Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 ณัฐพล รังสิตพล ระบุ ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง 17.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง 18.84%

ประเด็นหลัก







   ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง 17.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง 18.84% และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง 11.4 % อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การบริโภคภายในประเทศมีปริมาณ 1.29 ล้านตัน ลดลง 5.15% การผลิตมีประมาณ 0.48 ล้านตัน ลดลง 14.29% มีมูลค่าการส่งออก 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.89% โดยมีการนำเข้าเหล็กลดลง 16.7% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่ โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้าง การผลิตลดลงทุกตัว ที่เห็นได้จากยอดการอนุมัติปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง








____________________________



ภาคผลิตครึ่งปีแรกโงหัวไม่ขึ้น



ภาคผลิตครึ่งปีแรกโงหัวไม่ขึ้น
สศอ.เผยเอ็มพีไอติดลบ 3.67% มองทั้งปียังมีโอกาสฟื้น


    ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังโงหัวไม่ขึ้น 6 เดือนแรกติดลบ 3.67% ขณะที่เดือนมิถุนายนตัวเลขเอ็มพีไอติดลบถึง 8% จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและในประเทศยังชะลอตัว การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 3% แต่สศอ.ยังมั่นใจทั้งปีเอ็มพีไอและจีดีพีอุตสาหกรรม จะยังเป็นบวก เหตุมีปัจจัยหนุน ขณะที่ TIER 3 ไม่มีผลต่อการส่งออกไปสหรัฐลดลง
    นายณัฐพล รังสิตพล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือเอ็มพีไอว่า จากภาวะเศรษฐกิจของโลกและภายในประเทศที่ยังชะลอตัวอยู่ ได้ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ปรับตัวลดลง 3.67% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ไอซี ปรับตัวลดลง เนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์อยู่ช่วงเปลี่ยนรุ่นการผลิต เป็นรถประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษ  อีกทั้ง อุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศได้รับผลกระทบจากการยังไม่ฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
    โดยมองว่าเอ็มพีไอในเดือนกรกฎาคมนี้ จะยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องหรือทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนมิถุนายนที่ติดลบ 2.2% และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนติดลบ 8 % เป็นผลมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญการผลิตปรับตัวลดลง ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ โทรทัศน์ รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเบียร์ เป็นต้น ซึ่งเห็นได้จากในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีการนำเข้าสินค้าทุนติดลบ 1% เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อน และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบติดลบ 1.9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวลดลง 3%
    อย่างไรก็ตาม ทางสศอ.ยังประเมินว่าเอ็มพีไอในช่วงครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้น และทั้งปีตัวเลขเอ็มอีไอน่าจะยังเป็นบวก แต่อาจจะปรับตัวลดลงจากที่ประเมินไว้ในช่วงต้นปีที่ประมาณ 3-4% ขณะที่ตัวเลขจีดีพีอุตสาหกรรม ยังไม่มีการปรับตัวลดลงจากที่ประมาณการณ์ไว้ที่ 2-3%
    ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีปัจจัยบวกที่จะสามารถขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็น สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศยังเติบโตดีอยู่ ที่จะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนรายจ่ายในประเทศเพิ่มมากขึ้น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เริ่มดีขึ้น ความชัดเจนในโครงการก่อสร้างพื้นฐานทั้งการลงทุนของภาครัฐและเอกชน รวมถึงค่าเงินบาทที่ยังอ่อนอยู่จะส่งผลให้มีการเร่งส่งออกมากขึ้น
    นายณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่สหรัฐอเมริกายังคงจัดประเทศไทยอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (TIER 3) ตามรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2558 นั้น คงไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกาลงกว่าเดิม  เพราะที่ผ่านมาการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาก็ยังเติบโตอยู่ในระดับ 8% ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณี  เครื่องประดับ เป็นต้น และคาดว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น เนื่องจากกระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการแก้ไขพ.ร.บ.ประมงอยู่ ซึ่งจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปีหน้า
    ส่วนเอ็มพีไอในเดือนมิถุนายนที่ปรับตัวลดลง หากแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตรถยนต์มีจำนวน 1.51 แสนคัน ปรับตัวลดลง 5.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจำหน่ายภายในประเทศ 6.03 หมื่นคัน ปรับตัวลดลง 18.26% และส่งออกมีจำนวน 7.67 หมื่นคัน ปรับตัวลดลง 26.14%
    ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง 17.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลง 18.84% และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง 11.4 % อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การบริโภคภายในประเทศมีปริมาณ 1.29 ล้านตัน ลดลง 5.15% การผลิตมีประมาณ 0.48 ล้านตัน ลดลง 14.29% มีมูลค่าการส่งออก 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 8.89% โดยมีการนำเข้าเหล็กลดลง 16.7% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่ โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวที่ใช้ในการก่อสร้าง การผลิตลดลงทุกตัว ที่เห็นได้จากยอดการอนุมัติปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง
    สำหรับอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดีขึ้น จะเป็นสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยการผลิตเส้นใยสิ่งทอ เพิ่มขึ้น 3.22% เป็นการใช้เพื่อบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการผลิตผ้าผืนปรับตัวลดลง 4.87% ส่วนหนึ่งมาจากการปิดกิจการของโรงงานทอผ้าในประเทศ ประกอบกับผู้ใช้ในประเทศบางส่วนนำเข้าผ้าจากต่างประเทศ ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตเพิ่มขึ้น 1.2%รวมทั้งการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6%


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=287743:2015-07-29-03-57-09&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418#.Vbwr1mBAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.