Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2558 DTAC พร้อมที่จะดำเนินการขยาย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มอีก 1,800 สถานีฐาน ภายใน 18 วันนับจากนี้ เพิ่มจากการเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4,000 สถานีฐาน

ประเด็นหลัก


       นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า ดีแทคพร้อมที่จะดำเนินการขยาย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มอีก 1,800 สถานีฐาน ภายใน 18 วันนับจากนี้ เพิ่มจากการเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4,000 สถานีฐาน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วภายในสิ้นปีนี้ดีแทคจะมีเสาสัญญาณ 4G ประมาณ 6,000 สถานีฐาน โดยจะใช้งบซึ่งมีอยู่เดิม 2 หมื่นล้านบาทมาดำเนินการ
   




__________________




ดีแทคขยาย 4G อีก 1,800 สถานีฐานใน 18 วัน


นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด

        ดีแทค ลดข้อกังขาสังคมหลังเคาะราคาประมูลคลื่น 1800 MHz ต่ำเกินไป เร่งเดินหน้าขยาย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz อีกจำนวน 1,800 สถานีฐานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลภายใน 18 วัน ชี้หลังประเมินความคุ้มค่าแล้วพบว่าการนำเงินมาอัปเกรดจะสร้างประสบการณ์ใช้งานให้แก่ลูกค้าได้ดีกว่าการประมูลคลื่นความถี่ที่อาจจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้น เผยปัจจุบัน ยังมีลูกค้าที่ใช้งาน 2G ยังมีอยู่มาก แต่หากลูกค้าจะหันมาใช้ 4G ก็พร้อมที่จะขยาย
     
       นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า ดีแทคพร้อมที่จะดำเนินการขยาย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มอีก 1,800 สถานีฐาน ภายใน 18 วันนับจากนี้ เพิ่มจากการเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4,000 สถานีฐาน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วภายในสิ้นปีนี้ดีแทคจะมีเสาสัญญาณ 4G ประมาณ 6,000 สถานีฐาน โดยจะใช้งบซึ่งมีอยู่เดิม 2 หมื่นล้านบาทมาดำเนินการ
     
       ปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้าที่ใช้บริการ 4G อยู่ทั้งสิ้น 1.9 ล้านราย ในขณะที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่สามารถรองรับ 4G ได้มากกว่า 3.5 ล้านราย จึงยังเหลือลูกค้าที่ยังสามารถใช้งาน 4G เพิ่มขึ้นได้อีกมาก และคลื่นที่มีอยู่ยังเพียงพอต่อการใช้งาน ประกอบกับดีแทคพร้อมที่จะขยายแบนด์วิธไปสู่ 15-20 MHz หากลูกค้ามีความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ใช้อยู่ 10 MHz
     
       “การประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ผ่านมา เราได้ทำการประเมินมูลค่าของคลื่นแล้ว พบว่า เรามีความกว้างคลื่นอยู่ 45 MHz อยู่แล้ว จะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ในระดับไหน และถ้าได้คลื่นมาอีกเราจะบริหารจัดการอย่างไรที่จะไม่ให้เป็นภาระของผู้บริโภค ซึ่งหลังจากการประเมินมูลค่าแล้วพบว่า ถ้าได้คลื่นใหม่มาอีกอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้ และปัจจุบันดีแทคก็มีความสามารถในการแข่งขันไม่เป็นรองใครในตลาดอยู่แล้ว”
     
       นายประเทศ กล่าวว่า ผลกระทบหลังจากการประมูล 4G นั้นมีบ้าง เนื่องจากมีข่าวคราวหลายกระแส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกังวลเรื่องระยะสัมปทานที่เหลืออีกเพียง 3 ปี สิ่งที่ลูกค้ากังวล และเข้าใจผิดอยู่นี้ ดีแทคจะทำการสื่อสารไปถึงลูกค้าว่าความจริงเป็นอย่างไร คลื่นในมือที่มีอยู่มีประสิทธิภาพอย่างไร ทำให้เข้าใจว่าการประมูลครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการประมูล 4G แต่เป็นการประมูลคลื่นความถี่เท่านั้น เพราะ 4G ดีแทคให้บริการมานานแล้ว และกำลังจะขยายขึ้นอีกตามความต้องการของลูกค้า
     
