Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2558 DTAC เชื่อ หากสู้ในราคาที่สูงกว่านี้เพื่อให้ได้ใบอนุญาตบริษัทก็จะต้องผลักภาระให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าแทน อีกทั้งเชื่อว่าสามารถบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งย่าน 850 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าได้ และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีศักยภาพไม่ด้อยกว่าแน่นอน

ประเด็นหลัก


"ดีแทค"เปิดใจไม่สู้ราคาประมูล 4จี บนคลื่น 1800 เหตุแพงไปไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภค มั่นใจคลื่นความถี่ที่มีอยู่ยังเหลือเฟือเพียงพอให้บริการลูกค้าได้อีกมาก

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยถึงสาเหตุที่ไม่ชนะประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากมีการประเมินระหว่างประมูลแล้วว่าคลื่นความถี่ดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกินไป โดยบริษัทเห็นว่ามูลค่าเหมาะสมอยู่ที่ดีแทคจะสู้ราคาด้วยคืออยู่ที่ 17,504 ล้านบาท เพราะหากสู้ในราคาที่สูงกว่านี้เพื่อให้ได้ใบอนุญาตบริษัทก็จะต้องผลักภาระให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าแทน อีกทั้งเชื่อว่าสามารถบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งย่าน 850 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าได้ และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีศักยภาพไม่ด้อยกว่าแน่นอน

"การประมูลเราไม่ต้องการเอามัน หรือเพื่อให้ได้ชัยชนะ ถ้าได้ก็รู้ดีใจ แต่ก็จะเป็นการผลักภาระไปให้ลูกค้า เราก็รู้สึกไม่ดี แต่ขอให้มั่นใจได้ว่าในอนาคต บริการของดีแทคจะไม่น้อยหน้าคู่แข่ง มีแต่จะมากกว่าด้วยซ้ำ" นายประเทศกล่าว




__________________




ดีแทคแจงไม่สู้ราคา 4จี ชี้ไม่ต้องการผลักภาระสู่ลูกค้า แย้มมีคลื่นเหลือเฟือให้บริการ



"ดีแทค"เปิดใจไม่สู้ราคาประมูล 4จี บนคลื่น 1800 เหตุแพงไปไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภค มั่นใจคลื่นความถี่ที่มีอยู่ยังเหลือเฟือเพียงพอให้บริการลูกค้าได้อีกมาก

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยถึงสาเหตุที่ไม่ชนะประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากมีการประเมินระหว่างประมูลแล้วว่าคลื่นความถี่ดังกล่าวมีมูลค่าสูงเกินไป โดยบริษัทเห็นว่ามูลค่าเหมาะสมอยู่ที่ดีแทคจะสู้ราคาด้วยคืออยู่ที่ 17,504 ล้านบาท เพราะหากสู้ในราคาที่สูงกว่านี้เพื่อให้ได้ใบอนุญาตบริษัทก็จะต้องผลักภาระให้กับผู้บริโภคหรือลูกค้าแทน อีกทั้งเชื่อว่าสามารถบริหารจัดการคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งย่าน 850 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าได้ และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีศักยภาพไม่ด้อยกว่าแน่นอน

"การประมูลเราไม่ต้องการเอามัน หรือเพื่อให้ได้ชัยชนะ ถ้าได้ก็รู้ดีใจ แต่ก็จะเป็นการผลักภาระไปให้ลูกค้า เราก็รู้สึกไม่ดี แต่ขอให้มั่นใจได้ว่าในอนาคต บริการของดีแทคจะไม่น้อยหน้าคู่แข่ง มีแต่จะมากกว่าด้วยซ้ำ" นายประเทศกล่าว

นายประเทศกล่าวว่า ส่วนกระแสความต้องการ 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของผู้ใช้งานมือถือในไทยและเป็นที่สนใจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในขณะนี้นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะดีแทคเป็นรายแรกในไทยที่เปิดให้บริการ 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาแล้วตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้เตรียมขยายโครงข่าย 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลครอบคลุม 1,800 สถานีฐาน ภายใน 18 วันจากที่คู่แขงได้รับใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งบริษัทเปิดให้บริการ 10 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) อนุมัติ ซึ่งในอนาคตบริษัทก็พร้อมที่จะขยายความกว้างของคลื่นให้บริการไปสู่ 15-20 เมกะเฮิรตซ์ได้ หากลูกค้าใช้งาน 4จี เพิ่มขึ้น ประกอบกับเมื่อรวมกับการให้บริการ 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ คาดสิ้นปีนี้ ดีแทค จะมีสถานีฐาน 4จี จากทั้ง 2 ย่านความถี่ราว 6,000 แห่ง ครอบคลุมกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ ปัจจุบันดีแทค มีผู้ใช้บริการ 4จี อยู่ราว 1.9 ล้านราย และผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนรองรับ 4จี มากกว่า 3.5 ล้านราย

"ระยะเวลาสัมปทานของคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่บริษัททำไว้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดในปี 2561 นั้นถือว่าเพียงพอที่จะให้บริการและรองรับการเติบโตของลูกค้าได้อีกหลายปี และมั่นใจว่าในอนาคตจะมีการเปิดประมูลคลื่นอื่นๆ อีก รวมถึงคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ของดีแทค" นายประเทศกล่าว"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447906200

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.