Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 IDC ระบุ กลุ่มผู้บริโภคมีการจับจ่ายด้านไอซีที มูลค่า 4.4 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเล็กน้อย แบ่งเป็นการใช้งานโทรคมนาคม 2.7 แสนล้านบาท หรือเกือบ 60% ของการจับจ่ายไอซีทีฝั่งผู้บริโภค มีการเติบโตเล็กน้อย เพราะความต้องการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น 18%

ประเด็นหลัก


"เสฐียรพร สุวรรณสุภา" นักวิเคราะห์ตลาด ประจำไอดีซี ประเทศไทย เปิดเผยว่าหลังจากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาคลี่คลายปัญหาทางการเมืองในกลางปี 2557 และมีการวางแผนต่าง ๆ เพื่อช่วยเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว จากก่อนหน้านี้มีทั้งวิกฤตน้ำท่วม และปัญหาการเมือง ในช่วงสิ้นปี 2557 จึงคาดการณ์การเติบโตของการจับจ่ายด้านไอซีทีในปีนี้ไว้ที่ 13% มูลค่า 7.3 แสนล้าน แต่ผ่านครึ่งปี สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองไม่ดีขึ้น จึงปรับลดการเติบโตเหลือ 3.8% มูลค่า 6.5 แสนล้านบาท

"การจับจ่ายไอซีทีปีนี้อ่อนตัวกว่าที่ควรจะเป็น เพราะปกติอัตราการเติบโตของไอซีทีจะมากกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีประเทศไทยเท่าตัว เช่น ปี 2556 โตราว 8.5% จีดีพีโตเกือบ 3% แต่ปีนี้การจับจ่ายไอซีที และจีดีพีประเทศแทบใกล้กันที่ 3% โดยมูลค่าการจับจ่ายไอซีที แบ่งเป็นสินค้าและบริการไอที 54.5% บริการโทรคมนาคม 45.5% สินค้าและบริการไอทีโตเพียง 1.9% เพราะความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลง และไม่มีเทคโนโลยีใหม่จูงใจ แต่โทรคมนาคมโตถึง6.2% จากความต้องการใช้งานดาต้า"

กลุ่มผู้บริโภคมีการจับจ่ายด้านไอซีที มูลค่า 4.4 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเล็กน้อย แบ่งเป็นการใช้งานโทรคมนาคม 2.7 แสนล้านบาท หรือเกือบ 60% ของการจับจ่ายไอซีทีฝั่งผู้บริโภค มีการเติบโตเล็กน้อย เพราะความต้องการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น 18% รองรับการใช้งานวอยซ์ที่ลดลง 6% กลับกันที่การใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าไอทีของผู้บริโภคอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1.5% มีสมาร์ทโฟนเป็นตัวนำที่มูลค่ามากที่สุดคือ 1.2 แสนล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 7% จากยอดขาย 20 ล้านเครื่อง ราคาเฉลี่ย 1,000-2,000 บาท/เครื่อง ส่วนคอมพิวเตอร์และอื่น ๆ ปรับลดลง














____________________________



สำรวจการใช้จ่ายไอซีที ปี"58 IDCลดเป้าโต-พึ่ง 4G ดิจิทัลอีโคโนมี



ผ่านมาแล้วครึ่งปี 2558 ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ในอีกครึ่งปีที่เหลือคงยังต้องลุ้นกันต่อไป แม้แต่ในแวดวงธุรกิจสื่อสาร และไอที หรือ "ไอซีที" ยังโดนผลกระทบไปด้วยไม่น้อยจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ล่าสุดบริษัทวิจัยไอดีซี (ประเทศไทย) จำกัด ออกมาเปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้จ่ายไอซีทีในปี 2558 นี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาวะตลาด ความต้องการของผู้บริโภค ผ่านการสำรวจ 6 กลุ่มสินค้า และบริการ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ระดับองค์กร, ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร, การใช้งานโทรคมนาคม, บริการไอซีที, อุปกรณ์ไอที และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ

