Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 TRUE มีฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือ 23 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นรายเดือน 4.2 ล้านเลขหมาย ในจำนวนนี้มีลูกค้าที่ใช้ 4G อยู่ 1.7-1.8 ล้านเลขหมาย และในสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามีลูกค้าใช้ 4G ที่ 2 ล้านเลขหมาย ด้วยการจัดทำแพ็กเกจบริการและสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์

ประเด็นหลัก




"การแข่งขันระหว่างโอเปอเรเตอร์ด้วยกันหลังการประมูลจบลงจะหนักขึ้น เมื่อทุกรายมีอาวุธเหมือนกัน การแย่งชิงลูกค้า 4G ก็จะมากขึ้น หากลูกค้าที่ใช้บริการของทรู 80-90% จะลดลงก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก"

ปัจจุบันมีฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือ 23 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นรายเดือน 4.2 ล้านเลขหมาย ในจำนวนนี้มีลูกค้าที่ใช้ 4G อยู่ 1.7-1.8 ล้านเลขหมาย และในสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามีลูกค้าใช้ 4G ที่ 2 ล้านเลขหมาย ด้วยการจัดทำแพ็กเกจบริการและสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ กระตุ้นให้เกิดการใช้มากขึ้นรวมถึงนำกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ที่ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าถึงบริการอื่น ๆได้ง่ายขึ้น



______________________________________________





"กลุ่มทรู" ชิงดำ 2 ไลเซนส์ ย้ำผู้นำครบวงจรดันไทย "ฮับ" ดิจิทัล



ทิ้งภาพน้องเล็กในสมรภูมิธุรกิจสื่อสารให้กลายเป็นอดีตไปแล้วอย่างสิ้นเชิง โดยการประกาศตัวเป็นผู้นำบริการ 4G ทั้งในแง่ฐานลูกค้า และความพร้อมของเครือข่าย พร้อมบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการสื่อสารครบวงจรที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในอาเซียน

ไม่เพียงเท่านั้น แม่ทัพกลุ่มทรูยังประกาศชัดถ้อยชัดคำว่า ต้องการได้คลื่น 900 และ 1800 MHz ที่จะประมูลในเดือน พ.ย.นี้ด้วย

"ศุภชัย เจียรวนนท์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า โครงข่ายโทรศัพท์มือถือของกลุ่มทรูค่อนข้างพร้อม เพราะมีทั้งคลื่น 2100 MHz ที่มี 15 MHz จากการประมูลเมื่อ 3 ปีก่อน และคลื่น 850 MHz ที่ซื้อความจุต่อจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม 80% ของโครงข่าย ซึ่งสองคลื่นนี้นำมาให้บริการ 4G และ 3G แต่เพื่อตอบโจทย์การใช้งานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจะให้ความสำคัญกับการประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz มาก

"เราสนใจทั้งสองคลื่น และจะสู้เต็มที่แม้ทรูจะเป็นผู้นำเรื่อง 4G มีส่วนแบ่งตลาด 4G กว่า 80-90% แต่การมีคลื่นมากขึ้นจะทำให้การใช้โมบายอินเทอร์เน็ตของลูกค้าเร็วขึ้น แม้ว่าราคาในการประมูลครั้งนี้จะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศละแวกนี้อย่างสิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม"

หากเทียบราคาต่อ MHz จะสูงกว่าเป็นเท่าตัว และที่สำคัญกว่าการประมูลต้องไม่หยุดแค่ความถี่ 900 และ 1800 MHz แต่ควรนำคลื่นอื่น เช่น 2600 MHz ที่มี 120 MHzมาประมูลด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโทรคมนาคมไทย

โดยในการประมูลครั้งนี้ กลุ่มทรูได้รับการสนับสนุนจาก "ไชน่าโมบาย" พาร์ตเนอร์หลัก (ถือหุ้น 18%) พร้อมสนับสนุนเรื่องเงินทุน หากได้คลื่นดังกล่าวมาก็จะนำมาให้บริการ 4G แน่นอน ซึ่งจะสามารถติดตั้งระบบได้เร็ว เพราะโครงข่ายที่ลงทุนไปรองรับได้ทุกคลื่นความถี่

