Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 ICT.พรชัย ระบุ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยมีการแก้ไขในครั้งที่ 6 และ 7 อาจจะทำให้ทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเสียผลประโยชน์ราว 77,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า หลังจากที่ได้ร่วมประชุมผู้บริหารกระทรวง และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้สั่งการให้ทีโอทีส่งรายงานผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขส่วนแนบท้ายในสัญญา สัมปทานที่ทีโอทีทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส มายังกระทรวงไอซีทีภายในเดือน ส.ค.58 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยมีการแก้ไขในครั้งที่ 6 และ 7 อาจจะทำให้ทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเสียผลประโยชน์ราว 77,000 ล้านบาท

ทั้ง นี้ ทีโอทีจะต้องสรุปที่มาของการแก้สัญญาครั้งที่ 6 และ 7 มาให้ไอซีที และให้ทำหนังสือสรุปมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อเปรียบเทียบกับส่วนที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดมาก่อนหน้านี้ ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.58 นี้ และส่งให้ไอซีที จากนั้นจะต้องส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป






___________________________________________




ไอซีทีไล่บี้ทีโอทีเสียค่าโง่ กสทช.เปิดร่างประมูล4จีคลื่น900




สั่งทีโอทีแจงผลกระทบแก้ไขสัญญาสัมปทานกับเอไอเอสหลังทำรัฐเสียหาย 7 หมื่นล้านบาท พร้อมสั่งการให้ปลัดไอซีทีหาข้อยุติสิทธิ์คลื่น 1800 MHz ระหว่าง กสทฯ-กสทช.ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ กสทช.เคาะร่างประกาศประมูล 4จี คลื่น 900 จำนวน 2 ไลเซนส์ ประกาศลงเว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
พรชัย รุจิประภา

นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า หลังจากที่ได้ร่วมประชุมผู้บริหารกระทรวง และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้สั่งการให้ทีโอทีส่งรายงานผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขส่วนแนบท้ายในสัญญาสัมปทานที่ทีโอทีทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส มายังกระทรวงไอซีทีภายในเดือน ส.ค.58 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยมีการแก้ไขในครั้งที่ 6 และ 7 อาจจะทำให้ทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเสียผลประโยชน์ราว 77,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ทีโอทีจะต้องสรุปที่มาของการแก้สัญญาครั้งที่ 6 และ 7 มาให้ไอซีที และให้ทำหนังสือสรุปมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อเปรียบเทียบกับส่วนที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดมาก่อนหน้านี้ ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.58 นี้ และส่งให้ไอซีที จากนั้นจะต้องส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

โดยการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอทีกับเอไอเอสมีการเจรจาแก้ไขสัญญาแนบท้ายเพิ่มเติมทั้งสิ้น 7 ครั้ง ซึ่งสิ่งที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดคือในครั้งที่ 6 ที่มีการแก้ไขสัญญาปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบบัตรเติมเงิน (พรีเพด) ให้เหลือ 20% ตลอดอายุสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดลงใน 30 ก.ย.นี้ จากเดิมที่คิดส่วนแบ่งรายได้ต้องจ่ายในอัตราขั้นบันไดสูงสุดที่ 35% และครั้งที่ 7 คือ การให้เอไอเอสนำโครงข่ายไปให้ผู้บริการรายอื่นร่วมใช้เครือข่าย (โรมมิ่ง) ได้ และให้เอไอเอสนำค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาหักออกจากรายได้ที่นำส่งตามจริง ซึ่งในครั้งนั้นเอไอเอสได้นำโครงข่ายของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) มาใช้

ส่วนความคืบหน้าในการหาข้อยุติเรื่องคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นั้น ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงไอซีที นางทรงพร โกมลสุรเดช ไปศึกษาความเป็นไปได้ว่ากระทรวงเองสามารถทำหนังสือสอบถามความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เนื่องจาก กสทฯ ยืนยันว่าเหตุผลที่ต้องหมดอายุในปี 2568 นั้น เป็นการตีความตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานรคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมกรรมการ กสทช. เมื่อวันที่ 22 ก.ค.58 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมและร่างประกาศ แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่านความถี่ 895-915/940-960 เมกะเฮิรตซ์ หรือคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะใช้ประมูล 4จี เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดย กสทช.จะประกาศลงเว็บไซต์สำนักงานในวันที่ 23 ก.ค.58 นี้

ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่จำนวน 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิรตซ์ โดยกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาทต่อใบอนุญาต ซึ่งเป็นราคาที่คำนวณจาก 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่.

http://www.thaipost.net/?q=ไอซีทีไล่บี้ทีโอทีเสียค่าโง่-กสทชเปิดร่างประมูล4จีคลื่น900

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.