Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช. ระบุ ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช.เร่งแจ้งให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย แจ้งข้อมูลกับลูกค้าและสาธารณะให้ทราบภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นสุดมาตรการเยียวยา ให้ทราบถึงวันสิ้นสุดของมาตรการเยียวยา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่เปลี่ยนผู้ให้บริการ

ประเด็นหลัก




นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีมติกำหนดให้สิ้นสุดมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทานการให้บริการคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ณ วันที่ กสทช.ได้รับรองผลการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งตามร่างประกาศหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่า กสทช.จะต้องรับรองผลไม่เกิน 7 วันหลังจากการประมูล ดังนั้น ไม่เกินวันที่ 18 พ.ย.นี้มาตรการเยียวยาจะสิ้นสุด จึงจะทำให้ลูกค้าราว 5 แสนรายที่ค้างอยู่ในระบบไม่สามารถใช้ซิมเดิมได้อีกต่อไป

โดย กทค.ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช.เร่งแจ้งให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย แจ้งข้อมูลกับลูกค้าและสาธารณะให้ทราบภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นสุดมาตรการเยียวยา ให้ทราบถึงวันสิ้นสุดของมาตรการเยียวยา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่เปลี่ยนผู้ให้บริการ

ส่วนลูกค้าที่อยู่ภายใต้สัมปทาน 900 MHz ของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน 30 ก.ย.นี้ ทางเอไอเอสได้เสนอแผนเยียวยาลูกค้ามาแล้ว แต่ทางทีโอทียังไม่ได้เสนอแผนมา จึงต้องเร่งประสานให้รีบดำเนินการ รวมถึงกำชับให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงค่าเช่าโครงข่ายที่จะใช้ให้บริการระหว่างมาตรการเยียวยาให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้ซ้ำรอยการเยียวยา 1800 MHz



______________________________________________





"ทรูมูฟ-ดีพีซี" ซิมดับ 18 พ.ย.ขึ้นราคาประมูล 4G

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กทค.ขีดเส้น 18 พ.ย.สิ้นสุดมาตรการเยียวยา 1800 MHz จี้ "ทรูมูฟ-ดีพีซี" เร่งแจ้งลูกค้าภายใน 90 วัน พร้อมแก้เกณฑ์ประมูล 4G ขยับราคาเป็น 80% ตั้งต้นไลเซนส์ละ 15,912 ล้านบาท อายุ 18 ปี ยกเลิก Spectrum Cap บังคับขยายโครงข่าย 50% ภายใน 8 ปี


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีมติกำหนดให้สิ้นสุดมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทานการให้บริการคลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ณ วันที่ กสทช.ได้รับรองผลการประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งตามร่างประกาศหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่า กสทช.จะต้องรับรองผลไม่เกิน 7 วันหลังจากการประมูล ดังนั้น ไม่เกินวันที่ 18 พ.ย.นี้มาตรการเยียวยาจะสิ้นสุด จึงจะทำให้ลูกค้าราว 5 แสนรายที่ค้างอยู่ในระบบไม่สามารถใช้ซิมเดิมได้อีกต่อไป

โดย กทค.ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช.เร่งแจ้งให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย แจ้งข้อมูลกับลูกค้าและสาธารณะให้ทราบภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นสุดมาตรการเยียวยา ให้ทราบถึงวันสิ้นสุดของมาตรการเยียวยา และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่เปลี่ยนผู้ให้บริการ

ส่วนลูกค้าที่อยู่ภายใต้สัมปทาน 900 MHz ของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดสัมปทาน 30 ก.ย.นี้ ทางเอไอเอสได้เสนอแผนเยียวยาลูกค้ามาแล้ว แต่ทางทีโอทียังไม่ได้เสนอแผนมา จึงต้องเร่งประสานให้รีบดำเนินการ รวมถึงกำชับให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงค่าเช่าโครงข่ายที่จะใช้ให้บริการระหว่างมาตรการเยียวยาให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้ซ้ำรอยการเยียวยา 1800 MHz

ด้านความคืบหน้าการเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ประชุม กทค.ล่าสุด (20 ส.ค. 2558) มีมติให้ปรับแก้ร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz หลังจากได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะครบกำหนด 30 วันแล้ว โดยที่ประชุมได้แก้ไขใน 4 ประเด็น คือ

1.เพิ่มราคาตั้งต้นประมูล จากเดิมที่กำหนดไว้ 70% ของมูลค่าคลื่นที่ประเมินได้ (13,920 ล้านบาทต่อใบอนุญาต) ขยับเป็น 80% ของมูลค่าหรือราว 15,912 ล้านบาท เนื่องจากในเวทีประชาพิจารณ์ต่างท้วงติงว่าตั้งราคาต่ำเกินไป แต่ในส่วนกรณีที่มีผู้เข้าประมูล 2 ราย หรือน้อยกว่าก็จะใช้ราคาเต็มมูลค่า 19,890 ล้านบาทเหมือนเดิม

2.ลดอายุใบอนุญาตจาก 19 ปี เหลือ 18 ปี เนื่องจากการประมูลจัดช้าไป 1 ปี

3.ตัดเงื่อนไขการกำหนดเพดานการถือครองคลื่นขั้นสูง (Spectrum Cap) ทุกย่านคลื่นไม่เกิน 60 MHz ออก เพราะในการรับฟังความเห็นสาธารณะต่างต้องการให้แยกออกมาเป็นประกาศเฉพาะ และเกรงว่าจะเปิดช่องให้มีการฟ้องร้องกันได้กระทบการจัดประมูล

และ 4.ปรับเกณฑ์การขยายโครงข่าย โดยเพิ่มเป็น 40% ของจำนวนประชากรภายใน 4 ปีแรก และ 50% ภายใน 8 ปี จากเดิมกำหนดแค่ 40% ใน 4 ปี

นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงวิธีการเสนอราคาเล็กน้อย โดยหากผู้เข้าประมูลเคาะราคาขึ้นไปถึง 100% ของมูลค่าคลื่นแล้ว การเสนอราคาแต่ละครั้งจะปรับจากเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% เป็นเพิ่มขึ้นครั้งละ 2.5% โดย 21 ส.ค.นี้บอร์ด กสทช.จะพิจารณาร่างหลักเกณฑ์นี้อีกครั้ง ก่อนเตรียมนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาราว 26 ส.ค.นี้ เพื่อให้เริ่มกระบวนการเชิญชวนเข้าร่วมการประมูลที่ กสทช.จะจัดขึ้น 11 พ.ย.นี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440414844

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.