Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 AIS DTAC ใช้เสาส่งสัญญาณ 3G ร่วมกัน บื้องต้นจะเป็นการใช้เสาร่วมกันบริษัทละ 1,000 แห่ง โดยสำรวจจากพื้นที่ที่แต่ละบริษัทยังไม่มีการสร้างสถานีฐาน เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างทับซ้อนกัน

ประเด็นหลัก


นายวีรวัฒน์กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เบื้องต้นเอไอเอสจะดำเนินการภายใต้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด โดยจะเป็นการใช้เสาสัญญาณของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ในพื้นที่ทั่วประเทศ เริ่มจากจำนวน 2,000 แห่ง เพื่อเป็นการรองรับและสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ 3จี ทั้งของลูกค้าเอไอเอสและลูกค้าดีแทค ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมีเสาสัญญาณที่เป็นสถานีฐานของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ราว 22,000 แห่งทั่วประเทศ การร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ในบางพื้นที่ที่เสาสัญญาณของเอไอเอสเข้าไปไม่ถึง สามารถใช้เสาร่วมกับดีแทคในการส่งสัญญาณได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ โดยในต่างจังหวัดจะเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้เสาร่วมกัน

ด้านนายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และกรรมการ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด กล่าวว่า ในการนำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของทั้งสองบริษัทออกมาให้ใช้ร่วมกัน เป็นมิติใหม่แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อตอบสนองการใช้งานผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เบื้องต้นจะเป็นการใช้เสาร่วมกันบริษัทละ 1,000 แห่ง โดยสำรวจจากพื้นที่ที่แต่ละบริษัทยังไม่มีการสร้างสถานีฐาน เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างทับซ้อนกัน ทั้งนี้ ในส่วนของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ของดีแทคนั้น มีจำนวนสถานีอยู่ประมาณ 14,000-15,000 แห่ง โดยนอกจากการใช้เสาสัญญาณร่วมกันในการส่งสัญญาณ 3จี ในครั้งนี้แล้ว คาดในอนาคตจะต่อยอดเป็นการใช้ร่วมกันเพื่อส่งสัญญาณในระบบ 4จี


_____________________________________________________













เอไอเอสกอดคอดีแทคใช้เสา 3จี ปิดจุดบอดโครงข่ายทั่วปท. ดันต่อยอดร่วมมือไปถึงระบบใหม่


เอไอเอสจับมือดีแทคใช้เสาส่งสัญญาณ 3จี ร่วมกัน สนองนโยบาย กสทช. ลดตั้งสถานีฐานซ้ำซ้อน ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม ปิดจุดบอดโครงข่ายที่ไม่ครอบคลุม ประเดิม 2 พันแห่งทั่วประเทศ เน้นต่างจังหวัด ชี้เป็นมิติใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตอบสนองการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดันต่อยอดไประบบ 4จี ในอนาคต

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร รองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า เพื่อคุณภาพและบริการที่ทั่วถึงทั่วประเทศ ประกอบกับเป็นการปฏิบัติตามแนวนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้สาธารณูปโภคร่วมกัน ซึ่งการใช้อุปกรณ์ร่วมกันสามารถลดปริมาณการตั้งเสาสถานีฐานซ้ำซ้อนได้ เป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในระดับหนึ่ง ทางเอไอเอสจึงได้ร่วมมือกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ในการใช้เสาสัญญาณโทรคมนาคมร่วมกัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการโครงข่ายได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง ตอบสนองการใช้งานของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและการกระจายตัวของประชากรไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และลดปริมาณการตั้งเสาสถานีฐานซ้ำซ้อน พร้อมทั้งยังเป็นการลดปริมาณเสาสถานีฐานในพื้นที่ชุมชน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในระดับหนึ่ง

นายวีรวัฒน์กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เบื้องต้นเอไอเอสจะดำเนินการภายใต้บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด โดยจะเป็นการใช้เสาสัญญาณของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ในพื้นที่ทั่วประเทศ เริ่มจากจำนวน 2,000 แห่ง เพื่อเป็นการรองรับและสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ 3จี ทั้งของลูกค้าเอไอเอสและลูกค้าดีแทค ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมีเสาสัญญาณที่เป็นสถานีฐานของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ราว 22,000 แห่งทั่วประเทศ การร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ในบางพื้นที่ที่เสาสัญญาณของเอไอเอสเข้าไปไม่ถึง สามารถใช้เสาร่วมกับดีแทคในการส่งสัญญาณได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ โดยในต่างจังหวัดจะเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้เสาร่วมกัน

ด้านนายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และกรรมการ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด กล่าวว่า ในการนำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของทั้งสองบริษัทออกมาให้ใช้ร่วมกัน เป็นมิติใหม่แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อตอบสนองการใช้งานผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เบื้องต้นจะเป็นการใช้เสาร่วมกันบริษัทละ 1,000 แห่ง โดยสำรวจจากพื้นที่ที่แต่ละบริษัทยังไม่มีการสร้างสถานีฐาน เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างทับซ้อนกัน ทั้งนี้ ในส่วนของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ของดีแทคนั้น มีจำนวนสถานีอยู่ประมาณ 14,000-15,000 แห่ง โดยนอกจากการใช้เสาสัญญาณร่วมกันในการส่งสัญญาณ 3จี ในครั้งนี้แล้ว คาดในอนาคตจะต่อยอดเป็นการใช้ร่วมกันเพื่อส่งสัญญาณในระบบ 4จี






ที่มา : นสพ.มติชน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439730754

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.