Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล MONO 29 กล่าวว่า ธุรกิจหลักคือ Entertainment มีทั้งเพลง หนัง มีเดีย เว็บไซต์ นิตยสาร เมื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของบริษัทแล้ว ช่อง MONO จึงใช้ "ภาพยนตร์" เป็นกลยุทธ์หลักของช่อง

ประเด็นหลัก



ฟากผู้ประกอบการอย่าง "นวมินทร์ ประสพเนตร" ผู้ช่วยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล MONO 29 กล่าวว่า ธุรกิจหลักคือ Entertainment มีทั้งเพลง หนัง มีเดีย เว็บไซต์ นิตยสาร เมื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของบริษัทแล้ว ช่อง MONO จึงใช้ "ภาพยนตร์" เป็นกลยุทธ์หลักของช่อง

ทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้รับชมรู้จัก MONO 29 มากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้าง "จอที่ 2" บนแอปพลิเคชั่น และ "จอที่ 3" บนเว็บไซต์ พร้อมกับต่อยอดสร้างประสบการณ์การรับชมที่หลากหลายขึ้นในยุคที่มีการแข่งขันสูงด้วยการให้ผู้ชมสมัครสมาชิกผ่านแพลตฟอร์มอื่นที่จะทำให้เกิดแนวทางการสร้างการรับชมในรูปแบบของมัลติสกรีน

"คณีอาจแดนดำรงสุข" Program Acquisition บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์กล่าวว่า ในปัจจุบันจะเห็นว่าทุกอย่างเป็นดิจิทัลนั้นมีการเชื่อมโยงกันไปหมด คอนเทนต์ที่ช่อง 3 นำเสนอ แต่เดิมเป็นคอนเทนต์ที่ไปซื้อลิขสิทธิ์มานำเสนอบนแพลตฟอร์มโทรทัศน์เท่านั้น เพราะยังเห็นโอกาสการเติบโตได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือจะต้องมีการผลิตคอนเทนต์ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาภายในอย่างต่อเนื่อง




______________________________________________





Alternative Screen ผู้บริโภคกำหนดเทรนด์อุตสาหกรรม



เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คน และทำให้มีสารพัด "หน้าจอ"ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โทรทัศน์จึงไม่ใช่หน้าจอที่สำคัญเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป "จอทางเลือก : Alternative Screen" ของสารพัดสมาร์ทดีไวซ์ล้วน กลายเป็นหน้าจอที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ให้ความสำคัญ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเวทีเสวนา "Traditional TV vs. Alternative Screen : Challenges and Opportunities" เพื่ออัพเดตการปรับตัวของผู้ประกอบการโทรทัศน์และผู้ประกอบการคอนเทนต์

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า สื่อโทรทัศน์ภายใต้แนวคิด "any where any time" ทำให้ผู้บริโภคสะดวกในการเข้าถึงคอนเทนต์และก้าวไปสู่การพัฒนาในรูปแบบหลอมรวมสื่อ "คอนเวอร์เจนซ์" ที่มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มัลติแพลตฟอร์ม หรือ "จอทางเลือก" จึงเป็นเรื่องสำคัญ และปัจจุบันผู้ให้บริการทั้งฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี รวมถึงไอพีทีวี (ทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต) ต่างเริ่มเปิดให้บริการเพื่อตอบสนองผู้รับชม

"ในอดีตคนดูทีวีก็จะทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยแต่เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เกิดบนจอที่2 อย่างการอ่านหนังสือ คุยกับคนในครอบครัว แต่ปัจจุบันกิจกรรมอื่นเกิดขึ้นบนจอที่ 2 ได้พัฒนาขึ้นไปจากอดีตอย่างการคุยเรื่องเกี่ยวกับจอหลักกับคนในบ้านก็เพิ่มเป็นการคุยกันบนเว็บบอร์ดออนไลน์หรือการอ่านหนังสือก็กลายเป็นการอ่านอีเมล์ซึ่งไม่ใช่แค่ในไทยแต่เป็นแนวโน้มทั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการในวงการบรอดแคสต์จะต้องทำ คือทำอย่างไรให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ทั้ง 2 จอพร้อมกัน"





ความท้าทายหลักของผู้ประกอบการตอนนี้ คือ "คอนเทนต์" ที่ดึงดูดผู้ชมสร้างมูลค่าได้ พร้อมต่อยอดไปยังหน้าจอที่ 2 และ 3 "ทุกช่องทางคือคู่แข่ง" เพราะปัจจุบันมีช่องทางนำเสนอคอนเทนต์มากมาย ไม่จำเป็นต้องอยู่บนหน้าจอหลักก็เป็นคู่แข่งได้ แต่ที่สำคัญกว่าคือการดึงดูดให้ติดตามต่อเนื่องเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอและจับฉวยโอกาส "การต่อยอดธุรกิจ" จากคอนเทนต์ที่มี ล้วนเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการต้องสร้าง

