Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 AIS ยื่นขอเสนอ TOT ตั้งบริษัทร่วมทุนทำ "ทาวเวอร์โค"ทีโอทีได้ประโยชน์ คือ 1.สิทธิ์ในเสา 2.ถ้ามีการซื้อคืน 51% ก็จะได้เงินก่อน และ 3.มีการันตีว่าเสามีคนใช้แน่

ประเด็นหลัก







"เอไอเอส" เจรจาคู่ขนานทีโอที

ขณะเดียวกัน เอไอเอสได้ยื่นข้อเสนอเป็นพันธมิตรกับทีโอทีใน 5 กลุ่มธุรกิจ และอยู่ระหว่างการหารือข้อสรุปใน 2 ธุรกิจคือ 1.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่เสนอเช่าใช้โครงข่ายทีโอทีเพื่อนำไปให้บริการในลักษณะ MVNO มีการันตีรายได้และจะลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มให้ด้วย และ 2.ธุรกิจเสาสัญญาณ ตั้งบริษัทร่วมทุน เอไอเอสถือหุ้น51% บริหารจัดการเสา 13,000 ต้น ที่มีปัญหาอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของระหว่างกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการตีมูลค่า ก่อนเสนอ ครม. ต่อไป

"เราโตมาจากทีโอทีจึงตั้งใจที่จะช่วยเหลือสนับสนุนทีโอทีบนความสมเหตุสมผลทางธุรกิจ ข้อเสนอที่ยื่นไปวิน-วินทีโอทีเคยมีบทเรียนมาเยอะมากที่ไปดีลกับตัวเลขสวย ๆ แต่เอาเข้าใจจริงทำไม่ได้"

กรณีตั้งบริษัทร่วมทุนทำ "ทาวเวอร์โค"ทีโอทีได้ประโยชน์ คือ 1.สิทธิ์ในเสา 2.ถ้ามีการซื้อคืน 51% ก็จะได้เงินก่อน และ 3.มีการันตีว่าเสามีคนใช้แน่





_______________________________





นับถอยหลังระเบิดศึกชิงผู้นำ4G "AIS"เดิน2แผนคู่ขนานผนึกทีโอทีฝ่าปมสัมปทาน



นับถอยหลังกดปุ่มประมูล 4G ค่ายมือถือตบเท้าชิงคลื่นใหม่ "เอไอเอส" เดินเกมคู่ขนานชิงดำ 2 ไลเซนส์ พร้อมเสนอตัวเป็นพันธมิตร "ทีโอที" ยื่นข้อเสนอทำสัญญา MVNO ธุรกิจมือถือและตั้งบริษัทร่วมทุน "ทาวเวอร์ โค" ยอมรับปมเช็กบิลสัมปทานมีสิทธิ์กระทบชิ่ง ฟาก "ทีโอที"ลุ้นต่อ 23 ก.ย.สรุปดีลพันธมิตร-เดินหน้ายื้อคลื่น 900 MHz ไม่เลิก

ชัดเจนแล้ว ปลายปีนี้ "กสทช." พร้อมจัดประมูลคลื่นความถี่ใหม่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ล่าสุดร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900 MHz ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา และสำนักงาน กสทช. กำหนดวันรับเอกสารตั้งแต่ 22 ก.ย.-21 ต.ค. สำหรับคลื่น 1800 MHz จัดประมูลวันที่ 11 พ.ย.นี้



ค่ายมือถือร่วมศึกชิงคลื่น

ณ วันที่ 21 ก.ย. 2558 พบว่า คลื่น 1800 MHz มีผู้เข้ารับเอกสารทั้งสิ้น 7 บริษัท (ดีแทค และทรูมูฟ มี 2 บริษัท, เอไอเอส 1) รวมเป็น 5 บริษัท อีก 2 คือกลุ่มจัสมิน และฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ ซึ่งค่ายมือถือต่างประกาศว่าประมูลทั้ง 2 ความถี่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า คณะกรรมการบริหาร (11 ก.ย. 2558) มีมติอนุมัติให้ "บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด" ในเครือทรูเข้าร่วมประมูลคลื่นย่าน 1800 MHzและ 900 MHz

ด้านนายลาร์ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า จะเข้าประมูลและต้องชนะการประมูลด้วย

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า พร้อมเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz โดยต้องการทั้ง 2 ความถี่ เพื่อนำมาพัฒนาบริการ 4G และรองรับการใช้งานของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าการแข่งขันครั้งนี้จะสูงกว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งบอร์ดบริษัทพร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่

"เอไอเอส" เจรจาคู่ขนานทีโอที

ขณะเดียวกัน เอไอเอสได้ยื่นข้อเสนอเป็นพันธมิตรกับทีโอทีใน 5 กลุ่มธุรกิจ และอยู่ระหว่างการหารือข้อสรุปใน 2 ธุรกิจคือ 1.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่เสนอเช่าใช้โครงข่ายทีโอทีเพื่อนำไปให้บริการในลักษณะ MVNO มีการันตีรายได้และจะลงทุนสร้างโครงข่ายเพิ่มให้ด้วย และ 2.ธุรกิจเสาสัญญาณ ตั้งบริษัทร่วมทุน เอไอเอสถือหุ้น51% บริหารจัดการเสา 13,000 ต้น ที่มีปัญหาอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของระหว่างกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการตีมูลค่า ก่อนเสนอ ครม. ต่อไป

