Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2558 (กทปส.) เมื่อ 8 ต.ค. 2558 มีมติไม่อนุมัติการขอเงินสนับสนุนของ MRB 394.2 ล้านบาท เพื่อทำระบบวิจัยวัดระดับความนิยมการรับชมโทรทัศน์

ประเด็นหลัก






ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เมื่อ 8 ต.ค. 2558 มีมติไม่อนุมัติการขอเงินสนับสนุนของ MRB 394.2 ล้านบาท เพื่อทำระบบวิจัยวัดระดับความนิยมการรับชมโทรทัศน์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ กทปส. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กทปส.มีมติตามความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ซึ่งเห็นว่าโครงการยื่นขอรับทุนสนับสนุนเพื่อวิจัยวัดระดับความนิยม (เรตติ้ง) ของสถาบันวิจัยพัฒนาสื่อ (Media Research Bureau-MRB) จำนวน 394.2 ล้านบาท ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหรือผู้บริโภคโดยตรง ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ตามมาตรา 52 พ.ร.บ. กสทช.

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ที่มีนายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว 2 ข้อ คือ











_______________________________________




บอร์ดกองทุน กสทช.ไม่อนุมัติ 394 ล้านทำระบบสำรวจเรตติ้งทีวี


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เมื่อ 8 ต.ค. 2558 มีมติไม่อนุมัติการขอเงินสนับสนุนของ MRB 394.2 ล้านบาท เพื่อทำระบบวิจัยวัดระดับความนิยมการรับชมโทรทัศน์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ กทปส. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กทปส.มีมติตามความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ซึ่งเห็นว่าโครงการยื่นขอรับทุนสนับสนุนเพื่อวิจัยวัดระดับความนิยม (เรตติ้ง) ของสถาบันวิจัยพัฒนาสื่อ (Media Research Bureau-MRB) จำนวน 394.2 ล้านบาท ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหรือผู้บริโภคโดยตรง ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ตามมาตรา 52 พ.ร.บ. กสทช.

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ที่มีนายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว 2 ข้อ คือ

1.ผลผลิตการวิจัยที่เกิดขึ้นในโครงการ เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ที่เป็นสมาชิกสมาคมซึ่งมีฐานะเป็นผู้ประกอบกิจการเอกชน ดังนั้นจึงถือได้ว่า โครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหรือผู้บริโภคโดยตรง

2.การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยดังกล่าวผู้ประกอบกิจการควรร่วมมือกันดำเนินการเอง และควรปล่อยให้เป็นกลไกการแข่งขันในตลาดโทรทัศน์ที่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนของผู้จัดให้มีการวัดเรตติ้ง โดยหน่วยงานกำกับดูแลควรมีหน้าที่ออกกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในเรื่องดังกล่าว

สำหรับโครงการขอทุนสนับสนุนเพื่อวิจัยเรตติ้งเป็นผลสืบเนื่องจากความร่วมมือของสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ร่วมกับผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ จัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ ได้ยื่นขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ โดยมีเป้าหมายควบคุมและกำกับการวัดเรตติ้งให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องของภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย แต่ภายหลังทางบริษัท เดอะ เนลสัน คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดทำเรตติ้ง และบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7) ยื่นหนังสือถึง กสทช. และ กทปส. ขอให้พิจารณาทบทวนการยื่นขอทุนสนับสนุนของ RMB เพราะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444301155

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.