"การเปลี่ยนแปลงจอหลักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งการเปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล ทำให้ทีวีมีชีวิต และง่ายต่อการไปอยู่บนแพลตฟอร์มอื่น ไม่ได้กระจุกอยู่แต่บนจอโทรทัศน์อีกต่อไป ที่ผ่านมาในไทยมีความพยายามจะผลักดันให้เกิดการสื่อสารในรูปแบบ Interactive แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ด้วยข้อจำกัดของโครงข่ายที่จะมารองรับ แต่ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นแล้ว และในกิจการโทรคมนาคมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการเกิดขึ้นของ 3G และ 4G ในอนาคตการที่เราจะสร้าง Interactive ให้เกิดขึ้นทั้ง 2 กิจการจึงจะง่ายมากยิ่งขึ้น"

ฟากผู้ประกอบการอย่าง "นวมินทร์ ประสพเนตร" ผู้ช่วยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล MONO 29 กล่าวว่า ธุรกิจหลักคือ Entertainment มีทั้งเพลง หนัง มีเดีย เว็บไซต์ นิตยสาร เมื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของบริษัทแล้ว ช่อง MONO จึงใช้ "ภาพยนตร์" เป็นกลยุทธ์หลักของช่อง

ทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้รับชมรู้จัก MONO 29 มากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้าง "จอที่ 2" บนแอปพลิเคชั่น และ "จอที่ 3" บนเว็บไซต์ พร้อมกับต่อยอดสร้างประสบการณ์การรับชมที่หลากหลายขึ้นในยุคที่มีการแข่งขันสูงด้วยการให้ผู้ชมสมัครสมาชิกผ่านแพลตฟอร์มอื่นที่จะทำให้เกิดแนวทางการสร้างการรับชมในรูปแบบของมัลติสกรีน

"คณีอาจแดนดำรงสุข" Program Acquisition บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์กล่าวว่า ในปัจจุบันจะเห็นว่าทุกอย่างเป็นดิจิทัลนั้นมีการเชื่อมโยงกันไปหมด คอนเทนต์ที่ช่อง 3 นำเสนอ แต่เดิมเป็นคอนเทนต์ที่ไปซื้อลิขสิทธิ์มานำเสนอบนแพลตฟอร์มโทรทัศน์เท่านั้น เพราะยังเห็นโอกาสการเติบโตได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือจะต้องมีการผลิตคอนเทนต์ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาภายในอย่างต่อเนื่อง

"ปฏิมา ตันติคมน์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา ออร์แกไนซ์เซอร์ จำกัด และกรรมการสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง กล่าวว่าแนวโน้มของผู้ประกอบการโทรทัศน์เดิมกับผู้ประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัลรายใหม่นั้นจะมีแนวโน้มไปในลักษณะของสร้างการรับชมหลายหน้าจอมากขึ้นโดยผู้ประกอบการโทรทัศน์รายเดิมพร้อมก้าวเข้าไปสู่ในระบบดิจิทัลและไม่ได้กังวลแค่การเข้ามาของสื่อประเภทดิจิทัลอย่างเดียวเท่านั้นเพราะรูปแบบธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค"Generation Zero TV" ทุกอย่างสามารถเข้าถึงได้ทุกแพลตฟอร์ม การที่เทคโนโลยีเข้ามามากยิ่งขึ้นจะทำให้พวกผู้ประกอบการได้ประโยชน์มากกว่าการเสียประโยชน์

ทั้งนี้"ออนไลน์"จะเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงจำนวนของผู้บริโภคได้มากและใช้ต้นทุนน้อยในการขยายฐานผู้รับชมได้เป็นอย่างดีบรรดาผู้ประกอบการจึงพยายามจะขยายแพลตฟอร์มไปยังดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

"เวลานี้คอนเทนต์จึงสำคัญกว่าช่องทางรับชม ทิศทางการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันจะดูเป็นบริการมากยิ่งขึ้น มีการต่อยอดหารายได้จากกลุ่ม Zero TV ซึ่งถ้าอุตสาหกรรมมีการกำกับดูแลด้วยตนเองที่ดีและไม่ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค จะทำให้อุตสาหกรรมทีวีโตก้าวกระโดด"

กสทช. "ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์" กล่าวว่าการแข่งขันของ Alternative Screen เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผลสำรวจของเอซี นีลเส็น พบว่า ผู้ที่รับชมคอนเทนต์ผ่านเครื่องรับโทรทัศน์อย่างเดียวมี 59.27% ในขณะที่มีราว 40% รับชมผ่านหลายหน้าจอ ส่วนกลุ่มที่ดูคอนเทนต์ผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเดียวมี 0.56% แต่อีก 5 ปีคาดว่าสัดส่วนจะเริ่มเปลี่ยนไป โดยการรับชมผ่านทีวีจอหลักจะเหลือ 49.75% ขณะที่การรับชมผ่านหลายหน้าจอจะขยับขึ้นมา 48.99% และการรับชมผ่านช่องทางออนไลน์จะมี 0.75%


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441261441

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.