Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า การให้บริการ 4G เป็น 1 ในปัจจัยที่ทำให้มูลค่าตลาดโฆษณาดิจิทัลปี 2559 เติบโตขึ้นไม่น้อยกว่า 60% เช่นเดียวกับปี 2558 นี้ที่มีมูลค่ารวมกว่า 9,800 ล้านบาท เพราะเมื่อความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจะดึงดูดให้ผู้บริโภคอยู่กับสมาร์ท

ประเด็นหลัก



"ศิวัตร เชาวรียวงษ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า การให้บริการ 4G เป็น 1 ในปัจจัยที่ทำให้มูลค่าตลาดโฆษณาดิจิทัลปี 2559 เติบโตขึ้นไม่น้อยกว่า 60% เช่นเดียวกับปี 2558 นี้ที่มีมูลค่ารวมกว่า 9,800 ล้านบาท เพราะเมื่อความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจะดึงดูดให้ผู้บริโภคอยู่กับสมาร์ท

ดีไวซ์ต่างๆนานขึ้น ทำให้แบรนด์สินค้าให้ความสำคัญกับช่องทางดิจิทัลมากขึ้น โดยรูปแบบโฆษณณาจะเติบโตมากที่สุดคือการทำโฆษณาแบบวิดีโอคุณภาพเอชดี เนื่องจากสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ได้ตรงจุด

"เมื่อมี 4G คนใช้โมบายอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วจะใช้มากขึ้น เพราะความเร็วสูงขึ้นหลายเท่า คงไม่แปลกที่ 3G จะราคาถูกลงทำให้เกิดหน้าใหม่ ๆ เข้ามาในโลกออนไลน์มากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ก็จะใส่เงินมายังช่องทางดิจิทัลแน่นอน แต่ยังไม่สามารถคาดการณ์ตัวเลขได้ว่าจะมูลค่าแค่ไหน คิดว่าเติบโตขั้นต่ำคือที่ 60% แน่นอน

ด้วยจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับระบบวิเคราะห์การใช้โฆษณาดิจิทัลทำได้ดีขึ้นทำให้หันมาลงทุนช่องทางนี้ แต่ต้องรออีกระยะถึงจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม เพราะในต่างประเทศโฆษณาดิจิทัลมีสัดส่วน 20-30% ของตลาดโฆษณาโดยรวม แต่ในบ้านเรายังอยู่ที่ 8%"


_________________________________________



ธุรกิจตีปีกรับปรากฏการณ์ 4G "อีคอมเมิร์ซ-โฆษณา-สตาร์ตอัพ" ฉลุย



การประมูลคลื่นใหม่ใบอนุญาตใหม่ทั้ง 2 ความถี่ เริ่มจากความถี่ 1800 MHz ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะดุเดือดเลือดพล่านอย่างยิ่ง ด้วยว่ามี 2 ใบอนุญาต แต่มีผู้เข้าชิงถึง 4 ราย หมายความว่าจะมีผู้สมหวังและพลาดหวังห่างกันถึงครึ่งต่อครึ่ง ว่ากันว่า 1 ใน 2 ผู้ชนะหนีไม่พ้นตัวเก็งเต็งจ๋า

"เอไอเอส" อีก 1 จะเป็นใครใน 3 รายคงต้องรอลุ้นผลกันวันที่ 11 พ.ย.นี้ แต่ไม่ว่าใครจะคว้าชัยไปในที่สุด หลายฝ่ายมองว่าดีกว่าไม่มีประมูลแน่นอน เพราะนอกจากภาครัฐจะมีรายได้จากการประมูลแล้วยังจะมีการลงทุนโครงข่ายเพื่อขยายบริการเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาทของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ยังไม่นับธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกมาก



ค่าบริการถูกกว่า 3G

เฉพาะอัตราค่าบริการ "ฐากร ตัณฑสิทธิ์"เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ย้ำแล้วย้ำอีกว่า ผู้บริโภคจะได้ใช้บริการ 4G ในราคาที่ถูกกว่า 3G ตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาต จากปัจจุบันค่าโทรระบบ 3G อยู่ที่ 33 สตางค์/นาที ขณะที่โมบายดาต้าอยู่ที่ 26 สตางค์/MB คาดว่าประชาชนจะได้ใช้บริการภายในเดือน ม.ค 2559 นี้

"ไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว" ประธานอนุกรรมการมาตรฐานวิจัยและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า การประมูลคลื่นจะส่งผลต่อเนื่องกับระบบเศรษฐกิจ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในมิติด้านสังคม การศึกษา และสาธารณสุข เพราะการมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพทำให้ได้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูงขึ้นส่งผลดีต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ขณะที่ ดร.ชาญไชย ไทยเจียม อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า คุณสมบัติของคลื่นทั้งสองย่านที่ กสทช.นำออกประมูลมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน โดยคลื่น 1800 MHz รองรับเทคโนโลยีที่ให้บริการโมบายดาต้าด้วยความเร็วเหนือกว่า แต่คลื่น 900 MHz

ส่งสัญญาณครอบคลุมกว้างกว่าทำให้ประหยัดเงินลงทุนโครงข่าย จึงน่าจะเป็นที่ต้องการของผู้เข้าประมูลทั้งสองย่านทำให้การประมูลมีการแข่งขันสูง

"ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือรัฐบาล เพราะได้เงินจากการประมูล และมีเงินลงทุนโครงข่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ประชาชนได้บริการที่ดีขึ้นจากการแข่งกันพัฒนาบริการ"


ดันโฆษณาดิจิทัลโต 60%

"ศิวัตร เชาวรียวงษ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด และนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า การให้บริการ 4G เป็น 1 ในปัจจัยที่ทำให้มูลค่าตลาดโฆษณาดิจิทัลปี 2559 เติบโตขึ้นไม่น้อยกว่า 60% เช่นเดียวกับปี 2558 นี้ที่มีมูลค่ารวมกว่า 9,800 ล้านบาท เพราะเมื่อความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจะดึงดูดให้ผู้บริโภคอยู่กับสมาร์ท

ดีไวซ์ต่างๆนานขึ้น ทำให้แบรนด์สินค้าให้ความสำคัญกับช่องทางดิจิทัลมากขึ้น โดยรูปแบบโฆษณณาจะเติบโตมากที่สุดคือการทำโฆษณาแบบวิดีโอคุณภาพเอชดี เนื่องจากสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ได้ตรงจุด

"เมื่อมี 4G คนใช้โมบายอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วจะใช้มากขึ้น เพราะความเร็วสูงขึ้นหลายเท่า คงไม่แปลกที่ 3G จะราคาถูกลงทำให้เกิดหน้าใหม่ ๆ เข้ามาในโลกออนไลน์มากขึ้น แบรนด์ต่าง ๆ ก็จะใส่เงินมายังช่องทางดิจิทัลแน่นอน แต่ยังไม่สามารถคาดการณ์ตัวเลขได้ว่าจะมูลค่าแค่ไหน คิดว่าเติบโตขั้นต่ำคือที่ 60% แน่นอน

ด้วยจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับระบบวิเคราะห์การใช้โฆษณาดิจิทัลทำได้ดีขึ้นทำให้หันมาลงทุนช่องทางนี้ แต่ต้องรออีกระยะถึงจะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม เพราะในต่างประเทศโฆษณาดิจิทัลมีสัดส่วน 20-30% ของตลาดโฆษณาโดยรวม แต่ในบ้านเรายังอยู่ที่ 8%"


สตาร์ตอัพคอนเทนต์ตีปีก

"เรืองโรจน์ พูนผล" ผู้บริหารกองทุน 500 ตุ๊กตุ๊ก กล่าวว่า สตาร์ทอัพที่ได้รับประโยชน์จากการให้บริการ 4G เป็นกลุ่มแรกคือผู้ให้บริการคอนเทนต์ เพราะความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นทำให้การรับชมคอนเทนต์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์และอีบุ๊ก เร็วกว่า 3G หากผู้บริโภคชื่นชอบคอนเทนต์เหล่านั้นก็มีโอกาสขยับมาสู่กลุ่ม Fin Tech หรือการให้บริการด้านการเงิน เช่น อีวอลเล็ต เนื่องจากต้องใช้บริการเหล่านี้ในการชำระค่าบริการ ถ้าผู้บริโภคเชื่อใจการชำระเงินออนไลน์ก็จะส่งผลให้การเลือกซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นด้วย