"การแข่งขันระหว่างโอเปอเรเตอร์ด้วยกันหลังการประมูลจบลงจะหนักขึ้น เมื่อทุกรายมีอาวุธเหมือนกัน การแย่งชิงลูกค้า 4G ก็จะมากขึ้น หากลูกค้าที่ใช้บริการของทรู 80-90% จะลดลงก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก"

ปัจจุบันมีฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือ 23 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นรายเดือน 4.2 ล้านเลขหมาย ในจำนวนนี้มีลูกค้าที่ใช้ 4G อยู่ 1.7-1.8 ล้านเลขหมาย และในสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามีลูกค้าใช้ 4G ที่ 2 ล้านเลขหมาย ด้วยการจัดทำแพ็กเกจบริการและสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ กระตุ้นให้เกิดการใช้มากขึ้นรวมถึงนำกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ที่ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าถึงบริการอื่น ๆได้ง่ายขึ้น

"วันนี้เราขึ้นเป็นผู้นำในบริการ Smart Digital Life ซึ่งคอนเวอร์เจนซ์เป็นหนึ่งในตัวช่วยให้เกิดการขายมากขึ้น และรักษาลูกค้าได้ด้วย เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการแค่บรอดแบนด์ แต่อยากได้โซลูชั่นที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล คำว่า Smart Digital Life ผู้บริโภครับรู้ได้จากบริการที่เรามี ซึ่งเราจะแสดงให้เห็นว่าบริการต่าง ๆนำไปทำอะไรได้บ้าง"

"ตั้งแต่ทำธุรกิจมาเราลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ล่าสุดลงทุนเครือข่ายไฟเบอร์ทูโฮมอีก 2.3 หมื่นล้านเพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน 10 ล้านครัวเรือนภายในปี 2560 หรือครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในประเทศ จากปัจจุบันครอบคลุม 6 ล้านครัวเรือน อยู่ในกรุงเทพฯ 4.5 ล้านครัวเรือน"

ขณะเดียวกัน "ศุภชัย" มองว่า การประมูลคลื่นความถี่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศด้วย นอกจากทำให้ตลาดสื่อสารกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะภาครัฐสามารถนำเงินที่ได้จากการประมูลไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น หรือนำไปอัดฉีดอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อเดินตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

"นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลควรเดินต่อไปแผนเดิมวางมาค่อนข้างดี ต้องนำทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนนโยบายนี้มากขึ้น เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ทุกวันนี้มหานครทั่วโลกต่างมุ่งหน้าสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ เชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นและมีคุณภาพ ทั้งด้วย 3G 4G ไวไฟ และไฟเบอร์ออปติก ซึ่งทรูเป็นผู้ให้บริการครบวงจร จึงเป็นหน้าที่ในการช่วยผลักดันและกระตุ้นให้ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ เห็นความสำคัญ เพื่อให้ก้าวทันประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก"

"ศุภชัย" ย้ำว่า ด้วยเหตุนี้ดิจิทัลอีโคโนมีจึงมีความสำคัญ เพราะทุกอย่างเป็นดิจิทัลแล้ว การใช้ดิจิทัลอีโคโนมีมาพัฒนาประเทศจึงมีความจำเป็น

"ทีมเศรษฐกิจตอนนี้ ผมว่าน่าจะดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาแล้ว และน่าจะช่วยให้ประเทศไทยตั้งรับในช่วงที่เศรษฐกิจทรุดและฟื้นกลับมาดีอีกครั้งได้ ทีมชุดก่อนผมว่าเขามีหน้าที่มาปรับฐานเศรษฐกิจใหม่ให้ดีขึ้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441005055

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.