกต์ดังกล่าวก็เผยว่า รู้สึกภูมิใจมากที่โปรเจกต์ตัวนี้ได้ออกมาโลดแล่น และให้บริการแก่ผู้ใช้งาน แม้จะไม่ทำให้ร้องว้าวออกมาได้ดังๆ เหมือนการได้เห็นโปรเจกต์รถอัจฉริยะไร้คนขับ แต่ความสามารถนี้ก็สามารถสร้างอิมแพกต์ให้เกิดต่อผู้ใช้งาน นักพัฒนา รวมถึงผู้ที่ติดตามข่าวสาร จนบางคนอาจร้องว้าวเบาๆ ในใจไปแล้วก็เป็นได้
     
       การพัฒนาฟีเจอร์นี้ยังเป็นการทลายข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเสิร์ชเอนจิน นั่นก็คือ การทำให้เสิร์ชเอนจินสามารถค้นหาข้ามแพลตฟอร์มได้ ซึ่งใครที่สามารถทำในจุดนี้ได้ก่อน (มีรายงานของ Re/code ว่า ไมโครซอฟท์กำลังพัฒนาความสามารถดังกล่าวอยู่เช่นกัน) ก็ย่อมครองความได้เปรียบ และสามารถผูกใจผู้บริโภคได้มากกว่านั่นเอง เพราะอย่าลืมว่าในยุคที่มีแอปพลิเคชันต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย บางครั้งคำตอบที่ผู้บริโภคต้องการอาจมาจากคอนเทนต์ของแอปพลิเคชันก็เป็นได้

อนาคตของแอป วันนี้อาจอยู่ในมือของ “กูเกิล”?

        ในด้านนักพัฒนา ก็เริ่มมีผู้มองความสามารถนี้ในแง่ดีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เพราะเท่ากับเป็นการแนะนำแอปให้ผู้ใช้ได้รู้จักมากขึ้น ซึ่งแอปบางตัวที่ผู้ใช้เพิ่งเคยรู้จัก ก็อาจไม่มีใครรู้ว่าบริการข้างในเป็นอย่างไร การทำให้แอปกับผู้ใช้ได้เจอกันผ่านเสิร์ชเอนจิน ก็ถือเป็นข้อดีที่นักพัฒนาไม่ควรมองข้าม และเท่ากับเป็นการประชาสัมพันธ์แอปพลิเคชันนั้นไปในตัว เพราะหากผู้ใช้สตรีมมิ่งมาแล้วรู้สึกดี ก็เป็นไปได้ว่าเขา หรือเธออาจติดตั้งแอปนั้นๆ ลงในเครื่องไปเลย
     
       แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ฟีเจอร์ใหม่นี้ทำให้กูเกิลยังคงความยิ่งใหญ่ในฐานะเสิร์ชเอนจินตัวหลักของโลกที่ใครๆ ก็นึกถึงได้ต่อไป เพราะหากกูเกิลไม่สามารถขยายอิทธิพล “ด้านการค้นหาข้อมูล” เข้าไปในวงการแอปพลิเคชันได้แล้วล่ะก็ เป็นไปได้ว่าอนาคตอาจเป็นกูเกิลเองที่ถูกเทคโนโลยีรอบข้างกลืนกินไปในที่สุด
     
       หากยังจำกันได้ ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยมีการแถลงถึงข้อมูลสำคัญเรื่องหนึ่งที่ว่า ปัจจุบัน กูเกิลมีการประมวลผลตามคำค้นของผู้ใช้มากกว่า 1 แสนล้านครั้งต่อเดือน และกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคำค้นหาที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาในระบบของกูเกิลตอนนี้ ถูกป้อนมาจากอุปกรณ์สื่อสารทั้งสิ้น สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะไม่อดทนรอกลับไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์อีกต่อไปแล้ว ซึ่งกูเกิลเองก็ไม่พลาดที่จะมองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตาไม่กะพริบ รวมถึงบอกตัวเองว่านี่อาจถึงเวลาที่ระบบเสิร์ชเอนจินต้องเปลี่ยนแปลงแล้วก็เป็นได้
     
       ไม่เพียงเท่านั้น คนในประเทศกำลังพัฒนาบางคนไม่เคยใช้แม้แต่คอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ พวกเขามีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ไอทีเครื่องแรก การจะทำให้เขาใช้เสิร์ชเอนจินจึงต้องใช้วิิธีที่แตกต่างออกไป ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมพอสมควร เพราะข้อมูลดังกล่าวยังบ่งชี้ด้วยว่า ในการใช้งานสมาร์ทโฟนผู้ใช้อาจจดจ่ออยู่กับแอปบางตัวที่พวกเขาชอบ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งก็กำลังพัฒนาระบบค้นหาข้อมูลอยู่เช่นกัน
     
       ความสำเร็จของบริการสตรีมมิ่งแอปพลิเคชันครั้งนี้จึงอยู่ที่ผู้บริโภคว่าจะเล่นด้วยกับกูเกิลหรือไม่นั่นเอง

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000131915&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+1-12-58&utm_campaign=20151130_m128507172_MGR+Morning+Brief+1-12-58&utm_term=_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B8_B2_E0_B8_84_E0_B8_95_E0_B8_82_E0_B8_AD_E0_B8_87_E0_B9_81_E0_B8_AD_E0_B8_9B+_E0_B8_A7_E0_B8_B1_E0_B8_99_E0_B8_99_E0_B8_B5_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_B2_E0_B8_88_E0_B8_AD_E0_B8_A2_E0_B8_B9_E0_B9_88_E0_B9_83_E0_B8_99_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.