Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 mPay มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน 1.5 ล้านไอดี จากหมายเลขโทรศัพท์มือถือเอไอเอส 44 ล้านเลขหมาย คาดว่าในสิ้นปีจะเพิ่มขึ้น 10% ใกล้เคียงปีที่แล้ว หลังจากเปิดให้ค่ายอื่นมาสมัครใช้ได้

ประเด็นหลัก








ปัจจุบัน "เอ็มเปย์" มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน 1.5 ล้านไอดี จากหมายเลขโทรศัพท์มือถือเอไอเอส 44 ล้านเลขหมาย คาดว่าในสิ้นปีจะเพิ่มขึ้น 10% ใกล้เคียงปีที่แล้ว หลังจากเปิดให้ค่ายอื่นมาสมัครใช้ได้ ขณะที่การเชื่อมต่อกับอีวอลเลตค่ายอื่นจะทำให้คนหันมาใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีวอลเลต) เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพราะใช้งานง่ายขึ้น อีกทั้งบริการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อทำให้การใช้จ่ายบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ ทำได้สมบูรณ์แบบ ผ่านระบบ "อีวอลเลต" เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร ซึ่งบริษัทและผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าไปคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการสร้างมาตรการกำกับดูแลเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการฟอกเงิน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ "เอ็มเปย์" โดยเฉลี่ย 2 ล้านบาท/เดือน มีการใช้ 150 ล้านครั้ง/วัน เป็นการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ 70% เติมเงินเกม 10% และชำระค่าบริการต่าง ๆ รวมถึงอีคอมเมิร์ซ (เพย์เมนต์เกตเวย์กับเอสเอ็มอี) 20% โดยปี 2557 กว่า 30% ของลูกค้าเอไอเอสจะชำระค่าบริการผ่านช่องทางนี้ คาดว่าใน 1-2 ปี จะเพิ่มเป็น 50% เพราะมีการให้ส่วนลดและสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา หัวหน้าผู้อำนวยการกลุ่ม Ascend เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้ให้บริการ "ทรูมันนี่" เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างหารือกับผู้ให้บริการอีวอลเลต 2 ราย เพื่อเชื่อมต่อระบบให้โอนเงินระหว่างกัน แต่การโอนเงินต้องมีค่าธรรมเนียม และวงเงินเพื่อป้องกันปัญหาการฟอกเงิน เชื่อว่าการเปิดให้โอนเงินระหว่างกันได้จะกระตุ้นให้มีคนใช้งานเพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโตขึ้นด้วย









____________________________



มือถือร่วมจุดพลุอีวอลเล็ต ปลดล็อกโอนเงินข้ามค่าย



ค่ายมือถือจุดพลุตลาดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ "เอ็มเปย์" ปลดล็อกให้ลูกค้าค่ายอื่นใช้ได้ Q3 เชื่อมระบบ "ทรูมันนี่-เพย์สบาย"โอนเงินระหว่างกันปลายปีนี้ ยกระดับธุรกรรมการเงินผ่าน "มือถือ" ทาบรัศมี "แบงก์" ปลุกยอดใช้พุ่ง เสริม "อีคอมเมิร์ซ"

นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมพัฒนาระบบใหม่เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือนอกจากเครือข่าย "เอไอเอส" เข้ามาใช้บริการ "อีวอลเลต" ของเอ็มเปย์ได้ด้วยภายในไตรมาส 3 ปีนี้ จากปัจจุบันยังไม่เปิดให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือค่ายอื่นเข้ามาใช้ แต่ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคู่แข่งเองก็ไม่ได้อิงเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออีกต่อไปจึงต้องการปลดล็อกบ้าง และในลำดับถัดไปจะพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกับค่ายอื่น เช่น ทรูมันนี่ และเพย์สบาย เพื่อให้บริการโอนเงินระหว่างกันได้ด้วย คาดว่าจะได้เห็นภายในสิ้นปีนี้

"เมื่อก่อนเอ็มเปย์ให้บริการลูกค้าที่ใช้เอไอเอสเท่านั้น แต่ในไตรมาส 3 จะเปิดให้คนใช้มือถือทุกเครือข่าย เป็นการกลับมาแข่งขันเต็มตัวอีกครั้ง หลังจากเร่งพัฒนาบริการใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้เอไอเอส เช่น ซิมเอ็มเปย์แรบบิทที่ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ, บีทแบงกิ้งเปลี่ยนอีวอลเลต ให้มีดอกเบี้ย 1.75% ต่อปี เป็นต้น"

ปัจจุบัน "เอ็มเปย์" มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน 1.5 ล้านไอดี จากหมายเลขโทรศัพท์มือถือเอไอเอส 44 ล้านเลขหมาย คาดว่าในสิ้นปีจะเพิ่มขึ้น 10% ใกล้เคียงปีที่แล้ว หลังจากเปิดให้ค่ายอื่นมาสมัครใช้ได้ ขณะที่การเชื่อมต่อกับอีวอลเลตค่ายอื่นจะทำให้คนหันมาใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีวอลเลต) เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพราะใช้งานง่ายขึ้น อีกทั้งบริการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อทำให้การใช้จ่ายบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ ทำได้สมบูรณ์แบบ ผ่านระบบ "อีวอลเลต" เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร ซึ่งบริษัทและผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าไปคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการสร้างมาตรการกำกับดูแลเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการฟอกเงิน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ "เอ็มเปย์" โดยเฉลี่ย 2 ล้านบาท/เดือน มีการใช้ 150 ล้านครั้ง/วัน เป็นการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ 70% เติมเงินเกม 10% และชำระค่าบริการต่าง ๆ รวมถึงอีคอมเมิร์ซ (เพย์เมนต์เกตเวย์กับเอสเอ็มอี) 20% โดยปี 2557 กว่า 30% ของลูกค้าเอไอเอสจะชำระค่าบริการผ่านช่องทางนี้ คาดว่าใน 1-2 ปี จะเพิ่มเป็น 50% เพราะมีการให้ส่วนลดและสิทธิพิเศษเพิ่มเติม

