Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 อีฟราสทรัคเจอร์ เปิดเผยว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คาดว่ามีอัตราการเติบโต 30-35% และส่วนใหญ่ผู้ซื้อจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ขายผ่านเว็บไซต์แพลตฟอร์ม โดยมูลค่าการซื้อขายออนไลน์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 7.68 แสนล้านบาท

ประเด็นหลัก


"ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีฟราสทรัคเจอร์ จำกัด เปิดเผยว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คาดว่ามีอัตราการเติบโต 30-35% และส่วนใหญ่ผู้ซื้อจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ขายผ่านเว็บไซต์แพลตฟอร์ม โดยมูลค่าการซื้อขายออนไลน์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 7.68 แสนล้านบาท เป็นการค้าแบบ B2C (ธุรกิจไปยังผู้บริโภค) มากถึง 182,000 ล้านบาท (รวมธุรกิจท่องเที่ยว) หากไม่รวมธุรกิจท่องเที่ยวจะอยู่ที่ราว 46,500 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมยังคงเป็นกลุ่มแฟชั่น 22.5% สินค้าไอที 14.5% เครื่องสำอางและสุขภาพ 12.9% และท่องเที่ยว 12.3% แต่มูลค่าตลาดดังกล่าวยังไม่รวมการขายผ่าน "โซเชียลคอมเมิร์ซ" ที่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กค้าขาย









_______________________________





"โซเชียลคอมเมิร์ซ" แรงจัด แจ้งเกิด Pay Social บูมช็อปปิ้งออนไลน์



ปัจจุบันประชากรทั่วโลกสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้วกว่า2,400 ล้านคน โดยมากถึง 74% เข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ ขณะที่มี 55% ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตทำให้การก้าวเข้าสู่ยุคของโซเชียลคอมเมิร์ซเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย


"ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีฟราสทรัคเจอร์ จำกัด เปิดเผยว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คาดว่ามีอัตราการเติบโต 30-35% และส่วนใหญ่ผู้ซื้อจะเป็นฝ่ายเข้าหาผู้ขายผ่านเว็บไซต์แพลตฟอร์ม โดยมูลค่าการซื้อขายออนไลน์ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 7.68 แสนล้านบาท เป็นการค้าแบบ B2C (ธุรกิจไปยังผู้บริโภค) มากถึง 182,000 ล้านบาท (รวมธุรกิจท่องเที่ยว) หากไม่รวมธุรกิจท่องเที่ยวจะอยู่ที่ราว 46,500 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมยังคงเป็นกลุ่มแฟชั่น 22.5% สินค้าไอที 14.5% เครื่องสำอางและสุขภาพ 12.9% และท่องเที่ยว 12.3% แต่มูลค่าตลาดดังกล่าวยังไม่รวมการขายผ่าน "โซเชียลคอมเมิร์ซ" ที่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กค้าขาย

ขายของบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ.ระบุว่า คนไทยถึง 93.8% ใช้โซเชียลมีเดีย โดยกลุ่มอายุ 15-50 ปี มีการใช้งานมากถึง 90% ทั้งมีถึง 49.7% ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเป็นกลุ่มอายุตั้งแต่ 15-35 ปีมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ขณะที่ราคาสินค้าที่ขายดีคือ ช่วง 500-1,000 บาท ทั้งยังพบอีกว่ายิ่งอายุมากขึ้นจะซื้อสินค้าที่ราคาสูงขึ้นด้วย ขณะที่การซื้อขายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นเพราะสะดวก มีโปรโมชั่นดี และมั่นใจว่าร้านค้ามีตัวตน

ขณะที่ "เฟซบุ๊ก" เป็นช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยม คาดว่าจะมีถึง1.6 ล้านเพจ จากยอดผู้ใช้ทั้งประเทศกว่า37 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านคน ในช่วง เม.ย.ที่ผ่านมา โดยส่วนที่ "Zocialrank.com" มีข้อมูลนั้นพบว่า มีเพจร้านค้าราว 50,000 ร้าน มี 10,515 ร้านค้าที่อัพเดตเพจอยู่ตลอด แบ่งเป็นกลุ่มที่มีแฟนเพจตั้งแต่ 1,000-50,000 ไลก์ ราว 92% กลุ่มที่มีแฟนเพจ 50,000-1 แสนไลก์ ราว 5.15% กลุ่มที่มีแฟนเพจแสน-1 ล้านไลก์ ราว 1.18% และกลุ่มร้านที่มีราว 1-2 ล้านไลก์ ราว 0.11%

ส่วน "อินสตาแกรม" ซึ่งมีผู้ใช้ทั้งประเทศ 7.8 ล้านคน (ผู้หญิง 67% ผู้ชาย 33%) "Zocialrank.com" ได้สำรวจด้วยการเก็บข้อมูลการฝากร้านตาม IG ของดาราที่ได้รับความนิยม 50 อันดับแรกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 พบว่า มี IG ที่ขายสินค้า 11,213 ร้านค้า และความนิยมในการโปรโมตด้วยการ "ฝากร้าน" ตาม IG คนดังมีเพิ่มขึ้น 370% แม้ว่าการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า 45% ไม่สนใจการตลาดแบบ "ฝากร้าน" 36% อ่านเฉพาะคอมเมนต์ดารา และมีเพียง 19% ที่สนใจเพราะรู้สึกเหมือนได้มาตลาดนัด

