Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 INTUCH ระบุ จากกรณีที่ได้มีการแก้ไขสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ ADVANC ในช่วงที่ผ่านมานั้น ว่า ขณะนี้ ADVANC ยังไม่ได้รับหนังสือจากหน่วยงานไหน

ประเด็นหลัก



เมื่อวันที่ 17 กันยายน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา “One Stop Shop On Mobile : ค้าขายบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไรให้เป็นเศรษฐี” ว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ คือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอสและทีโอทีเมื่อปี 2533 มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์ รวม7.2 หมื่นล้านบาท



นายอุตตมกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ในส่วนความคืบหน้าเรื่องการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญาสัมปทานของ กสท และดีแทค ส่งคืนไปให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนเวลา เพื่อสมทบการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจากการพิจารณาแล้วเบื้องต้นเห็นว่าตามกระบวนการอาจไม่ต้องแก้สัญญาสัมปทาน เนื่องจากในการเจรจาทั้ง กสท และดีแทค ต่างเห็นตรงกันในการส่งคลื่นให้ กสทช. ซึ่ง กสท จะต้องดูรายละเอียดข้อตกลงทางกฎหมายในบางประการเท่านั้น แต่จะไม่เกี่ยวกับการแก้สัญญาสัมปทาน โดยเบื้องต้นมีแผนจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบเข้า ครม.ในวันที่ 23 ก.ย.นี้ ตามกระบวนการคาดจะสามารถส่งคลื่นให้แก่ กสทช.ได้ทันกำหนดของ กสทช.ในวันที่ 25 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน

ด้านนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) กล่าวถึงกรณีครม.มีมติเห็นชอบให้กระทรวงไอซีที ซึ่งกำกับดูแล บมจ.ทีโอที เพื่อเร่งดำเนินการให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ INTUCH ต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียประโยชน์ให้แก่ บมจ.ทีโอที จากกรณีที่ได้มีการแก้ไขสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ ADVANC ในช่วงที่ผ่านมานั้น ว่า ขณะนี้ ADVANC ยังไม่ได้รับหนังสือจากหน่วยงานไหน









____________________________________________







สั่งTOTบี้AISชดเชยแกสั้ญญา



เมื่อวันที่ 17 กันยายน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา “One Stop Shop On Mobile : ค้าขายบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างไรให้เป็นเศรษฐี” ว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ คือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาแล้วเห็นว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอสและทีโอทีเมื่อปี 2533 มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์ รวม7.2 หมื่นล้านบาท

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา ทางกระทรวงไอซีทีได้มีการส่งหนังสือคำสั่งให้แก่ทีโอที ไปดำเนินการกำกับคู่สัญญาสัมปทานในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานอย่างละเอียดกลับมาให้กระทรวงไอซีทีทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ แม้สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายนนี้ แต่ตามกระบวนการทางกฎหมายยังสามารถดำเนินการได้ต่อ จะไม่กระทบต่อการเร่งรัดชดเชยจากคู่สัญญาสัมปทานต่างอย่างใด

“ในการดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางบอร์ด ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายกฎหมายของทีโอที ต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหาย ทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งสิทธิ์ขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยัง ครม.ด้วยเช่นกัน” นายอุตตมกล่าว

รมว.ไอซีทีกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ได้มีการหารือกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ถึงแผนงานคลื่นความถี่และแผนงานต่างๆของกระทรวงไอซีที ได้มีความเห็นร่วมกันว่า หลังจากนี้จะเตรียมออกคำสั่งให้ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำเสนอแผนฟื้นฟูองค์กรมายังกระทรวงไอซีที เพื่อพิจารณาก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งในรายของทีโอที อาจต้องเน้นตอบโจทย์ภายใต้แนวความคิดที่ว่าไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ให้ใช้งานหลังจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถยืนยันได้ว่าทีโอทีจะได้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์หลังหมดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอสหรือไม่ โดยอาจมองแนวทางหารายได้หลักให้แก่องค์กรจากธุรกิจอื่นหรือทรัพย์สินที่มีแทน ไปจนถึงความคืบหน้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่จะต้องดำเนินการภายใต้แนวความคิดที่ว่าไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ให้ใช้งาน

อย่างไรก็ตาม ในรายของ กสท อาจต้องเน้นในเรื่องความคืบหน้าในการตั้งบริษัทร่วมทุน ในการให้บริการเสาโทรคมมนาคม ร่วมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคเป็นหลัก

นายอุตตมกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ในส่วนความคืบหน้าเรื่องการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญาสัมปทานของ กสท และดีแทค ส่งคืนไปให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนเวลา เพื่อสมทบการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจากการพิจารณาแล้วเบื้องต้นเห็นว่าตามกระบวนการอาจไม่ต้องแก้สัญญาสัมปทาน เนื่องจากในการเจรจาทั้ง กสท และดีแทค ต่างเห็นตรงกันในการส่งคลื่นให้ กสทช. ซึ่ง กสท จะต้องดูรายละเอียดข้อตกลงทางกฎหมายในบางประการเท่านั้น แต่จะไม่เกี่ยวกับการแก้สัญญาสัมปทาน โดยเบื้องต้นมีแผนจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบเข้า ครม.ในวันที่ 23 ก.ย.นี้ ตามกระบวนการคาดจะสามารถส่งคลื่นให้แก่ กสทช.ได้ทันกำหนดของ กสทช.ในวันที่ 25 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน

