Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 ความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ผลิตและจำหน่าย เซตท็อปบ็อกซ์ "กสทช." อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้ว 2.5 ล้านฉบับ เป็นเงิน 1,640 ล้านบาท คิดเป็น 67% ของจำนวนคูปองที่ธนาคารกรุงไทย

ประเด็นหลัก





ด้านความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ผลิตและจำหน่าย เซตท็อปบ็อกซ์ "กสทช." อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้ว 2.5 ล้านฉบับ เป็นเงิน 1,640 ล้านบาท คิดเป็น 67% ของจำนวนคูปองที่ธนาคารกรุงไทย รวบรวมจากผู้ประกอบการส่งมาให้ กสทช.แล้ว 3.8 ล้านฉบับ เท่าที่ทราบมีคูปองค้างอยู่ในขั้นตอนของธนาคารกรุงไทย 1.6 ล้านฉบับ

"เราเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการแต่ยังมีความล่าช้าหลายขั้นตอน ทั้งการรวบรวมคูปองจากผู้ประกอบการส่งให้ธนาคารก่อนส่งมาที่ กสทช. เพื่ออนุมัติจ่ายเงิน"










____________________________



โค้งท้ายโปรเจ็กต์ร้อน "กสทช." ลงทะเบียนซิม-แลกคูปองดิจิทัลทีวี



ถือเป็นมหากาพย์ที่เข้าสู่โค้งสุดท้ายทั้งคู่ โดยมีเส้นตายอยู่ที่วันสุดท้ายเดือน ก.ค.นี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนซิมโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (พรีเพด) หรือการใช้สิทธิ์นำคูปองส่วนลดแลกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิทัลลอตแรก และลอตสอง รวม 8.2 ล้านฉบับ จึงไม่แปลกที่ระหว่างนี้จะโหมโปรโมตให้ประชาชนมาใช้สิทธิ์กรณีลงทะเบียนซิมไม่น่ายืดเยื้อ

"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า ยอดลงทะเบียนซิม ณ 19 ก.ค.กว่า 61 ล้านเลขหมาย หรือ 70% จากพรีเพด 90 กว่าล้าน เป็นลูกค้า "เอไอเอส" 75.4% "ดีแทค" 68.7% และ "ทรูมูฟ เอช" 65.9%

ที่ผ่านมา "กสทช." พัฒนาแอปพลิเคชั่น "2 แชะ" อำนวยความสะดวกลงทะเบียนซิม

นอกจากศูนย์บริการของโอเปอเรเตอร์ ขยายความร่วมมือไปที่เซเว่นอีเลฟเว่น, เทสโก้ โลตัส, กรมการปกครอง ทำให้มีจุดรับลงทะเบียนกว่า 50,000 จุด

"มาตรการ เกี่ยวกับซิมการ์ดที่ไม่ลงทะเบียนภายในกำหนด เบื้องต้นจะเปิดระบบให้รับสาย 1 เดือน จากนั้นจะปิด สถิติการลงทะเบียนซิมมีแนวโน้มน้อยลง กำลังประเมินว่าหมายเลขที่เหลืออาจเป็นซิมที่ไม่ได้ใช้อาจย่นเวลาในการปิดระบบเร็วขึ้น"

"ฐากร" กล่าวว่า โครงการลงทะเบียนซิมได้เตรียมงบประมาณไว้ 50 ล้านบาท เป็นการประชาสัมพันธ์ และพัฒนาแอปพลิเคชั่นไม่ได้มีแค่ "2 แชะ" แต่จะมีระบบ "Register NO" นำบัตรประชาชนมาเช็กได้ว่า โดนสวมรอยลงทะเบียนซิมไว้หรือไม่

จากรายงาน จัดซื้อจัดจ้างของ กสทช.เปิดเผยว่า ได้ทำสัญญาจ้างบริษัทก้านสมองดำเนินการโครงการพัฒนาการลงทะเบียนผู้ใช้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พรีเพด ผ่าน "เว็บเบส แอปพลิเคชั่น" ด้วยวิธีพิเศษ มูลค่า 9.99 ล้านบาท จ้างบริษัทเดอซันผลิตภาพยนตร์โฆษณา (สปอตโทรทัศน์) และสื่อวิทยุ ด้านกิจการโทรคมนาคมเพื่อส่งเสริมการลงทะเบียนซิมการ์ดเติมเงิน

