Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 กสทช. ชี้ กรณีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ได้ส่งหนังสือปฏิเสธการนำส่งรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาลูกค้าหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตามมติ กทค.ที่ระบุให้ทรูมูฟ จะต้องนำส่งเงิน 1,069,983,638.11 บาท และดีพีซีต้องจ่าย 627,636,136.87 บาท เพื่อให้กสทช. นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินนั้น ได้ถูกเลื่อนการพิจารณาออกไป

ประเด็นหลัก

ส่วนกรณีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ได้ส่งหนังสือปฏิเสธการนำส่งรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาลูกค้าหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตามมติ กทค.ที่ระบุให้ทรูมูฟ จะต้องนำส่งเงิน 1,069,983,638.11 บาท และดีพีซีต้องจ่าย 627,636,136.87 บาท เพื่อให้กสทช. นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินนั้น ได้ถูกเลื่อนการพิจารณาออกไป





_________________________________________



"ทีโอที" อัพเกรดคลื่น 2.4GHz ปูพรมบรอดแบนด์LTE ใน4ปี


ตามคาด กทค.ไฟเขียวอัพเกรดคลื่น 2300 ให้ทีโอที 60 MHz ถึงปี"68 พร้อมใช้ LTE ปูพรมบริการบรอดแบนด์เทียบชั้น FTTx ภายใน 4 ปี รองรับลูกค้าได้ 2 ล้านราย ตั้งเป้าเปิดให้บริการไตรมาส 3 ปี"59

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) อนุมัติให้บมจ.ทีโอที ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่บนย่าน 2306-2370 MHz หรือคลื่น 2.4 GHz จำนวน 60 MHz โดยนำไปให้บริการบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยี LTE จนถึง 3 ส.ค. 2568 จากเดิมทีโอทีได้สิทธิใช้ 64 MHz สำหรับขยายบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท

"ให้แค่ 60 MHz ส่วนอีก 4 MHz ไม่อนุมัติ เพราะตามแผนการจัดคลื่นต้องลงล็อกละ 5 MHz หากทีโอทีใช้งานไม่หมดขอให้ส่งคลื่นคืนกลับมายัง กสทช. เพื่อให้นำไปใช้งานอื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป"

ตามมาตรา 48 วรรค 3 พ.ร.บ.กสทช. ให้ กสทช.ต้องติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนแม่บทบริหารคลื่นและต้องปรับปรุงแผนเพื่อการบริหารคลื่นให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งการอนุมัตินี้จะทำให้หน่วยงานรัฐใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้นและมีรายได้นำส่งเข้าคลัง

แหล่งข่าวภายในสำนักงาน กสทช.เปิดเผยว่า แผนของทีโอทีได้เสนอขอให้บริการ LTE ทั้งในเขตเมืองและชนบทด้วยความเร็วเทียบเคียงกับบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูง FTTx เพื่อให้สามารถให้บริการในพื้นที่ไม่สามารถลากสาย FTTx เข้าไปได้ด้วยความจำกัดของพื้นที่ ขณะที่ความเร็วของ LTE ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 150/50 Mbps

สำหรับการวางโครงข่ายการให้บริการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ สถานีฐานในเขตชุมชนและชนบท ซึ่งจะมีแผนการตลาดมารองรับเพื่อกำหนดพื้นที่แต่ละปีในการให้บริการ ตั้งเป้าจะให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 4 ปี แบ่งงานออกเป็น 4 ระยะ แต่ละระยะจะแบ่งการติดตั้งสถานีฐานในเขตเมืองและชุมชนอย่างละครึ่ง ได้แก่ ระยะที่ 1 ปี 2559 จะติดตั้งสถานีฐานให้ครอบคลุมทุกจังหวัด อย่างน้อย 2,000 แห่ง รองรับลูกค้าได้อย่างน้อย 5 แสนราย ระยะที่ 2 ปี 2560 ติดตั้งสถานีฐานเพิ่มอีกอย่างน้อย 2,000 แห่ง รวมเป็นสถานีฐาน 4,000 แห่ง รองรับลูกค้าอย่างน้อย 1 ล้านราย

ระยะที่ 3 ปี 2561 ติดตั้งสถานีฐานเพิ่มเพื่อให้มีครอบคลุมอย่างน้อย 6,000 แห่งรองรับลูกค้า 1.5 ล้านราย และระยะที่ 4 ปี 2562 ติดตั้งสถานีฐานให้มีอย่างน้อย 1 หมื่นแห่ง รองรับลูกค้าอย่างน้อย 2 ล้านราย

โดยทีโอทีคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ราวไตรมาส 3 ปี 2559 ก่อนที่จะทยอยขยายบริการไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่การอัพเกรดเทคโนโลยีในการให้บริการบรอดแบนด์นี้อาจจะทำให้ลูกค้าบางส่วนที่ใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์เดิมต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ปลายทางใหม่เพื่อให้เข้ามาใช้บริการได้ ทางทีโอทีแจ้งว่าจะเป็นฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ใหม่ให้

ส่วนกรณีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ได้ส่งหนังสือปฏิเสธการนำส่งรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาลูกค้าหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ตามมติ กทค.ที่ระบุให้ทรูมูฟ จะต้องนำส่งเงิน 1,069,983,638.11 บาท และดีพีซีต้องจ่าย 627,636,136.87 บาท เพื่อให้กสทช. นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินนั้น ได้ถูกเลื่อนการพิจารณาออกไป

ขณะที่ความคืบหน้าในการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ยังเดินหน้าตามกรอบเวลา พร้อมวางมาตรการป้องกันการสมยอมราคาไว้ทุกขั้นตอน ทั้งย้ำว่าหากจบการประมูลทั้ง 4 ใบอนุญาตแล้ว บริษัทผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย ชนะการประมูลได้รับใบอนุญาตไปบริษัทละไลเซนส์ จะถูกตรวจสอบทันทีว่ามีการสมยอมราคากันหรือไม่

"ตอนนี้ที่จับตาอยู่คือ การฮั้วประมูลโดย 4 บริษัทแบ่งไลเซนส์กันคนละใบ โดยจบการประมูลที่ 95% ของมูลค่าคลื่นถ้าออกมาเป็นแบบนี้ถือว่าส่อที่จะฮั้วประมูล ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วจะมีการยกเลิกประมูล และเพิกถอนใบอนุญาตที่แต่ละรายถืออยู่เดิม เพราะถือว่าทำให้รัฐเสียหาย ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้รับใบอนุญาต และจะแจ้งความดำเนินคดีทันที แต่เชื่อว่าความเป็นไปได้ที่จะเกิดกรณีนี้มีแค่ 1% ส่วนการฮั้วในรูปแบบอื่นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เพราะกันไว้หมดทุกทางแล้ว"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446436564

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.