ด้านนายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา หัวหน้าผู้อำนวยการกลุ่ม Ascend เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้ให้บริการ "ทรูมันนี่" เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างหารือกับผู้ให้บริการอีวอลเลต 2 ราย เพื่อเชื่อมต่อระบบให้โอนเงินระหว่างกัน แต่การโอนเงินต้องมีค่าธรรมเนียม และวงเงินเพื่อป้องกันปัญหาการฟอกเงิน เชื่อว่าการเปิดให้โอนเงินระหว่างกันได้จะกระตุ้นให้มีคนใช้งานเพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโตขึ้นด้วย

"ทรูมันนี่มองอีวอลเลตเหมือนธนาคาร ถ้าปลดล็อกเรื่องการโอนเงินข้ามกันได้ โอกาสที่คนจะมาใช้ก็มากขึ้น เพราะถึงแม้ว่าอีวอลเลตจะต่อเชื่อมกับการจ่ายบิลต่าง ๆ รวมถึงการมีบัตรเครดิตเสมือนเพื่อซื้อของออฟไลน์และออนไลน์ได้ แต่การใช้งานยังไม่เติบโตขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

ดังนั้นในสิ้นปีนี้จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริการอีวอลเลตในประเทศไทยจากการเปิดให้มีการโอนเงินข้ามกันได้ เหมือนผู้บริโภคโอนเงินข้ามธนาคาร ทำให้มีการใช้จ่ายบนระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ แต่ถ้าโอนเพื่อถอนเป็นเงินสดออกมาก็ยังคงต้องโอนไปยังธนาคาร"

สำหรับบริการ "ทรูมันนี่" ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้งาน 6 ล้านไอดี และมียอดเงินในระบบ 800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อต้นปี ซึ่งบริษัทจะมีการลงทุนเพิ่มเพื่อเชื่อมต่อระบบกับผู้ให้บริการ 2 รายหลักด้วย

ขณะที่นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพย์สบาย จำกัด เปิดเผยว่า แม้บริการอีวอลเลตจะเปิดให้บริการมานานเกือบ 10 ปี แต่ยังมีคนใช้งานไม่มากนัก เพราะไม่สามารถเชื่อมต่อกับบริการอื่นได้มากพอ ทำให้ไม่จูงใจ อีกทั้งการกระจัดกระจายของผู้ให้บริการรายใหม่ที่ไม่เชื่อมต่อระบบกับรายอื่นทำให้มีความยุ่งยากในการใช้งาน เช่น บัตรเงินสดใช้ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ หรือบัตรเงินสดบริการขนส่งมวลชนก็ใช้ร่วมกับร้านค้าเพียงไม่กี่ราย เป็นต้น

"แต่ละรายอยากมีบริการเป็นของตนเอง ทำให้ระบบอีวอลเลตไม่เกิดขึ้นจริงในไทย มีคนใช้แค่ 1-2 ล้านคน แถมส่วนใหญ่ยังใช้เติมเงินมือถือ, เติมเงินบัตรรถไฟฟ้า ถ้าจะให้เกิดได้ต้องร่วมกันทำ เราเองก็คุยกับเอ็มเปย์ และทรูมันนี่เกี่ยวกับการทำระบบต่าง ๆ ร่วมกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ทุกเจ้าต้องการทำให้อีวอลเลตแพร่หลายมากกว่านี้"

การใช้ "อีวอลเลต" ร่วมกันระหว่างเพย์สบาย, เอ็มเปย์ และทรูมันนี่ โดยเฉพาะการโอนเงินจะยังคงมีค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามระบบ เนื่องจากรายได้จากค่าธรรมเนียมจากร้านค้าหรือการรับชำระค่าสาธารณูปโภคไม่สามารถเลี้ยงบริษัทได้ เพราะต้องมีการลงทุนขยายการเชื่อมต่อ และระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น มีมาตรการควบคุมการโอนเงินแต่ละครั้ง, การป้องกันการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่ง ธปท.ต้องตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมา

"ในระบบเพย์สบายคาดว่าในสิ้นปีจะมีคนลงทะเบียนใช้อีวอลเลตกว่า 5 แสนไอดี มีร้านค้าใช้เพย์เมนต์เกตเวย์ 12,000 แห่ง มีเงินหมุนเวียนในระบบ 3,500 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 15% โดย 90% มาจากการใช้ระบบเพย์เมนต์เกตเวย์และอีวอลเลต ที่เหลือมาจากการโอนเงิน ต้องยอมรับว่าการที่ระบบเราโดนโจรกรรมข้อมูล เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาทำให้เสียความเชื่อมั่นไป จึงต้องลงทุนระบบไอทีใหม่เป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท และปรับโครงสร้างการทำงานภายในเพื่อดูแลเรื่องนี้มากขึ้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437126771

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.