Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) ทีดีอาร์ไอ ชี้การประมูลไร้สัญญาณสมคบราคา การประมูล 1800 ออกมาดูดี ระบุชัดการประมูลต้องเป็นเช่นนี้ มีการแข่งขันอย่างแท้จริง พร้อมวอน กสทช. ระวังเหตุการณ์ไม่คาดคิดหลังประมูล จากผู้ที่ได้ใบอนุญาตและไม่ได้ใบอนุญาต

ประเด็นหลัก



       ***ทีดีอาร์ไอชี้ไร้สัญญาณฮั้ว
     
       ทีดีอาร์ไอ ชี้การประมูลไร้สัญญาณสมคบราคา การประมูลออกมาดูดี ระบุชัดการประมูลต้องเป็นเช่นนี้ มีการแข่งขันอย่างแท้จริง พร้อมวอน กสทช. ระวังเหตุการณ์ไม่คาดคิดหลังประมูล จากผู้ที่ได้ใบอนุญาตและไม่ได้ใบอนุญาต
     
       นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าการประมูลความถี่ 1800 MHzได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษเพราะผู้ประกอบการมีปัจจัยให้เกิดความต้องการคลื่นความถี่ตรงกัน และขณะนี้ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการสมคบด้านราคาของผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด ซึ่งการประมูลครั้งนี้ดูดีกว่าการประมูล 3G ที่ผ่านมา
     
       โดยการเคาะราคาข้ามวันข้ามคืนเป็นเรื่องปกติของการประมูล ยกตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการแข่งขันกันเช่น ประเทศเยอรมนีในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการเคาะราคากันถึง 181 รอบ ใช้เวลาการประมูลทั้งสิ้น 16 วัน ได้รายได้เข้ารัฐคิดเป็นเงินกว่า 5 พันล้านยูโร หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท นั่นเป็นเพราะว่าคลื่น 4G เป็นคลื่นของเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลที่ชัดเจน
     
       ทั้งนี้สิ่งที่อยากจะเตือนหน่วยงาน กสทช. ให้ระวังก็คือ หลังจากวันนี้จะมีผู้ชนะการประมูลไม่เกิน 2 ราย ซึ่งคนที่ได้จะเป็นต่อในตลาด 4G ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการจูงใจยั่วยุไม่ให้เกิดการประมูลคลื่น 900MHz ที่กำลังจะจัดขึ้นในราวเดือนธันวาคมนี้ก็เป็นได้ ขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้ก็อาจจะอยากล้มการประมูลก็ได้ เรื่องเหล่าเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นเพียงข้อกังวลเท่านั้น จึงอยากวอนให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบเรื่องนี้อย่างรอบคอบ
     
       นอกจากนี้ยังอย่าให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น คือ1.อย่าให้มีการล้มการประมูล 1800 MHz ในครั้งนี้ 2. อย่าให้เกิดการล้มหรือเลื่อนประมูล 900 MHz เพราะจะทำให้เกิดการแข่งขันธุรกิจโทรคมนาคมในตลาดน้อย หรือถ้าจะให้สวยหรูควรต้องมีรายใหม่เข้ามาแข่งขันเต็มที่มากขึ้น และอย่ายอมให้เกิดการประมูล 4G นอกระบบเกิดขึ้นอย่างที่เคยทำในอดีต และ3. การประมูลครั้งนี้ผู้ประกอบการคิดคำนวนมาดีแล้ว ถ้ามาขอให้ผ่อนผันหรือให้รัฐอุ้มเพื่อช่วยผู้ประกอบการในอนาคตไม่ควรทำ เพราะจะไม่เป็นธรรมต่อผู้แข่งขันในตลาดรายอื่นๆ


_________________________________________



พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากผลของการประมูลครั้งนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าทางกสทช.ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส่ โดยมีการเข้ามาสังเกตการณ์กันทุกขั้นตอน
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (ประธานกทค.) กล่าวถึงผลการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ว่า ผลการประมูลผู้ชนะใบอนุญาตที่ 1 ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และ ผู้ชนะใบอนุญาตที่ 2 ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด
     
