Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 รัฐบาลเชื่อ!! ไอซีทีชุมชนกว่า 1,900 แห่ง เป็นช่องทางให้ความรู้ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12,000 ราย ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาในทุกภาคส่วนโดยใช้เทคโนโลยีใหม่มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทันเวทีโลก

ประเด็นหลัก



ไอซีทีชุมชนกว่า 1,900 แห่ง เป็นช่องทางให้ความรู้ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12,000 ราย ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาในทุกภาคส่วนโดยใช้เทคโนโลยีใหม่มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทันเวทีโลก




______________________________________________





รมต.ไอซีที คาดแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลเสร็จต.ค.นี้


„รมต.ไอซีที คาดแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลเสร็จต.ค.นี้ สภาอุตฯ - ซิป้า - อินเทล จับมือ ร่วมพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย พร้อมติวเข้าเอสเอ็มอีไทยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หนุนการค้าขายออนไลน์ผ่านไอซีทีชุมชนกว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ ด้านรมต.ไอซีที คาดแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลเสร็จต.ค.นี้ วันพุธที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 16:00 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: สภาอุตสาหกรรม ไอซีที แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ดิจิตอล ซิป้า อินเทล เอสเอ็มอี เทคโนโลยี วันนี้ (9 ก.ย.) ที่โรงแรมเชอราตันแกรนด์ สุขุมวิท นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ภายหลังเป็นประธานในการประกาศความร่วมมือเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ ซิป้า ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และบริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) โดยใช้ไอซีทีชุมชนกว่า 1,900 แห่ง เป็นช่องทางให้ความรู้ในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12,000 ราย ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาในทุกภาคส่วนโดยใช้เทคโนโลยีใหม่มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทันเวทีโลก โดยมองเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์คือ การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกลุ่มเอสเอ็มอี โดยการสร้างการใช้เทคโนโลยีให้แพร่หลาย, การใช้เทคโนโลยีช่วยเกื้อหนุนการเติบโตของเอสเอ็มอี, การสร้างผู้ประกอบการใหม่, การใช้เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและการส่งเสริมให้ภาครัฐใช้เทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาบุคลากรให้พร้อมในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนา ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งการใช้อี-เลิร์นนิ่งและการพัฒนาดิจิตอลคอนเทนท์จะเป็นพื้นฐานในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ สิ่งเหล่านี้เป็นแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลที่กำลังทำอยู่ และคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้ ก่อนจะส่งให้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอี) และครม.อนุมัติซึ่งได้วางกรอบไว้ 5 ปี (2559-2563) สำหรับการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนทางการเงินกับเอสเอ็มอี เมื่อวันที่8 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น กระทรวงไอซีทีจะมีมาตรการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีใช้เทคโนโลยีในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ จะพัฒนาระบบการชำระเงินสำหรับเอสเอ็มอี (e-payment) โดยกระทรวงจะร่วมกับกระทรวงการคลังในการพัฒนาระบบซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน นายสนธิญาณ หนูจีนเส้ง กรรมการผู้จัดการ อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้เอสเอ็มอีด้วยการใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขัน อินเทลได้เคยดำเนินการเช่นนี้มาแล้วเพราะเชื่อว่าจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งานในการพัฒนา โดยอินเทลใช้หลักสูตรพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการดาวรุ่งรุ่นใหม่มาพัฒนาผู้ประกอบการ 12,000 คน ภายในสิ้นปีนี้เชื่อว่าด้วยหลักสูตรนี้ จะช่วยพัฒนาความรู้ตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนาธุรกิจและการวางแผนการตลาดเพื่อการเติบโต โดยผ่านศูนย์ไอซีทีชุมชนทั่วประเทศไทย โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นจุดประกายในการใช้เทคโนโลยีมาประสานกับการทำธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้นได้ ขณะที่นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสหากรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาอุตฯ มองว่าเอสเอ็มอีเป็นเสาหลักของประเทศ กิจกรรมนี้จึงเป็นการต่อยอดนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอี โครงการนี้จึงเป็นการต่อยอดเอสเอ็มอีให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลได้หารือกับไอซีทีเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เร่งพัฒนาทุกภาคส่วน ต้องมีการขับเคลื่อนนำดิจิตอลมาเพิ่มขีดความสามารถการค้าขายส่งออก-นำเข้า“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/346953


http://www.dailynews.co.th/it/346953

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.