ปี 2558 มูลค่า 5.99 ล้านบาท และจ้างบริษัท ทริปเปิ้ล บี ออร์กาไนเซอร์ จำกัด ดำเนินโครงการรณรงค์การลงทะเบียนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะ เรียกเก็บเงินล่วงหน้า มูลค่า 4.97 ล้านบาท สำหรับโครงการสนับสนุน การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 6 ส.ค.นี้ กสทช.เปิดยื่นซองประกวดราคา จัดจ้างโครงการจัดจ้าง

ผู้ผลิต และจัดการ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สื่อ และกิจกรรมรณรงค์เสริมสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไป สู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิทัล มูลค่า 62.49 ล้านบาท "ฐากร" อธิบายว่า เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวี ดิจิทัลก้อนแรกของ กสทช.ที่บอร์ดอนุมัติ และจะคัดเลือกผู้ชนะจากราคาที่เสนอมาเปิดซอง 7 ส.ค.นี้มีผู้นำคูปองมาใช้สิทธิ์ 7 ล้านฉบับ (19 ก.ค. 2558) จากที่แจกไป 13.57 ล้านฉบับ

และวันที่ 31 ก.ค.นี้ เป็นวันสุดท้ายของการใช้สิทธิ์คูปองที่แจกไปลอตแรก 4.6 ล้านครัวเรือน ใน 21 จังหวัด และลอต 2 อีก 3.6 ล้านครัวเรือน ในอีก 21 จังหวัดที่โครงข่ายครอบคลุมทำให้มีคูปองที่จะหมดอายุ 8.2 ล้านฉบับ รวมมาใช้สิทธิ์แล้ว 65% คาดว่าในสิ้น ก.ค.จะใช้สิทธิ์ถึง 70%

ส่วน เงินที่เหลือ 30% จากที่ไม่ใช้สิทธิ์คูปอง "กสทช." กำลังเสนอขออนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำเงินส่วนนี้มาสนับสนุนการแจกคูปองให้ประชาชนในกลุ่มที่ไม่เข้าข่ายรับแจก ก่อนหน้านี้

ด้านความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ผลิตและจำหน่าย เซตท็อปบ็อกซ์ "กสทช." อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้ว 2.5 ล้านฉบับ เป็นเงิน 1,640 ล้านบาท คิดเป็น 67% ของจำนวนคูปองที่ธนาคารกรุงไทย รวบรวมจากผู้ประกอบการส่งมาให้ กสทช.แล้ว 3.8 ล้านฉบับ เท่าที่ทราบมีคูปองค้างอยู่ในขั้นตอนของธนาคารกรุงไทย 1.6 ล้านฉบับ

"เราเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการแต่ยังมีความล่าช้าหลายขั้นตอน ทั้งการรวบรวมคูปองจากผู้ประกอบการส่งให้ธนาคารก่อนส่งมาที่ กสทช. เพื่ออนุมัติจ่ายเงิน"

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช.ที่เปิดเผยผ่านเว็บไซต์พบว่าโครงการที่เกี่ยวกับทีวีดิจิทัล มีการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างการวางระบบคูปอง 137 ล้านบาท อาทิ จ้างบริษัท จันวาณิยช์ ซีเคียวริตี้พริ้นติ้งจำกัด และบริษัท ที.เค.เอส สยามเพรส แมเนจเม้นท์ จำกัด พิมพ์คูปอง 14.1 ล้านฉบับ รวม 27.49 ล้านบาท, จ้างบริษัท ไทฆีส์ จำกัด บริหารการแจกเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มูลค่า 50 ล้านบาท, จ้างบริษัท พีแอลเอ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ดำเนินการโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล มูลค่า 9.04 ล้านบาท เป็นต้น

และจัดซื้อจัด จ้างที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ไป 32.54 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการ มูลค่า 62.49 ล้านบาท ที่กำลังประกาศเชิญชวน) อาทิ จ้างบริษัท สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. จำกัด ดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์การรับรู้ดิจิทัลทีวีผ่านสื่อบนสถานีและขบวนรถไฟ ฟ้า BTS มูลค่า 5 ล้านบาท จ้างทำสกู๊ปเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคูปอง และทีวีดิจิทัลผ่านรายการโทรทัศน์หลายรายการ มูลค่าตั้งแต่ 1 แสน-2.9 ล้านบาท เป็นต้น

เรียกว่าใช้เงินไปแล้ว และจะใช้อีกไม่ใช่น้อย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437967247

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.