       โดยผลการประมูลปิดที่เวลา 19.05 น.ในช่วงคลื่นที่หนึ่ง 1710 - 1725 MHz / 1805 - 1820 MHz อยู่ที่ราคา39,792 ล้านบาท คิดเป็น 200% เมื่อเทียบกับราคาตั้งต้นประมูล เป็นราคาที่ยืนมาตั้งแต่รอบที่ 84 ส่วนช่วงคลื่นที่สอง 1725 - 1740 MHz / 1820 - 1835 MHz ราคา40,986 ล้านบาท คิดเป็น 206% เมื่อเทียบกับราคาตั้งต้น โดยเป็นราคาที่มีผู้แสดงความประสงค์ในรอบที่ 85 ขณะที่ราคารวม 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 80,778 ล้านบาท
     
       ส่วนบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด มีการเคาะครั้งสุดท้ายในช่วงคลื่นที่หนึ่ง ราคา 38,996 ล้านบาท เช่นเดียวกับ ดีแทค ในราคา 17,504 ล้านบาท
     
       ทั้งนี้ การประมูลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. เวลา 10.00 น. ก่อนประกาศให้ผู้ประมูลหยุดพัก 3 ชั่วโมง ในเวลา 11.30-14.30 น.ของวันที่ 12 พ.ย. และเริ่มประมูลต่อในเวลา 14.30 น. ซึ่งทางผู้เข้าประมูลก็ไม่มีทีท่าจะหยุดเคาะราคา จนล่วงเลยมาถึงเวลา 17.25 น.ที่เป็นรอบการประมูลที่ 84 ได้มีการหยุดพักเพื่อแจ้งมติกทค.ที่จะให้หยุดพักการประมูลเวลา 17.30 น.และไปประมูลต่อในเวลา 10.00 น.วันรุ่งขึ้น (13พ.ย.)
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแจ้งมติดังกล่าวออกไปทางผู้เข้าประมูลได้มีการทำหนังสือคัดค้านโดยระบุเหตุผลว่า ถ้าให้พักผ่อนภายในสำนักงานทางผู้เข้าประมูลขอประมูลต่อ จึงเริ่มประมูลรอบที่ 85 ต่อในเวลา 18.30 น.แต่เมื่อถึงเวลา 24.00 น. ถ้ายังไม่จบการประมูลจะออกเป็นมาตรการบังคับให้หยุดพักการประมูลต่อไป
     
       หลังจากนั้น ในเวลา 19.05 น.ในการประกาศผลการประมูลรอบที่ 86 ไม่มีผู้เคาะราคาประมูลเพิ่ม ทำให้ระบบประมวลผลแจ้งว่าสิ้นสุดการประมูลสรุปรวมราคาทั้ง 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 80,778 ล้านบาท
     
       ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นทางสำนักงานกสทช. จะมีการประกาศผลการประมูลภายใน 7 วัน ซึ่งคาดว่าไม่เกินวันที่ 17 พ.ย.จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ให้แก่ผู้เข้าร่วมการประมูลภายหลังจากผู้เข้าร่วมการประมูลได้ปฏิบัติตาม เงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตอย่างครบถ้วน ถูกต้องภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล
     
       สำหรับงวดการชำระเงินค่าประมูลจะแบ่งการชำระออกเป็น 3 งวด โดยงวดแรกชำระ 50 % ภายใน 90 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล งวดที่ 2 ชำระ 25% ภายใน 15 วันเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่ 3 ชำระ 25% ภายใน 15 วันเมื่อครอบกำหนดระยะเวลา 3 ปี
     
       ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ 4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ซึ่งเดินทางมาประมูลตั้งแต่เวลา 08.00 น.ของวันที่ 11 พ.ย.นั้น ต่างก็ถูกเก็บตัวอยู่แต่ในห้องประมูลจนสิ้นสุดการประมูล เป็นระยะเวลารวมกว่า 34 ชั่วโมง
     
       ส่วนประเด็นเรื่องของค่าบริการ ในเงื่อนไขการประมูลกำหนดให้อัตราค่าบริการต้องต่ำกว่า 3G ดังนั้นผู้เข้าประมูลต้องยอมรับเงื่อนไขนี้เพื่อเข้าร่วมประมูล และในการเปิดให้บริการต้องมีอย่างน้อย 1 แพกเกจที่มีคุณภาพดีไม่ต่ำกว่า 3G ที่มีอยู่เดิมแต่ได้ราคาที่ถูกลง ซึ่งวิธีกำกับดูแลแบบนี้ต่างจากตอน 3G เพราะเป็นเงื่อนไขที่จับต้องได้
     
