Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 กสทช. ระบุ ทางไอซีทีขอให้ กสทช.ช่วยทำแผนว่า ถ้าจะใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาคลื่นต้องทำแบบไหน เพราะตอนนี้สิทธิ์ในคลื่นกระจุกตัว รัฐวิสาหกิจบางแห่งก็มีคลื่นเยอะไม่ได้ใช้ เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมด ตั้งแต่ย่าน 450-2600 MHz

ประเด็นหลัก


นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อีก 1 สัปดาห์แผนการใช้คลื่นทั้งหมดจะเรียบร้อย โดยจะเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมด ตั้งแต่ย่าน 450-2600 MHz

"ทางไอซีทีขอให้ กสทช.ช่วยทำแผนว่า ถ้าจะใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาคลื่นต้องทำแบบไหน เพราะตอนนี้สิทธิ์ในคลื่นกระจุกตัว รัฐวิสาหกิจบางแห่งก็มีคลื่นเยอะไม่ได้ใช้ บางแห่งไม่มีเลย แนวทางนี้จะเสนอว่าจะจัดสรรคลื่นโดยใช้อำนาจมาตรา 44 แบ่งและดึงคลื่นที่ไม่ได้ใช้กลับมา ถ้านายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย ก็จะมีคลื่นทยอยออกมาประมูลได้อย่างต่อเนื่อง 2600 MHz น่าเริ่มเป็นคลื่นแรกในปีหน้า ส่วน 2300 MHz ของทีโอทีก็ต้องแบ่งกัน ซึ่งในแผนจะต้องบอกด้วยว่าจะแบ่งออกได้กี่ใบอนุญาต จะได้เงินเข้ารัฐเท่าไร"


_____________________________________________________










ชงม.44 จัดสรรคลื่นใหม่ยกแผงเล็งประมูล2600MHzปีหน้า



ไอซีทีจับมือ "กสทช." ชงมาตรา 44 รื้อคลื่นยกแผงเปิดทางประมูลคลื่นใหม่ยกกระบิ เล็งประเดิม 2600 MHz ปีหน้า ประสานเสียงย้ำ 1800-900 MHz พ.ย.แน่ ยืนยันทำเพื่อชาติ "ทีโอที-แคท" แค่ผลพลอยได้ ด้าน TDRI เตือนต้องไม่กีดกันการแข่งขันและหนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

นาย พรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในแง่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของประเทศ โดยเฉพาะที่กับรัฐวิสาหกิจที่ยังมีประเด็นข้อกฎหมายติดขัดอยู่ เพื่อวางแผนการใช้คลื่นของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งผลประโยชน์รัฐวิสาหกิจ หากแต่ความชัดเจนของแนวทางนี้จะเป็นผลพลอยได้ให้ บมจ.ทีโอที กับ บมจ.กสท โทรคมนาคมด้วย ส่วนการประมูลคลื่นของ กสทช. ยังเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อีก 1 สัปดาห์แผนการใช้คลื่นทั้งหมดจะเรียบร้อย โดยจะเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมด ตั้งแต่ย่าน 450-2600 MHz

"ทางไอซีทีขอให้ กสทช.ช่วยทำแผนว่า ถ้าจะใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาคลื่นต้องทำแบบไหน เพราะตอนนี้สิทธิ์ในคลื่นกระจุกตัว รัฐวิสาหกิจบางแห่งก็มีคลื่นเยอะไม่ได้ใช้ บางแห่งไม่มีเลย แนวทางนี้จะเสนอว่าจะจัดสรรคลื่นโดยใช้อำนาจมาตรา 44 แบ่งและดึงคลื่นที่ไม่ได้ใช้กลับมา ถ้านายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย ก็จะมีคลื่นทยอยออกมาประมูลได้อย่างต่อเนื่อง 2600 MHz น่าเริ่มเป็นคลื่นแรกในปีหน้า ส่วน 2300 MHz ของทีโอทีก็ต้องแบ่งกัน ซึ่งในแผนจะต้องบอกด้วยว่าจะแบ่งออกได้กี่ใบอนุญาต จะได้เงินเข้ารัฐเท่าไร"

แต่แนวทางดังกล่าวจะไม่กระทบกับแผนการประมูลคลื่น 900-1800 MHz ในเดือน พ.ย.นี้ เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องจัดประมูลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิฉะนั้นรัฐจะเสียหาย

"กระบวนการประมูลตอนนี้หยุดได้ กสทช.จะไม่หยุดเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ใคร และถึงจะไม่มีการประมูลก็ใช่ว่าคลื่นจะกลับไปอยู่กับรัฐวิสาหกิจ แต่ต้องเข้าสู่มาตรการเยียวยาเพราะจะหมดสัมปทาน ก.ย.นี้แล้ว ตอนนี้ถ้าจะหยุดได้ก็เพราะคำสั่งศาลเท่านั้น ซึ่งถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอก็จะทำให้รัฐเสียหาย ซึ่งผู้ที่ทำให้หยุดก็ต้องชี้แจงเหตุผล"

ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า หากมีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้รัฐวิสาหกิจได้มีสิทธิ์ใช้งานในคลื่นต่อไป รัฐบาลต้องตอบคำถามได้ว่า เป็นแนวทางที่ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจริงหรือไม่ คลื่นที่ถูกดึงไว้ได้ใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมหรือไม่

โดยการยื้อคลื่นความถี่ ของรัฐวิสาหกิจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้การประมูลคลื่นในเดือน พ.ย.นี้ไม่เกิดขึ้นตามที่ กสทช.วางแผนไว้ คือ เพราะยังมีการตั้งแง่เรื่องสิทธิ์ในคลื่น จนทำให้เกิดการฟ้องขอคำสั่งศาลคุ้มครอง ทั้งยังมีชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งถ้ากฎหมายนี้ประกาศใช้อาจทำให้ไม่เกิดการประมูลคลื่นได้

ขณะที่ นายพรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้วิจัย "ประมูล 4G กับผลประโยชน์สาธารณะ" ได้มีข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการจัดประมูลคลื่น 4G ของ กสทช. ว่า ควรจะมีการเปิดเผยผลการศึกษาการตั้งราคาเริ่มต้นประมูลให้สาธารณะรับทราบ และควรจัดประมูลคลื่นทั้ง 2 ย่านพร้อมกันในครั้งเดียวเพื่อสะท้อนราคาที่แท้จริง ทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการกำหนดสัดส่วนการถือครองคลื่นของตนได้ด้วยกลไกตลาด โดยแบ่งคลื่นที่จะนำออกประมูลเป็นใบอนุญาตละ 2x5 MHz ซึ่งจะทำให้คลื่น 900 MHz มีการประมูล 4 ใบอนุญาต

และ 1800 MHz มี 5-6 ใบอนุญาตแล้วแต่กรณีว่าสามารถคืนคลื่นได้ทันหรือไม่ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น โดยอาจกำหนดให้แต่ละรายถือครองใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz ได้ไม่เกิน 3 ไลเซนส์ และ 2 ไลเซนส์สำหรับคลื่น 900 MHz ส่วนการกำหนดเพดานการถือครองคลื่นทั้งหมด (Spectrum Cap) ควรมีการศึกษาทางวิชาการและรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องก่อนออกเป็นประกาศ เฉพาะต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440039397

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.