Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) บล.เคที ซีมิโก้ คลื่น 1800 MHz มีเอไอเอสที่ต้องได้แน่ ๆ อีกรายน่าจะเป็นกลุ่มทรูเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ขณะที่ดีแทคคงไม่ได้สนใจมาก เพราะมีสัมปทานเหลืออีก 3 ปี ส่วนคลื่น 900 MHz อีกใบน่าจะเป็นการแข่งระหว่างจัสมิน, ดีแทค และทรู คลื่นนี้น่าจะเคาะเสนอราคากันสนุก

ประเด็นหลัก



ด้าน "วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า เอไอเอส, ดีแทค และกลุ่มทรูจะได้คลื่นความถี่ที่เปิดประมูลไป ทุกรายคงต้องกีดกันหน้าใหม่เพื่อรักษาสภาพการแข่งขันไว้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากการประมูลครั้งนี้มากที่สุด คือ เอไอเอส เนื่องจากมีคลื่นน้อยที่สุดจึงต้องประมูลให้ได้ทั้งสองคลื่น ส่วนดีแทค และกลุ่มทรูจะได้คลื่น 900 และ 1800 MHz ตามลำดับ

"คลื่น 1800 MHz มีเอไอเอสที่ต้องได้แน่ ๆ อีกรายน่าจะเป็นกลุ่มทรูเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ขณะที่ดีแทคคงไม่ได้สนใจมาก เพราะมีสัมปทานเหลืออีก 3 ปี ส่วนคลื่น 900 MHz อีกใบน่าจะเป็นการแข่งระหว่างจัสมิน, ดีแทค และทรู คลื่นนี้น่าจะเคาะเสนอราคากันสนุก"















________________________________






ถอดรหัสค่ายมือถือชิงคลื่น 4G "จัสมิน" ตัวแปรเพิ่มดีกรีแข่งดุ



ในงานสัมมนา 4G จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย จัดโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญตัวแทนนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 1800 และ 900 MHz


"สุกิจ อุดมศิริกุล" กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กล่าวว่า การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้จะแข่งขันสูงกว่าครั้ง 3G เนื่องจากใบอนุญาตมีเพียงคลื่นละ 2 ใบ แต่ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ ต่างต้องการครอบครองทั้ง 2 คลื่น ยังไม่นับว่ามีรายใหม่ เช่น กลุ่มจัสมินเข้ามา

อย่างไรก็ตาม โอเปอเรเตอร์ที่จำเป็นในการใช้คลื่นมากที่สุด คือ "เอไอเอส" จึงต้องประมูลให้ได้ทั้ง 900 และ 1800 MHz เพื่อนำมาเพิ่มความสามารถในการให้บริการส่งผลให้ผู้เข้าแข่งขันรายอื่นเหลือพื้นที่ที่จะแย่งชิงใบอนุญาตคลื่น900และ1800 MHz อีกคลื่นละหนึ่งใบอนุญาต ซึ่งทั้งกลุ่มทรู และดีแทคต่างต้องการทั้งสองใบอนุญาต แค่คาดว่าจะได้เพียงคนละ 1 ใบอนุญาต

"เดิมกลุ่มทรูมีลูกค้าที่ให้บริการอยู่ในคลื่น 1800 MHz จำนวนหนึ่ง ถ้าได้คลื่น 1800 มาก็จะให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และแม้ว่ากลุ่มทรูจะต้องการอีกคลื่นก็คงไม่สามารถแข่งขันกับความจำเป็นของดีแทคที่น่าจะต้องการประมูลคลื่นให้ได้เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ใช้บริการและนักลงทุนหลังจากที่ผ่านมาชะลอการลงทุนจนฐานลูกค้าจากที่เคยเป็นอันดับ 2 โดนอันดับ 3 จี้เข้ามาเรื่อย ๆ และคงไม่สู้เพื่อชิงคลื่น 1800 MHz เพราะมีสัมปทานเหลืออยู่"

สำหรับกลุ่มจัสมินน่าจะต้องการเพียงใบอนุญาต 900 MHz เพราะให้บริการได้กว้างขวาง ลดต้นทุนการขยายโครงข่าย และเหมาะต่อการเริ่มต้นธุรกิจโทรคมนาคม ต่างจาก 1800 MHz ที่เน้นเรื่องความจุเพื่อให้บริการในพื้นที่ที่มีการใช้หนาแน่น แต่ยากที่จะสู้กับรายเดิมได้ ทั้งต้องลงทุนทั้งการตลาด และขยายโครงข่ายไปพร้อมกัน

"สุกิจ" กล่าวด้วยว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ในครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมาติดตั้งและขยายโครงข่าย เช่น บมจ.สามารถเทเลคอม เป็นต้น

ด้าน "วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า เอไอเอส, ดีแทค และกลุ่มทรูจะได้คลื่นความถี่ที่เปิดประมูลไป ทุกรายคงต้องกีดกันหน้าใหม่เพื่อรักษาสภาพการแข่งขันไว้ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากการประมูลครั้งนี้มากที่สุด คือ เอไอเอส เนื่องจากมีคลื่นน้อยที่สุดจึงต้องประมูลให้ได้ทั้งสองคลื่น ส่วนดีแทค และกลุ่มทรูจะได้คลื่น 900 และ 1800 MHz ตามลำดับ

"คลื่น 1800 MHz มีเอไอเอสที่ต้องได้แน่ ๆ อีกรายน่าจะเป็นกลุ่มทรูเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง ขณะที่ดีแทคคงไม่ได้สนใจมาก เพราะมีสัมปทานเหลืออีก 3 ปี ส่วนคลื่น 900 MHz อีกใบน่าจะเป็นการแข่งระหว่างจัสมิน, ดีแทค และทรู คลื่นนี้น่าจะเคาะเสนอราคากันสนุก"

ขณะที่ "พิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์" นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า จัสมินถือเป็นตัวแปรสำคัญในครั้งนี้ เพราะสามารถทำให้ราคาประมูลสูงขึ้นกว่าเท่าตัวหากต้องการ 1 ใบอนุญาตทำให้รายเดิมต้องทุ่มเงินมากขึ้นเพื่อช่วงชิงใบอนุญาต

"กลุ่มจัสมินน่าจะมีเงินทุนสำหรับประมูล4Gครั้งนี้30,000 ล้านบาท ถ้าทุ่มหมดหน้าตักก็มีโอกาสทำให้ราคาคลื่นสูงขึ้นเป็นเท่าตัว แต่คงเกิดขึ้นได้ยาก ต้องมีการวางแผนระยะยาว ไม่เฉพาะแค่ค่าไลเซนส์ต้องลงทุนโครงข่าย และทำตลาดอีก"

นอกจากนี้ โอเปอเรเตอร์รายเดิมคงไม่ต้องการให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด สังเกตจากกรณีประมูลทีวีดิจิทัลที่ผู้ประกอบการรายเดิมต่างทุ่มทุนประมูลเพื่อให้ได้ช่องรายการไว้ และรักษาสภาพการแข่งขันให้เป็นแบบเดิมมากที่สุด ดังนั้นเหตุการณ์นี้จึงน่าจะเกิดกับการประมูล 4G ด้วยเช่นเดียวกัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1445488603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.