       นอกจากนี้ ยังมองว่าการประมูลคลื่นความถี่ถือเป็นโอากาสในการขยายธุรกิจของทางผู้ ประกอบการไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้กับ Internet of Things ที่เป็นการนำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือที่ถือเป็นอนาคตของยุคดิจิตอล
     
       ***ทีดีอาร์ไอชี้ไร้สัญญาณฮั้ว
     
       ทีดีอาร์ไอ ชี้การประมูลไร้สัญญาณสมคบราคา การประมูลออกมาดูดี ระบุชัดการประมูลต้องเป็นเช่นนี้ มีการแข่งขันอย่างแท้จริง พร้อมวอน กสทช. ระวังเหตุการณ์ไม่คาดคิดหลังประมูล จากผู้ที่ได้ใบอนุญาตและไม่ได้ใบอนุญาต
     
       นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าการประมูลความถี่ 1800 MHzได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษเพราะผู้ประกอบการมีปัจจัยให้เกิดความต้องการคลื่นความถี่ตรงกัน และขณะนี้ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการสมคบด้านราคาของผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด ซึ่งการประมูลครั้งนี้ดูดีกว่าการประมูล 3G ที่ผ่านมา
     
       โดยการเคาะราคาข้ามวันข้ามคืนเป็นเรื่องปกติของการประมูล ยกตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการแข่งขันกันเช่น ประเทศเยอรมนีในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการเคาะราคากันถึง 181 รอบ ใช้เวลาการประมูลทั้งสิ้น 16 วัน ได้รายได้เข้ารัฐคิดเป็นเงินกว่า 5 พันล้านยูโร หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท นั่นเป็นเพราะว่าคลื่น 4G เป็นคลื่นของเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลที่ชัดเจน
     
       ทั้งนี้สิ่งที่อยากจะเตือนหน่วยงาน กสทช. ให้ระวังก็คือ หลังจากวันนี้จะมีผู้ชนะการประมูลไม่เกิน 2 ราย ซึ่งคนที่ได้จะเป็นต่อในตลาด 4G ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการจูงใจยั่วยุไม่ให้เกิดการประมูลคลื่น 900MHz ที่กำลังจะจัดขึ้นในราวเดือนธันวาคมนี้ก็เป็นได้ ขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้ก็อาจจะอยากล้มการประมูลก็ได้ เรื่องเหล่าเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นเพียงข้อกังวลเท่านั้น จึงอยากวอนให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบเรื่องนี้อย่างรอบคอบ
     
       นอกจากนี้ยังอย่าให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น คือ1.อย่าให้มีการล้มการประมูล 1800 MHz ในครั้งนี้ 2. อย่าให้เกิดการล้มหรือเลื่อนประมูล 900 MHz เพราะจะทำให้เกิดการแข่งขันธุรกิจโทรคมนาคมในตลาดน้อย หรือถ้าจะให้สวยหรูควรต้องมีรายใหม่เข้ามาแข่งขันเต็มที่มากขึ้น และอย่ายอมให้เกิดการประมูล 4G นอกระบบเกิดขึ้นอย่างที่เคยทำในอดีต และ3. การประมูลครั้งนี้ผู้ประกอบการคิดคำนวนมาดีแล้ว ถ้ามาขอให้ผ่อนผันหรือให้รัฐอุ้มเพื่อช่วยผู้ประกอบการในอนาคตไม่ควรทำ เพราะจะไม่เป็นธรรมต่อผู้แข่งขันในตลาดรายอื่นๆ

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000126077&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+13-11-58&utm_campaign=20151112_m128228818_MGR+Morning+Brief+13-11-58&utm_term=4G_E0_B8_97_E0_B8_B0_E0_B8_A5_E0_B8_B88_E0_B8_AB_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E0_B9_88_E0_B8_99_E0_B8_A5_+_E0_B8_97_E0_B8_A3_E0_B8_B9-_E0_B9_80_E0_B8_AD_E0_B9_84_E0_B8_AD_E0_B9_80_E0_B8_AD_E0_B8_AA_E0_B8_84_E0_B8_A7_E0_B9_89_E0_B8_B2_E0_B8_84_E0_B8_99_E0_B8_A5_E0_B8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.