Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.นำเงินส่งเข้ารัฐกว่าแสนล้านบาท จากการประมูลคลื่น 2100 MHz ราว 41,625 ล้านบาทประมูลช่องทีวีดิจิทัล 50,862 ล้านบาท รวมถึงรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนประมูลคลื่นปลายปีนี้คาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 60,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



4 ปีส่งเงินเข้าคลังแสนล้าน

พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.กล่าวว่า ภาพรวม 4 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างเรียบร้อยในการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต อาจขลุกขลักบ้างเพราะเปลี่ยนวัฒนธรรมใหญ่ รวมถึงการประมูลใบอนุญาต 3G และทีวีดิจิทัล มีการต่อว่าต่อขานบ้าง ฟ้องร้องบ้าง ถือเป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุงสานต่องานให้เรียบร้อยขึ้น เช่นทีวีดิจิทัล ด้วยว่าใหม่ด้วยกันทุกฝ่าย ทั้งการขยายโครงข่าย การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน อาทิ แจกคูปองที่ยังไม่เป็นไปตามเป้า

สำหรับการจัดประมูลคลื่นปลายปีนี้จะทำระบบให้เข้มข้นขึ้น เชิญคนนอกมาสังเกตการณ์ กรณีทีโอที และกสท โทรคมนาคม เตรียมยื่นฟ้องเรียกสิทธิ์ในคลื่นอาจกระทบการประมูลก็เป็นสิทธิ์ของทั้ง 2 คู่ หากเห็นว่า กสทช.ดำเนินการไม่ถูกต้องหรือทำให้เสียประโยชน์ แต่ กสทช.ยืนยันว่าดำเนินการตามกฎหมาย

ด้านเลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เสริมว่า 4 ปีที่ผ่านมา กสทช.นำเงินส่งเข้ารัฐกว่าแสนล้านบาท จากการประมูลคลื่น 2100 MHz ราว 41,625 ล้านบาทประมูลช่องทีวีดิจิทัล 50,862 ล้านบาท รวมถึงรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนประมูลคลื่นปลายปีนี้คาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 60,000 ล้านบาท














_______________________________________




ภารกิจที่มากกว่าแค่หาเงิน 4 ปี "กสทช." ทะลุแสนล้าน


เผลอแป๊บเดียว 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ครบรอบ 4 ปี ของการก่อตั้ง กสทช. กำกับดูแลคลื่นความถี่ กิจการบรอดแคสต์และโทรคมนาคม


4 ปีส่งเงินเข้าคลังแสนล้าน

พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.กล่าวว่า ภาพรวม 4 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างเรียบร้อยในการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต อาจขลุกขลักบ้างเพราะเปลี่ยนวัฒนธรรมใหญ่ รวมถึงการประมูลใบอนุญาต 3G และทีวีดิจิทัล มีการต่อว่าต่อขานบ้าง ฟ้องร้องบ้าง ถือเป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุงสานต่องานให้เรียบร้อยขึ้น เช่นทีวีดิจิทัล ด้วยว่าใหม่ด้วยกันทุกฝ่าย ทั้งการขยายโครงข่าย การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน อาทิ แจกคูปองที่ยังไม่เป็นไปตามเป้า

สำหรับการจัดประมูลคลื่นปลายปีนี้จะทำระบบให้เข้มข้นขึ้น เชิญคนนอกมาสังเกตการณ์ กรณีทีโอที และกสท โทรคมนาคม เตรียมยื่นฟ้องเรียกสิทธิ์ในคลื่นอาจกระทบการประมูลก็เป็นสิทธิ์ของทั้ง 2 คู่ หากเห็นว่า กสทช.ดำเนินการไม่ถูกต้องหรือทำให้เสียประโยชน์ แต่ กสทช.ยืนยันว่าดำเนินการตามกฎหมาย

ด้านเลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เสริมว่า 4 ปีที่ผ่านมา กสทช.นำเงินส่งเข้ารัฐกว่าแสนล้านบาท จากการประมูลคลื่น 2100 MHz ราว 41,625 ล้านบาทประมูลช่องทีวีดิจิทัล 50,862 ล้านบาท รวมถึงรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนประมูลคลื่นปลายปีนี้คาดว่าจะสร้างรายได้เข้ารัฐกว่า 60,000 ล้านบาท