       คำถามที่ว่าคลื่นสัมปทานที่เหลือน้อยนั้น เมื่อถึงเวลาที่สัมปทานหมด กสทช. บอกว่าการจัดสรรคลื่นต้องผ่านการประมูลเท่านั้น ซึ่งในอนาคตดีแทคมั่นใจว่าดีแทคจะสับเปลี่ยนสัญญาสัมปทานมาเป็นไลเซนส์คลื่นความถี่ได้ นอกจากนี้ การประมูลรอบนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ทำให้รัฐบาลมองเห็นว่าคลื่นมีมูลค่าเยอะถ้าปล่อยออกมาแล้วจะทำให้คลื่นเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ในอนาคตจึงน่าจะมีคลื่นความถี่ใหม่ๆ ออกมาให้ประมูลได้อีก
     
       “การประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ผ่านมาต้องเอาอารมณ์ออกไป แล้วดูที่มูลค่าที่ถูกต้องเองว่าถ้าจะประมูลได้แล้วไม่เป็นภาระเพิ่มจะต้องหยุดอยู่ที่เท่าไรถึงจะเหมาะสม ซึ่งถ้าเราประมูลได้ออกมาแล้วอยู่ที่ 40,000 ล้าน เราถือว่าผิดพลาด ประกอบกับดีแทคมองว่า การทำธุรกิจต้องให้ต้นทุนในการให้บริการที่ไม่ไปเป็นภาระค่าใช้จ่ายไปสู่ลูกค้าของเรา ซึ่งเงินที่เราใช้ในการอัปเกรดขยายความกว้างแบนด์วิธในครั้งนี้ถือว่าคุ้มกว่าที่เราจะไปประมูลได้มา”
     
       นอกจากนี้ ปัจจุบันดีแทคมีคนที่ยังใช้งาน 2G อยู่มาก และการจะอัปเกรดจะต้องดูประสบการณ์ของลูกค้าด้วยว่าขณะนี้ลูกค้าที่ใช้แต่ละคลื่นความถี่ต่างๆ นั้นมีอยู่กี่ราย ดังนั้น เพื่อรักษาประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าก่อนที่จะนำคลื่นมาแบ่งเพื่อใช้งานในคลื่นความถี่อื่นๆ ต้องสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ให้เหมาะสมได้ ซึ่งใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ดีแทคได้ทำเน็ตเวิร์กสวอฟเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดที่จะสามารถอัปเกรดเป็น 3G หรือ 4G ได้อย่างรวดเร็ว
     
     
       “ดีแทคมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานอยู่แล้ว มีคลื่นที่ใช้งานได้อยู่แล้ว แค่เอาคลื่นที่มีอยู่มาอัปเกรดได้อย่างรวดเร็วก็สามารถสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ลูกค้าได้ ดังนั้น 1,800 สถานีฐานที่จะขยายการให้บริการ 4G เพิ่มภายใน 18 วัน จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และจะทำให้ลูกค้าของดีแทคใช้ 4G บนคลื่นความถี่ได้เร็วก่อนใคร”

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000128159&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+19-11-58&utm_campaign=20151119_m128315236_MGR+Morning+Brief+19-11-58&utm_term=_E0_B8_94_E0_B8_B5_E0_B9_81_E0_B8_97_E0_B8_84_E0_B8_82_E0_B8_A2_E0_B8_B2_E0_B8_A24G+_E0_B8_AD_E0_B8_B5_E0_B8_811_2C800+_E0_B8_AA_E0_B8_96_E0_B8_B2_E0_B8_99_E0_B8_B5_E0_B8_90_E0_B8_B2_E0_B8_99_E0_B9_83_E0_B8_99+18+_E0_B8_A7_E0_B8_B1_E0_B8_99

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.