"การมี 4G ทำให้ผู้บริโภคและองค์กรต่าง ๆ เข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว ไม่เหมือนยุค 3G ที่เป็นจุดเริ่มต้นของบริการดาต้า เมื่อทุกอย่างเป็นดิจิทัล พฤติกรรมการใช้งานเปลี่ยนไป ทุก ๆ คนจะถือสมาร์ทดีไวซ์เพื่อเข้าถึงข้อมูลตลอดเวลาจากความเร็วที่เพิ่มขึ้น

จุดนี้เป็นโอกาสของกลุ่มสตาร์ตอัพและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่จะสร้าง Tech Startup ใหม่ ๆ ในประเทศไทย การเติบโตจะเป็นลักษณะโดมิโน เมื่อคนรับชมคอนเทนต์ ออนไลน์ ไปชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ก็จะไปซื้อสินค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ"

จุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซ

"ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยกล่าวว่า 4G ทำให้ความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอัตโนมัติทำให้รูปแบบการขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซเปลี่ยนไป จากเดิมใช้ภาพนิ่งแนะนำสินค้าจะเปลี่ยนเป็นใช้ภาพเคลื่อนไหวที่สร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มที่มีเว็บไซต์และกลุ่มที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางหลัก

ปัจจุบันมีผู้ค้าออนไลน์ที่มีเว็บไซต์ชัดเจนราว 5 แสนราย คาดว่าในปี 2559 จะเพิ่มขึ้นอีก 20-30% ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่บนโซเชียลเน็ตเวิร์กยังไม่มีจำนวนที่ชัดเจน แต่จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งการมี 4G ยังส่งผลให้ค่าบริการ 3G ถูกลงทำให้มีผู้บริโภคหน้าใหม่เข้าสู่ธุรกิจ และเพิ่มโอกาสให้กับผู้ค้าออนไลน์มากขึ้น

ปลุกสมาร์ทดีไวซ์บูม

"สุระ คณิตทวีกุล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.คอมเซเว่น กล่าวว่า การประมูลคลื่น 4G เป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจโทรศัพท์มือถือในปีหน้า เนื่องจากปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือเพียง 10% รองรับเทคโนโลยี 4G เมื่อผู้บริโภคต้องการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงบน 4G จะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ และเชื่อว่าโอเปอเรเตอร์ที่ชนะประมูลจะมีแคมเปญส่งเสริมการขายออกมาต่อเนื่องเพื่อดึงให้ผู้บริโภคให้เข้ามาใช้งานมากขึ้นทำให้ผู้ค้าจำหน่ายเครื่องได้เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ

"เราเองเข้ามาทำตลาดมือถือในช่วงที่ 3G บูมใหม่ ๆ ยอดขายโตเร็วมาก เพราะความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงคิดว่าหลังประมูล 4G ก็คงเกิดขึ้นอีก ขณะที่ระดับราคาเครื่องที่ขายดีจะลดลงมาอยู่ที่ 4,000 บาท จาก 6,000-7,000 บาทในปีนี้

ซึ่งบริษัทเตรียมนำสมาร์ทโฟนแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาจำหน่ายเพิ่มขึ้น และมีความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์เพื่อนำเครื่องมาทำโปรโมชั่นร่วมกันมากขึ้น จากที่ทำช้อปอินช้อปร่วมกับทรู และขายสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ของค่ายมือถืออยู่แล้ว ทั้งจะเปิดร้านจำหน่ายมือถือภายใต้แบรนด์บานาน่าโมบายเพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟนด้วย"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447254424

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.