"การค้าขายไม่ได้อยู่เพียงบนเว็บไซต์แต่มาอยู่บนโซเชียลมีเดียมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ใช้งานง่ายใช้ได้ทันที คนคุ้นเคยเข้าถึงคนได้จำนวนมากจึงเป็นที่นิยม นอกจากเฟซบุ๊ก IG แล้ว ยังนิยมใช้ทวิตเตอร์และไลน์ด้วย"

ถึงเวลาของ Pay Social

"เอกราช ศาลยุติเดช" ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่จะส่งผลต่อยอดขายสินค้าออนไลน์ คือ 1.แพลตฟอร์ม 2.การตลาด และ 3.การจ่ายเงิน โดยพบว่ามีผู้บริโภคถึง 97.5% เข้าชมสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์แต่ไม่ซื้อ เพราะผู้ขายไม่สามารถจัดการกับทั้ง 3 ปัจจัยได้อย่างรวดเร็ว

"ผู้ขายบนโซเชียลมีเดียมักมีปัญหา เช่น จ่ายเงินได้เฉพาะเงินสดหรือต้องโอนเงินผ่านธนาคาร ขณะที่ผู้ซื้อมักมีข้อจำกัดในการจ่ายเงิน อาทิ นิยมใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ไม่สะดวกโอนเงิน หรืออยากซื้อสินค้าแบบผ่อนจ่าย เป็นต้น"

จากปัญหาข้างต้น และขนาดของตลาดที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นที่มาของการลงทุนกว่า 20 ล้านบาท พัฒนาและทำตลาดระบบ "Pay Social" บริการรับชำระเงินออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียแห่งแรกในเอเชียที่รองรับการจ่ายเงินทั้งออนไลน์และโซเชียลมีเดียครอบคลุมทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ไลน์ และวอตส์แอปโดยผู้ค้าขายออนไลน์สามารถเปิดระบบชำระเงินออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ผ่านแอป Pay Social บนระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์หรือผ่านหน้าเว็บไซต์ Pay Social

"ผู้ค้าที่เข้าร่วมกับ Pay Social จะได้รับ URL จาก Pay Social เช่น http://pay.sn/Shopname เพื่อนำไปแชร์กับสินค้าที่จะขาย เมื่อคลิกเข้าไปในลิงก์ จะมีรายละเอียดของราคาสินค้า ให้ลูกค้าเลือกกดชำระเงินได้ทั้งผ่านบัตรเครดิต เดบิต หรือเลือกไปจ่ายเงิน ณ จุดรับบริการชำระสินค้า ถ้าสินค้าราคาสูงกว่า 3,000 บาทสามารถผ่อนผ่านระบบได้ด้วย"

โดยระบบของ Pay Social ผู้ค้าสามารถตรวจสอบสถานะการซื้อขายสินค้าได้ตลอดเวลา และจะมีการโอนเงินผ่านบัญชีของ Pay Social ที่ผูกไว้กับบัญชีของร้านค้าทุก 15 วัน ในช่วงเริ่มใช้บริการ แต่เมื่อใช้งานครบ 6 เดือนจะปรับเป็นโอนทุก 7 วันแทน รูปแบบนี้ทำให้เจ้าของธุรกิจเห็นบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งหมด

เตรียมขยายตลาดอาเซียน

ปัจจุบันPay Social ทดลองเปิดให้บริการมา 10 เดือนแล้ว มีผู้ค้าขายออนไลน์เข้าใช้งานแล้วกว่า 1,520 ราย มีเงินหมุนเวียนในระบบกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่ราคาเฉลี่ยสินค้าที่ใช้บริการอยู่ที่ 2,500 บาท ทั้งยังมีพาร์ตเนอร์ในการรับชำระเงินทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์เกือบครบทุกรายแล้ว คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะครบทั้งหมด ทั้งยังใช้ระบบความปลอดภัยเทียบเท่ากับระบบธนาคาร มีระบบตรวจสอบรายการสั่งซื้อเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับร้านค้า

"ตั้งเป้าสิ้นปีจะมีผู้ขายเข้ามาใช้บริการ3,000 ราย มีเงินหมุนเวียนในระบบ 100 ล้านบาท หรือ 10% จากตลาดออนไลน์บนโซเชียลมีเดียที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 1,000 ล้านบาท โตปีละ 20-30%"

และในปี 2559 จะมีร้านค้าโซเชียลคอมเมิร์ซเข้าใช้บริการราว 20,000 คน มียอดการชำระเงินเพิ่มเป็น 40%

สำหรับช่องทางการชำระเงินออนไลน์ โดย "เฟซบุ๊ก" มียอดการเติบโตถึง 60% ทั้งอยู่ระหว่างศึกษาตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคในเมียนมา, มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อเตรียมขยายตลาด เชื่อว่า Pay Social จะกระตุ้นให้โซเชียลคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น ทั้งยังช่วยเก็บสถิติของตลาดรวมโซเชียลคอมเมิร์ซในปีถัด ๆ ไปได้ด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443072498

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.