Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 ICT ระบุ การดำเนินการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้ง ในการรวมรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเป็นนิติบุคคลในส่วนของ 2 หน่วยงาน ทั้งทีโอที และ กสท นั้นกระทรวงไอซีทีเองก็ยังคงทำหน้าที่ดูแลด้านนโยบายเหมือนเดิม

ประเด็นหลัก




     
       สำหรับเรื่องการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้ง ในการรวมรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเป็นนิติบุคคลในส่วนของ 2 หน่วยงาน ทั้งทีโอที และ กสท นั้นกระทรวงไอซีทีเองก็ยังคงทำหน้าที่ดูแลด้านนโยบายเหมือนเดิม ซึ่งแนวคิดการจัดตั้งดังกล่าวมาจากความต้องการแก้ปัญหาเรื่องการบริหาร จัดการรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหามาอย่างยาวนานไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของนักการ เมืองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลแทน แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาล แต่ต้องไม่ใช่ส่วนราชการ โดยให้กระทรวงการคลัง ถือหุ้น 100% ทำให้รูปแบบการบริหารการเงินโปร่งใส และตรวจสอบได้





___________________________________________



ไอซีทีสั่งทีโอทีแจงผลกระทบแก้สัญญาเอไอเอส หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลทำรัฐเสียหาย 7.7 หมื่นล้าน


        ไอซีที สั่งทีโอทีทำเอกสารแจงผลกระทบการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส หลัง ป.ป.ช.ส่งหนังสือชี้มูลความผิดทำรัฐเสียหาย 77,000 ล้านบาท ในการแก้สัญญาครั้งที่ 6 และ 7 ย้ำต้องส่งภายในเดือน ส.ค.ก่อนนำเสนอ ครม.ต่อไป ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้ปลัดไอซีทีศึกษาแนวทางให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความสิทธิในการใช้ความถี่ 1800 MHz
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า หลังจากที่ได้ร่วมประชุมกับผู้บริหารกระทรวงไอซีที และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้สั่งการให้ ทีโอที ส่งรายงานผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขส่วนแนบท้ายในสัญญาสัมปทานที่ทีโอทีทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส มายังกระทรวงไอซีทีภายในเดือน ส.ค.58 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว โดยมีการแก้ไขในครั้งที่ 6 และ7 อาจจะทำทีโอทีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเสียผลประโยชน์ราว 77,000 ล้านบาท
     
       “ทีโอที จะต้องสรุปที่มาที่ไปของการแก้สัญญาครั้งที่ 6 และ 7 มายังไอซีที และให้ทำหนังสือสรุปมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อมาเปรียบเทียบกับส่วนที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทีโอทีเองต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน คือ ภายในเดือน ส.ค.นี้ และส่งให้ไอซีที จากนั้นจะต้องส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป”
     
       พร้อมกันนี้ เรื่องดังกล่าวยังต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือทีโอที และเอไอเอส ตามมาตรา 43 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ด้วย ซึ่งต้องเร่งสรุปแนวทางการกำกับดูแลสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยยึดแนวทางการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากสัญญาสัมปทานมือถือเอไอเอสจะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้
     
       ทั้งนี้ การแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอที กับเอไอเอสมีการเจรจาแก้ไขสัญญาแนบท้าย เพิ่มเติมทั้งสิ้น 7 ครั้ง ซึ่งสิ่งที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดคือ ในครั้งที่ 6 ที่มีการแก้ไขสัญญาปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบบัตรเติมเงิน (พรีเพด) ให้เหลือ 20% ตลอดอายุสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดลงใน 30 ก.ย.นี้ ากเดิมที่คิดส่วนแบ่งรายได้ต้องจ่ายในอัตราขั้นบันไดสูงสุดที่ 35% และครั้งที่ 7 คือ การให้เอไอเอสนำโครงข่ายไปให้ผู้ให้บริการรายอื่นร่วมใช้เครือข่าย (โรมมิ่ง) ได้ และให้เอไอเอสนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักออกจากรายได้ที่นำส่งตามจริง ซึ่งในครั้งนั้นเอไอเอสได้นำโครงข่ายของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) มาใช้
     
       นายพรชัย กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าในการหาข้อยุติเรื่องคลื่น 1800 MHz ของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการให้กระทรวงไอซีที หาความชัดเจนเกี่ยวกับคลื่นที่เหลืออีก 20 MHz ที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ไม่ได้ใช้งานว่าควรเป็นสิทธิของ กสท ตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งจะหมดอายุปี 68 แทนที่จะหมดอายุในปี 61 ตามสัญญาสัมปทานที่ทำกับดีแทคหรือไม่นั้น ได้สั่งการให้ นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที ไปศึกษาความเป็นไปได้ว่ากระทรวงไอซีทีสามารถทำหนังสือสอบถามความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เนื่องจาก กสท ยืนยันว่าเหตุผลที่ต้องหมดอายุในปี 68 นั้นเป็นการตีความตามรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น
     
       สำหรับเรื่องการดำเนินการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้ง ในการรวมรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเป็นนิติบุคคลในส่วนของ 2 หน่วยงาน ทั้งทีโอที และ กสท นั้นกระทรวงไอซีทีเองก็ยังคงทำหน้าที่ดูแลด้านนโยบายเหมือนเดิม ซึ่งแนวคิดการจัดตั้งดังกล่าวมาจากความต้องการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหามาอย่างยาวนานไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของนักการเมืองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลแทน แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาล แต่ต้องไม่ใช่ส่วนราชการ โดยให้กระทรวงการคลัง ถือหุ้น 100% ทำให้รูปแบบการบริหารการเงินโปร่งใส และตรวจสอบได้


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000083018&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+23-7-58&utm_campaign=20150722_m126674098_Manager+Morning+Brief+23-7-58&utm_term=_E0_B9_84_E0_B8_AD_E0_B8_8B_E0_B8_B5_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B8_AA_E0_B8_B1_E0_B9_88_E0_B8_87_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_81_E0_B8_88_E0_B8_87_E0_B8_9C_E0_B8_A5_E0_B8_81_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_97_E0_B8_9A_E0_B9_81_E0_B8_81_E0

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.