Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2558 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนการพัฒนา “ดิจิตอลไลฟ์ ดิจิตอล ยูนิเวอร์ซิตี้” ระยะ 2 ตั้งแต่ปี (2559-2563) ที่คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทนั้นจะมุ่งความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เอกชน ขยายจุดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือ คิดเป็นจำนวนมากกว่า 5,400 จุด

ประเด็นหลัก



โดยภายใต้แผนการพัฒนา “ดิจิตอลไลฟ์ ดิจิตอล ยูนิเวอร์ซิตี้” ระยะ 2 ตั้งแต่ปี (2559-2563) ที่คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทนั้นจะมุ่งความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เอกชน ขยายจุดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือ คิดเป็นจำนวนมากกว่า 5,400 จุด จากปัจจุบันมีจุดให้บริการไว-ไฟ 2,700 จุด ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัย โดยถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดให้บริการไว-ไฟมากเป็นอันดับต้นๆของไทย และมากสุดในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมุ่งการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการป้องกันภัยโจมตีทางอินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยในเฟสแรกได้พัฒนาคลาวด์ส่วนบุคคลขึ้นมาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะ 2 มีแผนลงทุนระบบคลาวด์สาธารณะ เพื่อให้บริการสู่ภายนอก ก่อนบูรณาการเป็นไฮบริดคลาวด์















_______________________________________




มช.มุ่งลงทุนไอทีสู่ม.ดิจิตอล ทุ่ม 100 ล.ลุยเฟส 2 เพิ่มจุดบริการไว-ไฟ-บูรณาการคลาวด์


มช. ทุ่ม 100 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาไอทีเฟส 2 สู่มหาวิทยาลัยดิจิตอล รองรับรูปแบบการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 เตรียมขยายจุดบริการไว-ไฟเพิ่มเท่าตัว ครอบคลุมกว่า 5,400 จุด ลงทุนพัฒนาระบบคลาวด์สาธารณะ ก่อนบูรณาการสู่ไฮบริดคลาวด์ พร้อมเสริมแกร่งซิเคียวริตี

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงเดินหน้าลงทุน และพัฒนาระบบไอทีต่อเนื่อง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ดิจิตอลไลฟ์ ดิจิตอลยูนิเวอร์ซิตี้ เพื่อรองรับกับเป้าหมายการยกระดับการเรียนการสอน การวิจัย และการวิชาการ ให้ทันสมัยตามรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย

โดยภายใต้แผนการพัฒนา “ดิจิตอลไลฟ์ ดิจิตอล ยูนิเวอร์ซิตี้” ระยะ 2 ตั้งแต่ปี (2559-2563) ที่คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทนั้นจะมุ่งความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เอกชน ขยายจุดให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือ คิดเป็นจำนวนมากกว่า 5,400 จุด จากปัจจุบันมีจุดให้บริการไว-ไฟ 2,700 จุด ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัย โดยถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดให้บริการไว-ไฟมากเป็นอันดับต้นๆของไทย และมากสุดในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมุ่งการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการป้องกันภัยโจมตีทางอินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยในเฟสแรกได้พัฒนาคลาวด์ส่วนบุคคลขึ้นมาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะ 2 มีแผนลงทุนระบบคลาวด์สาธารณะ เพื่อให้บริการสู่ภายนอก ก่อนบูรณาการเป็นไฮบริดคลาวด์

รศ.ดร.ถนอมพรกล่าวต่อไปว่าโครงการพัฒนา”ดิจิตอลไลฟ์ ดิจิตอล ยูนิเวอร์ซิตี้” ระยะแรก (ปี 2556-2559) ถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยในส่วนของจุดให้บริการไว-ไฟนั้นหลังจากที่เปลี่ยนวิธีการมาร่วมกับพาร์ตเนอร์ คือ บมจ.ทีโอที ทำให้ขณะนี้จุดให้บริการไว-ไฟ ของ มช.มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จาก 600 จุด มาเป็น 2,700 จุด ครอบคลุม 3 แคมปัส ทั้งที่สวนสัก สวนดอก และแม่เหียะ ทั้ง 21 คณะ และเสร็จก่อนกำหนดในปี 2559 ทั้งยังมีเสถียรภาพมากขึ้น รองรับการใช้บริการบุคลากร และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยรวม 5 หมื่นคน นอกจากนี้ยังพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยสามารถลงทะเบียนผ่านระบบอัตโนมัติได้คนละ 5 อุปกรณ์

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาบริการโมบายเซอร์วิส เพื่อให้บุคลากร และนักศึกษาเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และบริการต่างๆของมหาวิทยาลัย, พัฒนาระบบสารสนเทศผู้บริหาร โดยนำระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร, การพัฒนาศูนย์คอมพิวเตอร์กลางของ มช. โดยพัฒนาศูนย์ไอทีคอนเนอร์ จำนวน 47 ศูนย์ ที่มีความทันสมัยเพื่อส่งเสริมการใช้ไอซีทีในมหาวิทยาลัย โดยมีคอมพิวเตอร์ให้บริการรวม 1,090 เครื่อง กระจายตามคณะต่างๆ และหอพัก โครงการสมาร์ทคลาสรูม ห้องเรียนอนาคตที่ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัยในการเรียนการสอน, ศูนย์สอบด้านไอทีด้วยระบบการสอนออนไลน์ตามมาตรฐานสากล, IT for English ให้บริการสื่อการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ทันสมัยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

ด้านนายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ติดตั้งเครือข่ายหลัก (Core Network) โซลูชันไวร์เลส และโซลูชันรักษาความปลอดภัยซิสโก้ ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ส่วนบุคคลของบุคลากรได้ทุกที่ทุกเวลา เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบไอทีและอุปกรณ์รูปแบบใหม่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3092 วันที่ 1 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

http://www.thansettakij.com/2015/09/30/12400

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.