โดย "ไมเคิล อาราเนต้า" ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทไอดีซี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปี 2558 เป็นปีที่มีทั้งข่าวดี และข่าวร้ายคละกันไป โดยข่าวดีคือความชัดเจนในการจัดประมูล 4G และแผนการเดินหน้าไปสู่ดิจิทัลอีโคโนมี แต่ข่าวร้ายคือทั้งสองสิ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมการจับจ่ายไอซีทีในครึ่งหลังปี 2559 เป็นต้นไป อีกข่าวร้ายคือการที่จีดีพีของประเทศไทยไม่ได้เติบโตตามที่หลายฝ่ายคาดไว้ จากปัญหาการเมืองที่ยังไม่จบ รวมถึงเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่งผลให้ผู้บริโภค รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ไม่ควักกระเป๋าใช้จ่าย

จับจ่ายไอซีทีโตแค่ 3.8%

"เสฐียรพร สุวรรณสุภา" นักวิเคราะห์ตลาด ประจำไอดีซี ประเทศไทย เปิดเผยว่าหลังจากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาคลี่คลายปัญหาทางการเมืองในกลางปี 2557 และมีการวางแผนต่าง ๆ เพื่อช่วยเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว จากก่อนหน้านี้มีทั้งวิกฤตน้ำท่วม และปัญหาการเมือง ในช่วงสิ้นปี 2557 จึงคาดการณ์การเติบโตของการจับจ่ายด้านไอซีทีในปีนี้ไว้ที่ 13% มูลค่า 7.3 แสนล้าน แต่ผ่านครึ่งปี สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองไม่ดีขึ้น จึงปรับลดการเติบโตเหลือ 3.8% มูลค่า 6.5 แสนล้านบาท

"การจับจ่ายไอซีทีปีนี้อ่อนตัวกว่าที่ควรจะเป็น เพราะปกติอัตราการเติบโตของไอซีทีจะมากกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีประเทศไทยเท่าตัว เช่น ปี 2556 โตราว 8.5% จีดีพีโตเกือบ 3% แต่ปีนี้การจับจ่ายไอซีที และจีดีพีประเทศแทบใกล้กันที่ 3% โดยมูลค่าการจับจ่ายไอซีที แบ่งเป็นสินค้าและบริการไอที 54.5% บริการโทรคมนาคม 45.5% สินค้าและบริการไอทีโตเพียง 1.9% เพราะความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลง และไม่มีเทคโนโลยีใหม่จูงใจ แต่โทรคมนาคมโตถึง6.2% จากความต้องการใช้งานดาต้า"

กลุ่มผู้บริโภคมีการจับจ่ายด้านไอซีที มูลค่า 4.4 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเล็กน้อย แบ่งเป็นการใช้งานโทรคมนาคม 2.7 แสนล้านบาท หรือเกือบ 60% ของการจับจ่ายไอซีทีฝั่งผู้บริโภค มีการเติบโตเล็กน้อย เพราะความต้องการใช้ดาต้าเพิ่มขึ้น 18% รองรับการใช้งานวอยซ์ที่ลดลง 6% กลับกันที่การใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าไอทีของผู้บริโภคอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1.5% มีสมาร์ทโฟนเป็นตัวนำที่มูลค่ามากที่สุดคือ 1.2 แสนล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 7% จากยอดขาย 20 ล้านเครื่อง ราคาเฉลี่ย 1,000-2,000 บาท/เครื่อง ส่วนคอมพิวเตอร์และอื่น ๆ ปรับลดลง




