Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้จัดทำทั้ง 21 โครงการดังกล่าว โดยแบ่งตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ทั้ง 5 ด้าน

ประเด็นหลัก



       ทั้งนี้ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้จัดทำทั้ง 21 โครงการดังกล่าว โดยแบ่งตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ทั้ง 5 ด้าน คือ 1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1.แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ คือ การพัฒนาและบริหารจัดการโครงข่ายหลักเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของประเทศ และการจัดตั้งศูนย์รวมนวัตกรรมและศูนย์ข้อมูล 2.การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ (National Single Internet Gateway) 3.การพัฒนาดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ และ 4.การพัฒนาระบบการสื่อสารในภาวะปกติและภาวะวิกฤต





___________________________________________




“พรชัย” เปิด 21 โครงการ กระทรวงดีอี


        “พรชัย” เปิดภารกิจ 21 โครงการ ภายใต้กระทรวงดีอี เผยเป็นโครงการล้อตาม 5 ยุทธศาสตร์ นโยบาย Digital Economy ลั่นเริ่มเดินหน้าภายในปลายปีนี้ถึงปี 63
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้จำแนกโครงการต่างๆ ที่กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่คาดว่าจะสามารถตั้งกระทรวงได้ประมาณเดือน ก.ย.เรียบร้อยแล้ว มีจำนวน 21 โครงการ ซึ่งสอดรับกับแผนแม่บทดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 59-63
     
       “ในจำนวนโครงการทั้งหมด บางโครงการก็เริ่มดำเนินการในขั้นระดมสมองกันแล้ว เช่น โครงการเกี่ยวกับด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างการนำสายโทรคมนาคมลงดิน โครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ โครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะลงมือทำได้ภายในสิ้นปีนี้ต่อเนื่องไป และไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็ต้องดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวต่อเนื่องจนเสร็จ เพราะได้ถูกกำหนดลงในแผนแม่บทดีอีระหว่างปี 59-63 แล้ว”
     
       ทั้งนี้ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้จัดทำทั้ง 21 โครงการดังกล่าว โดยแบ่งตามยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ทั้ง 5 ด้าน คือ 1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1.แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล ประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการ คือ การพัฒนาและบริหารจัดการโครงข่ายหลักเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศ และการจัดตั้งศูนย์รวมนวัตกรรมและศูนย์ข้อมูล 2.การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ (National Single Internet Gateway) 3.การพัฒนาดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ และ 4.การพัฒนาระบบการสื่อสารในภาวะปกติและภาวะวิกฤต
     
       2.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.การพัฒนาศักยภาพการป้องกัน ปราบปรามการกระทำความผิดทางอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Crime) และสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (Cyber Security) โดยการจัดตั้งหน่วยงานด้านบริหารจัดการป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 3.การสนับสนุนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างมั่นคงปลอดภัย 4.การพัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 5.การส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     
       3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อเป็นบริการกลางให้แก่หน่วยงานภาครัฐ โดยการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2.ศูนย์กลางบริการภาครัฐ 3.การเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิตอล 4.การพัฒนาระบบความปลอดภัยสาธารณะ 5.การจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางของประเทศ 6.การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ 7.การพัฒนากิจการไปรษณีย์ และ 8.การพัฒนาประสิทธิภาพการอุตุนิยมวิทยาและการเตือนภัย เพื่อสนับสนุนการบริการภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
     
       4.ในส่วนของการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลมี จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1.การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอล 2.การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และ 3.การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลและนวัตกรรม และสุดท้าย คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดิจิตอล จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลชุมชน



http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000084599

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.