Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 หน่วยงานภาครัฐเช่น กสท. และทีโอที ต้องปรับตัว โดยอาจจะเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่ทับซ้อนกับเอกชน โดยนำคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2568 ไปให้บริการ ซึ่งจะมีเวลาในการปรับตัวถึง 10 ปี.

ประเด็นหลัก




ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการสัมมนา "เหลียวหลังแลหน้า 4 G ยุคสิ้นสุดสัมปทานมือถือใครได้ประโยชน์" ว่า การเลื่อนประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย พร้อมยืนยันมีการประมูลอย่างแน่นอน

ส่วนการประมูลคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เชื่อว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประมูลอย่างน้อย 3 ราย พร้อมวิเคราะห์ว่า ในการประมูลคลื่นย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมประมูลส่วนใหญ่ต้องการคลื่นย่าน 900 มากกว่า โดยเอไอเอสจะต้องการอย่างน้อย 2 ใบอนุญาต เนื่องจากมีผู้ใช้บริการ 40 กว่าล้านเลขหมาย ขณะที่ดีแทคต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพื่อรองรับใบอนุญาตคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอยู่และจะหมดอายุในปี 2561 ส่วนทรูต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพื่อสำรองการให้บริการในอนาคต ขณะที่จัสมินต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เนื่องจากต้องการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่

อย่างไรก็ตามมองว่าหน่วยงานภาครัฐเช่น กสท. และทีโอที ต้องปรับตัว โดยอาจจะเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่ทับซ้อนกับเอกชน โดยนำคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2568 ไปให้บริการ ซึ่งจะมีเวลาในการปรับตัวถึง 10 ปี.









______________________________






สหภาพทีโอทีพึ่งศาลปกครอง ทวงสิทธิ์คลื่นความถี่900MHZ/กสทช.ชี้รสก.ต้องปรับตัว

สหภาพทีโอทีเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง ทวงสิทธิ์คลื่นความถี่ 900 MHz กสทช.ระบุมีผู้อยากได้ 4 G คลื่น 900 MHZ มากกว่า 1800 MHZ ย้ำทีโอทีและ กสทฯ ต้องมีการปรับตัว

วันที่ 4 พ.ย.2558 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที (สรท.) นำโดยนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธาน สรท.ได้เดินทางไปศาลปกครองยื่นฟ้องทวงสิทธิ์คลื่นความถี่ 900 MHz โดยในคำฟ้องมีผู้ถูกฟ้องทั้งหมด 24 คน ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้งคณะเลขาธิการ กสทช.รวมถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในช่วงก่อนที่จะมีการตั้ง กสทช.

นายพงศ์ฐิติ กล่าวว่า การฟ้องดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลชี้ขาดว่าทีโอทีมีสิทธิ์ในคลื่นความถี่ 900 MHz ตามที่ได้รับจัดสรรมาจาก คณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ กรมไปรษณีย์โทรเลข (กบถ.) ที่จัดสรรมาให้ตั้งแต่ปี 2532

ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า จะยื่นคำร้องเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดีเพื่อระงับการจัดประมูลคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.ที่จะถึงนี้

"เหตุที่ต้องยื่นฟ้อง กทช.ชุดก่อนด้วยเพราะเป็นผู้ออกแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ โดยระบุให้ต้องนำคลื่นมาจัดสรรใหม่หลังสิ้นสุดสัมปทาน ส่งผลให้ กสทช.ชุดปัจจุบันต้องบังคับตามแนวทางดังกล่าว ส่วนที่มีการกล่าวหาว่าสหภาพจ้องจะล้มการประมูลนั้น ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นและปัจจุบันค่ายมือถือหลายรายมีคลื่นความถี่จำนวนมากอยู่แล้ว หากการประมูลต้องระงับไปก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนเสียหาย ตรงกันข้ามหากยังมีการประมูลจะทำให้รัฐเสียประโยชน์ในหลายด้าน" นายพงศ์ฐิติกล่าว

ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการสัมมนา "เหลียวหลังแลหน้า 4 G ยุคสิ้นสุดสัมปทานมือถือใครได้ประโยชน์" ว่า การเลื่อนประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย พร้อมยืนยันมีการประมูลอย่างแน่นอน

ส่วนการประมูลคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เชื่อว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประมูลอย่างน้อย 3 ราย พร้อมวิเคราะห์ว่า ในการประมูลคลื่นย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมประมูลส่วนใหญ่ต้องการคลื่นย่าน 900 มากกว่า โดยเอไอเอสจะต้องการอย่างน้อย 2 ใบอนุญาต เนื่องจากมีผู้ใช้บริการ 40 กว่าล้านเลขหมาย ขณะที่ดีแทคต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพื่อรองรับใบอนุญาตคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอยู่และจะหมดอายุในปี 2561 ส่วนทรูต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพื่อสำรองการให้บริการในอนาคต ขณะที่จัสมินต้องการอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เนื่องจากต้องการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่

อย่างไรก็ตามมองว่าหน่วยงานภาครัฐเช่น กสท. และทีโอที ต้องปรับตัว โดยอาจจะเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่ทับซ้อนกับเอกชน โดยนำคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2568 ไปให้บริการ ซึ่งจะมีเวลาในการปรับตัวถึง 10 ปี.

http://www.thaipost.net/?q=สหภาพทีโอทีพึ่งศาลปกครอง-ทวงสิทธิ์คลื่นความถี่900mhzกสทชชี้รสกต้องปรับตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.