องค์กรพร้อมลงทุนเทคโนโลยีใหม่

ปกติแล้วฝั่งผู้บริโภคจะมีมูลค่าการจับจ่ายสูงกว่าฝั่งองค์กรเสมอ แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ลดลงมาโดยตลอด ประกอบกับการมีแพลตฟอร์มใหม่ เช่น คลาวด์, การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า และระบบควบคุมการทำงานแบบโมบิลิตี้ ทำให้องค์กรเล็ก-ใหญ่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐต้องลงทุน ทำให้การใช้จ่ายไอซีทีของฝั่งองค์กรเติบโตถึง 6.1% ในปีนี้ คิดเป็นมูลค่า 2.3 แสนล้านบาท จากการลงทุนฮาร์ดแวร์มากที่สุด รองลงมาเป็นบริการไอที, ระบบสื่อสาร และซอฟต์แวร์ แต่เมื่อเทียบอัตราการเติบโต บริการไอทีจะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 11.4% ส่วนฮาร์ดแวร์มีการเติบโตเพียง 3.1%

"ทุกองค์กรมองการลงทุนไอทีเป็นเรื่องจำเป็น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน นอกจากทำงานสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยกลุ่มบริการการเงิน, โทรคมนาคม และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลงทุนมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์กับระบบเวอร์ชัวไลเซชั่น เพื่อพัฒนาสู่การใช้คลาวด์ และบิ๊กดาต้า ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาธุรกิจจะเห็นชัดเจนปี 2559 จากการขยับเข้ามาใช้งานขององค์กรระดับเอสเอ็มอี"

การใช้จ่ายไอซีทีขององค์กรมาจากองค์กรขนาดใหญ่ (พนักงานเกิน 1,000 คน) 48% รองลงมาเป็นองค์กรขนาดกลาง-เล็ก (น้อยกว่า 1,000 คน) และหน่วยงานรัฐ คาดว่าภาครัฐจะมีการลงทุนมากที่สุดในปี 2559 เพราะต้องเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานรองรับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างออกกฎระเบียบ โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นฮาร์ดแวร์ เช่น โครงการบรอดแบนด์ และดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ ขณะเดียวกันการที่ภาครัฐมีอัตราการจับจ่ายไอซีทีมากที่สุด เพราะปี 2558 โครงการต่าง ๆชะลอออกไป เช่น การทำสมาร์ทซิตี้

ดิจิทัลอีโคโนมี-4G ปัจจัยบวก

"จาริตร์ สิทธุ" นักวิเคราะห์อาวุโส ไอดีซี เสริมว่า การที่ภาครัฐประกาศประมูล 4G ชัดเจน และเร่งกฎหมายเกี่ยวกับนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมให้องค์กร รวมถึงผู้บริโภคเล็งเห็นความสำคัญของไอซีทีมากขึ้น แต่กว่าทั้งสองนโยบายนี้จะเห็นเป็นรูปธรรมต้องรอครึ่งปีหลังปี 2559 และทำให้ปี 2559 มีโอกาสที่การใช้จ่ายไอซีทีกลับมาเติบโต 4.5% มีมูลค่า 7.8 แสนล้านบาทได้ แต่หากทั้งสองเหตุการณ์นี้ไม่เกิดขึ้น มีโอกาสสูงที่การเติบโตจะกลับมาอยู่ในอัตราใกล้เคียง 3% เหมือนปีนี้

ทั้งนี้ "ไอดีซี" มองว่า การที่ภาครัฐเน้นการลงทุนฮาร์ดแวร์เป็นเรื่องถูกต้อง เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ เพราะปัจจุบันอันดับการแข่งขันเรื่องระบบไอที (NRI) ไทยอยู่อันดับที่ 67 ของโลก มีจุดอ่อนเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และปัญหาการเมือง ส่วนเรื่องคุณภาพบุคลากรอยู่ในขั้นสู้ต่างประเทศได้ แต่การละเมิดลิขสิทธิ์ยังอยู่อันดับต้น ๆ ซึ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิทัลอีโคโนมีจำเป็นต้องจริงจังเรื่องนี้ และทำให้มีโครงสร้างพื้นฐาน, ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ พร้อมกับรักษาคุณภาพบุคลากร เพื่อเดินหน้าดิจิทัลอีโคโนมีอย่างมีประสิทธิภาพ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437629426

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.