Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2558 ครม.เห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน วงเงินลงทุน 143,092 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นมี 79 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งหมด 261.6 กม.

ประเด็นหลัก





สำหรับโครงการที่จะทำประกอบด้วยโครงการย่อยที่ 1 ปี 57-65 รวม 49 เส้นทาง ระยะทาง 144.6 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานคร 99.2 กม. นนทบุรี 12.3 กม. สมุทรปราการ 33.1 กม. โครงการย่อยที่ 2 ปี 58-60 รวม 30 เส้นทาง ระยะทาง 117 กม. ในกรุงเทพมหานคร 92.6 กม. และนนทบุรี 24.4 กม. เมื่อรวมทั้งสิ้นมี 79 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งหมด 261.6 กม.แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 191.8 กม. นนทบุรี 36.7 กม. และสมุทรปราการ 33.1 กม.



สำหรับพื้นที่ที่จะดำเนินการในเขตศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนอังรีดูนังต์ ถนนชิดลม ถนนหลังสวน ถนนสารสิน ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ถนนสาทร รวม 12.6 กม. รวมทั้งยังมี พื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทางเพื่อสนับสนุนพื้นที่เมืองชั้นในและศูนย์กลางเขตธุรกิจ ได้แก่ ถนนเจริญราษฎร์ ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง รวม 7.4 กม. เป็นต้น





___________________________________







อนุมัติ 1.4 แสนล้านดึงสายไฟลงใต้ดิน กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 79 เส้นทาง รองรับมหานครแห่งอาเซียน




พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) วงเงินลงทุน 143,092 ล้านบาท เพื่อให้สภาพภูมิทัศน์และรักษา สิ่งแวดล้อมให้สวยงาม และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนรวมทั้งเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าและรองรับความต้องการไฟฟ้าในอนาคต

สำหรับโครงการที่จะทำประกอบด้วยโครงการย่อยที่ 1 ปี 57-65 รวม 49 เส้นทาง ระยะทาง 144.6 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานคร 99.2 กม. นนทบุรี 12.3 กม. สมุทรปราการ 33.1 กม. โครงการย่อยที่ 2 ปี 58-60 รวม 30 เส้นทาง ระยะทาง 117 กม. ในกรุงเทพมหานคร 92.6 กม. และนนทบุรี 24.4 กม. เมื่อรวมทั้งสิ้นมี 79 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งหมด 261.6 กม.แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 191.8 กม. นนทบุรี 36.7 กม. และสมุทรปราการ 33.1 กม.

สำหรับพื้นที่ที่จะดำเนินการในเขตศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนอังรีดูนังต์ ถนนชิดลม ถนนหลังสวน ถนนสารสิน ถนนวิทยุ ถนนพระราม 4 ถนนสาทร รวม 12.6 กม. รวมทั้งยังมี พื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทางเพื่อสนับสนุนพื้นที่เมืองชั้นในและศูนย์กลางเขตธุรกิจ ได้แก่ ถนนเจริญราษฎร์ ถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง รวม 7.4 กม. เป็นต้น

ทั้งนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็น โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นว่าโครงการนี้ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตามในการก่อสร้างอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน บริเวณพื้นที่ตามแนวสายไฟฟ้าพาดผ่าน และผลกระทบด้านอากาศและด้านคมนาคมรวมถึงผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงควรให้ กฟน.กำหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาผลกระทบดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย ส่วนกระทรวงพลังงานมีข้อสังเกตว่า กฟน. ควรบริหารจัดการงบประมาณที่ใช้ดำเนินการอย่างรอบคอบรวมทั้งตรวจสอบและติดตามงานก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น.

http://www.thairath.co.th/content/522361

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.