"เราโตมาจากทีโอทีจึงตั้งใจที่จะช่วยเหลือสนับสนุนทีโอทีบนความสมเหตุสมผลทางธุรกิจ ข้อเสนอที่ยื่นไปวิน-วินทีโอทีเคยมีบทเรียนมาเยอะมากที่ไปดีลกับตัวเลขสวย ๆ แต่เอาเข้าใจจริงทำไม่ได้"

กรณีตั้งบริษัทร่วมทุนทำ "ทาวเวอร์โค"ทีโอทีได้ประโยชน์ คือ 1.สิทธิ์ในเสา 2.ถ้ามีการซื้อคืน 51% ก็จะได้เงินก่อน และ 3.มีการันตีว่าเสามีคนใช้แน่

ปมแก้สัมปทานป่วน

นายสมชัยกล่าวถึงกรณีที่ประชุมครม. (15 ก.ย.) มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการสะสางปัญหาการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีและเอไอเอส ก่อนที่สัมปทานจะหมดอายุในวันที่ 30 ก.ย.นี้ว่า บริษัทยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งใด ๆ จากหน่วยงานรัฐ และขอยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาทุกครั้งดำเนินการอย่างถูกต้อง มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งผู้ให้บริการทุกรายต่างมีการแก้ไขสัมปทานในลักษณะคล้ายคลึงกันจึงไม่รู้สึกเป็นกังวลใจ และยินดีให้ตรวจสอบ

"ครั้งนี้ต่างตรงที่มีการชี้มูลความผิดมาจาก ป.ป.ช. ที่ผ่านมาเราเคยผ่านกระบวนการตรวจสอบมาแล้ว ความจริงก็คือความจริง ยอมรับว่าเรื่องนี้อาจมีผลกับดีลทีโอที ไม่งั้นคงจบไปนานแล้ว เพราะสามารถทำให้ทีโอทีอยู่รอดได้ดีที่สุด เราจริงใจกับทีโอทีมาตลอด มีการส่งมอบทรัพย์สินในสัญญาร่วมการงานมูลค่ากว่า 186,000 ล้านบาทไม่เคยบิดพลิ้ว"

ลุ้น "ทีโอที" เคาะปิดดีล 23 ก.ย.

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า บอร์ดทีโอทีคัดเลือกพันธมิตรธุรกิจในวันที่ 23 ก.ย.เลื่อนจาก 18 ก.ย.เนื่องจากมีเรื่องเร่งด่วนกรณีปมแก้ไขสัญญาเอไอเอส และมีมติให้ทำเรื่องหารือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ก.ย. 2558) ที่ให้เร่งรัดให้ทีโอทีดำเนินการตามกรอบของกฎหมายที่เกี่ยวกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับเอไอเอสตามมติ ป.ป.ช. และคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจน

"เดิมทำเรื่องเสนอเข้า ครม.เพราะต้องการให้มีมติ ครม.ชี้ขาดว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานเอไอเอสครั้งที่ 6 และ 7 เป็นโมฆะ เพื่อจะได้กลับไปใช้สัญญาหลักและเรียกค่าเสียหายจากเอไอเอส แต่ ครม.ไม่ชี้ขาด แค่บอกให้ไปดำเนินการตามกรอบกฎหมาย จึงต้องหารืออัยการว่าจะให้ทำอย่างไรต่อ"

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีไอซีที กล่าวว่า ทีโอทีต้องพิจารณาเอง กระทรวงไอซีทีไม่มีอำนาจเข้าไปเกี่ยว จึงได้แจ้งไปแล้วว่าให้หารือกับอัยการได้ แต่ต้องมีการรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์


กสทช.เดินหน้าประมูล

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ยังเดินหน้าจัดประมูลคลื่น 900 MHz แม้ในการหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีล่าสุด (21 ก.ย.) ทีโอทีจะยังยืนสิทธิ์ในคลื่น และระบุว่าจะยื่นฟ้องศาลปกครอง หาก กสทช.นำคลื่นไปประมูล

"เมื่อรัฐบาลหรือศาลยังไม่มีคำสั่งใดลงมา กสทช.ต้องเดินหน้าต่อ รองนายกฯวิษณุแจ้งว่าจะนำเรื่องเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ไม่รู้ว่าท่านจะเห็นด้วยไหม เมื่อสัมปทานหมด 30 ก.ย.ก็ต้องประมูล ในเบื้องต้น คือ 15 ธ.ค. แต่อาจเลื่อนให้เร็วขึ้นได้ ส่วนคลื่น 1800 MHz ไม่น่ามีปัญหาทั้งกระทรวงไอซีทียืนยันว่าจะคืนคลื่น 4.8 MHz มารวมประมูลทันแน่นอน"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443054939

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.