ไอทีขอให้เกาะมาตรฐานกลาง

นายสนธิญา หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สิ่งที่อุตสาหกรรมไอทีอยากเห็นคือ การผลักดันระบบโทรคมนาคมให้เร็วขึ้น เปิดกว้างขึ้น ตั้งแต่ประมูล 3G มา 2 ปีกว่าไทยเติบโตเร็วมาก บรอดแบนด์เป็นที่ 2 ในอาเซียน การแข่งขันทำให้ราคาถูกลง

เร่งจัดสรร-เคลียร์ปมคลื่น

นายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัดกล่าวว่า อยากให้ประมูล 4G สำเร็จด้วยดีเพื่อประโยชน์ของประชาชนและรัฐที่จะนำเงินไปพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมา กสทช.ทำได้ดีอยู่แล้ว ส่วนปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาโอเปอเรเตอร์ก็พยายามปรับตัวและเคารพกฎกติกา กสทช.อยู่แล้ว

ด้าน นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท กล่าวว่า อยากให้เร่งเจรจาคืนคลื่น MMDS (2600 MHz) ซึ่ง อสมท ยืนยันว่ายินดีคืนบางส่วน เพราะต้องการเก็บคลื่นอีกส่วนไปทำธุรกิจเอง ที่ผ่านมา กสทช.เป็นตัวกลางร่วมกับรัฐบาลในการเจรจานำคลื่น 2600 MHz ไปประมูล 4G ปีหน้า จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

"กสทช.ควรระวังและปรับปรุงการทำงานด้านการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับสังคมและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการดำเนินงาน รวมถึงกฎกติกาของ กสทช.เองให้มากขึ้น ทำงานเชิงรุกกว่านี้ ตั้งแต่มี กสทช.มีผลกระทบกับ อสมท เยอะมาก กรณีทีวีดิจิทัลผู้ประกอบการทีวีแอนะล็อกได้รับผลกระทบทุกราย คนดู, งบฯโฆษณาเท่าเดิม แต่ช่องมากขึ้น จึงต้องแข่งขันสูง"

ขณะที่ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการรักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า อยากให้ กสทช.พิจารณาความเหมาะสมในเรื่องแผนแม่บทต่าง ๆ และกระบวนการขั้นตอน ปรับปรุงเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งแคทยังต้องรักษาจุดยืนเรื่องสิทธิ์ในคลื่น

แจ้งเกิด 4G กระตุ้นปลุก ศก.

นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคมกล่าวว่า ภาพรวมที่อยากให้ทำคือ เร่งประมูล 4G ออกใบอนุญาตกิจการประเภทต่าง ๆ กรณีใบอนุญาต 4G ผลลัพธ์สำคัญคือ กระตุ้นให้มีการใช้ดาต้ามากขึ้น การประมูลไม่ใช่ดีกับแค่ค่ายมือถือ ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต ทุกอย่างได้อานิสงส์ คอนเทนต์ก็มีช่องทางไปสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น"

ทีวีดาวเทียมขอความเท่าเทียม

ด้าน นายมานพ โตการค้า อุปนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช. ทบทวนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติธุรกิจ ต้องการให้ปรับปรุงให้สมดุลสอดคล้องและตอบสนองการแข่งขันเสรีเป็นธรรม

"กฎ กสทช.ที่มีอยู่ตอนนี้เอื้อกิจการบางประเภทมากไป ทำให้กิจการบางประเภทเสียเปรียบ อยากให้เข้าสู่กระบวนการที่จะมีการแชร์ความเห็นระหว่างฝั่งผู้ประกอบการและ กสทช. ทั้งการจัดค่าธรรมเนียม, การส่งเงินสมทบเข้ากองทุน, การเรียงเลขช่องทีวี เพราะหากเข้ามาล้วงลึกเกินไป ความสมดุลในตลาดก็จะเสีย มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1444832671

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.