ด้านนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) กล่าวถึงกรณีครม.มีมติเห็นชอบให้กระทรวงไอซีที ซึ่งกำกับดูแล บมจ.ทีโอที เพื่อเร่งดำเนินการให้ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ INTUCH ต้องจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียประโยชน์ให้แก่ บมจ.ทีโอที จากกรณีที่ได้มีการแก้ไขสัญญาต่างๆ ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ ADVANC ในช่วงที่ผ่านมานั้น ว่า ขณะนี้ ADVANC ยังไม่ได้รับหนังสือจากหน่วยงานไหน

"คำกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะศาลยังไม่ได้พูดอะไร ที่ผ่านมาเอไอเอสทำถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ สัญญาที่ให้แก้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนก็ทำตามแล้ว เช่น เรื่องส่วนแบ่งรายได้ที่ระบุว่าให้นำไปลดให้กับประชาชน เราก็นำไปลดให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง เชื่อในความถูกต้องของบริษัท ขณะนี้ยังไม่มีอะไรแจ้งมาจากหน่วยงานไหนเลย เพราะถ้าไม่มีหนังสือมาก็ไม่รู้จะว่ายังไง" นายสมประสงค์กล่าว

ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.ทีโอทีระบุว่า ประเด็นดังกล่าวทีโอทีและเอไอเอสต้องหารือถึงทางออกร่วมกัน โดยที่ผ่านมา นายพรชัย รุจิประภา อดีต รมว.ไอซีที ได้เคยสั่งให้ทีโอทีและเอไอเอสไปเจรจายุติข้อพิพาทระหว่างกัน เพื่อให้สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ในอนาคต ซึ่งทั้งฝ่ายบริหารและบอร์ดทีโอทีไม่ได้นิ่งนอนใจ

ขณะที่นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานทีโอที กล่าวว่า หากบอร์ดทีโอทีไม่ดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้องค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียกค่าเสียหายในการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส และการปล่อยให้คลื่น 900 MHz ถูกนำไปประมูล ตนมีจุดยืนว่าจะดำเนินการฟ้องร้องเพื่อขับไล่บอร์ดบางคนออกแน่นอน แต่ว่าจะดำเนินการตอนไหนนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรอดูท่าทีของบอร์ดก่อนว่าจะแก้ไขปัญหา 2 เรื่องอย่างไร

นายจุติ ไกรฤกษ์ อดีต รมว.ไอซีที กล่าวว่า ตอนที่ตนเป็น รมว.ไอซีที ก็ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

แต่มีการมองว่าเป็นเรื่องการรังแกบริษัทเอไอเอส ทั้งที่ไม่ใช่ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ยึดทรัพย์นายทักษิณ ชินวัตร และมีรายละเอียดในคำพิพากษาว่าให้เรียกค่าเสียหายจากภาคเอกชน ตนจึงตั้งคณะกรรมการติดตามเรื่องที่เกิดขึ้น แต่เป็น รมว.ได้แค่ 9 เดือน ก็ทำเท่าที่ทำได้ ต่อจากนั้นตนไม่ทราบว่าคนที่เป็นรัฐมนตรีดำเนินการอย่างไรบ้าง และในช่วงที่มีการตั้งกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวนั้น ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เพราะเวลาน้อย เนื่องจากต้องมีการเจรจากับภาคเอกชน และตนหมดวาระไปก่อน ส่วนจะมองว่าเอกชนทำผิดหรือไม่นั้นคงไม่ได้ แต่ต้องทำตามคำพิพากษา ไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือจากนี้

เมื่อถามว่า เชื่อว่าเรื่องนี้จะทำได้สำเร็จหรือไม่ นายจุติกล่าวว่า คิดว่านายกฯ คงจะไปดูจากมติ ครม.สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และศาลฎีกาพิพากษาว่าต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งหาก ครม.ยุคนายอภิสิทธิ์ไม่ดำเนินการ ก็จะโดนมาตรา 157 ดังนั้นนายอุตตมต้องดูรายละเอียดทั้งหมดว่าเรื่องไปถึงไหน อย่างไร ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา แล้วมาดำเนินการต่อก็ไม่น่าจะมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องวงจรดาวเทียม ดาวเทียม และเรื่องการตั้งเสาส่งสัญญาณจำนวน 6 หมื่นต้นที่มีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของรัฐ รมว.ไอซีทีคนใหม่ต้องไปดูให้ดีๆ เพราะตรงนี้ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาล แต่ทรัพย์สินที่ต้องเป็นของรัฐ.





http://www.thaipost.net/?q=สั่งtotบี้aisชดเชยแกสั้ญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.