Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 สรทัศน์ ศฤงคารบริบูรณ์ ระบุ แบรนด์จีนไม่ใช่แบรนด์คุณภาพต่ำ แต่เป็นแบรนด์ที่เสนอราคาได้ดีที่สุดให้ผู้บริโภค ขณะที่หัวเว่ยในแง่ยอดขายในจีน และ ทั่วโลก เราชนะเซี่ยวมี่

ประเด็นหลัก








ผมเคยอยู่แบรนด์อื่นมาก่อน เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เวลาพูดถึงแบรนด์จีน จะมีฟีดแบ็กในแง่ลบ ทำให้แต่ก่อนมีบางแบรนด์ที่เป็นแบรนด์จีนแต่แสดงออกมาว่าไม่ใช่ เป็นเกาหลีบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง ถ้าเป็นเมื่อ 4 ปีที่แล้วถือว่า ทำถูกแล้ว เพราะแบรนด์จีนในมุมมองผู้บริโภคไทยยังไม่ดี แต่ใน 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือ จีนมีบทบาทในตลาดโลกมากขึ้น ทุกธุรกิจมีผู้เล่นสำคัญ ๆ ที่ทำการตลาดข้ามน้ำทะเลได้ดี เช่น เซี่ยวมี่ ทำให้มุมมองตลาดเปลี่ยน

เซี่ยวมี่ไม่ใช่แบรนด์คุณภาพต่ำ แต่เป็นแบรนด์ที่เสนอราคาได้ดีที่สุดให้ผู้บริโภค ขณะที่หัวเว่ยในแง่ยอดขายในจีน และ
ทั่วโลก เราชนะเซี่ยวมี่ พูดชื่อหัวเว่ยไม่ต้องคิดเลยว่ามาจากประเทศอะไร มีจุดยืนชัดเจน เมื่อพูดถึงแบรนด์จีน ต้องนึกถึง “หัวเว่ย” อันดับแรก ภาพลักษณ์ก็ดีขึ้นในสายตาผู้บริโภค พูดถึงแบรนด์จีนจะนึกถึงราคาที่ดี ในแง่คุณภาพต่อราคา คุ้ม เราถึงไม่ต้องพยายามสื่อสารเรื่องความคุ้ม ทุกคนรู้อยู่แล้ว ด้านเทคโนโลยียังไม่มีใครพูด ต้องปูทางกันต่อไป





____________________________________





‘หัวเว่ย’ จังหวะก้าวที่ท้าทาย ถึงเวลา ‘สมาร์ทโฟน’ แบรนด์จีน


ก้าวขึ้นสู่ท็อปร้อยแบรนด์ของโลกติดต่อกันมาหลายปี ล่าสุด มังกรจีน “หัวเว่ย” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 100 แบรนด์ยอดเยี่ยมของโลกประจำปี 2015 ของ Brandz (บริษัทวิจัยชั้นนำของโลกในเครือ WPP) ด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในการประเมินผลอิทธิพลของแบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือที่สุด จากคุณค่าของแบรนด์ตามความเห็นของลูกค้าในปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงข้อมูลด้านการเงิน

ในตลาดสมาร์ทโฟน “หัวเว่ย” ก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 3 ของโลก สำหรับในเมืองไทย ชัดเจนว่าได้เพิ่มดีกรีการบุกตลาดอย่างจริงจัง “ประชาชาติธุรกิจ” มีโอกาสคุยกับ  “สรทัศน์ ศฤงคารบริบูรณ์” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัท หัวเว่ย ดีไวซ์ ประจำประเทศไทย ดังนี้


โจทย์ที่ได้รับมาเป็นอย่างไรบ้าง

ในแง่เป้ายอดขาย คือ 6 แสนเครื่อง เพิ่มจากปีที่แล้ว 3 เท่า มาร์เก็ตแชร์ประมาณ 5% ปีที่แล้วไม่มีความชัดเจนเรื่องการทำตลาด แม้จะมีรุ่นแฟล็กชิป พี7 และเริ่มมีกิจกรรมทางการตลาด แต่แค่เปิดตัวโปรดักต์ไม่ได้ลงทุนเยอะ เพื่อให้เกิดการรับรู้ว่าเราอยู่ในโพซิิชันนิ่งไหน จริง ๆ โปรดักต์เราดีมาก ทั้งหัวเว่ย พี7 และหัวเว่ย เมท 7 เป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ โดยเฉพาะเมท 7 ที่จีนถึงกับของขาด และมีปรากฎการณ์คนจีน บินมาไทยเพื่อมาซื้อเมท 7
ไทยเป็นงานหนักที่ต้องสื่อสารให้กับ ผู้บริโภคให้เข้าใจว่าเราวางตัวอย่างไร แต่ก่อนยังไม่ชัดเจนทั้งกลุ่มเป้าหมาย และ
ทีมงานด้วย ผมเข้ามาก็ต้องมาสร้างทีมใหม่

ปัญหาที่ผ่านมา

หัวเว่ยค่อนข้างแข็งแกร่งในธุรกิจเทเลคอม เป็นเบอร์หนึ่งมีทีมงานพันกว่า โฟกัสในธุรกิจเน็ตเวิร์ก ทีมงานหรือแบ็กออฟฟิศที่มีก็โฟกัสตรงนั้น ฉะนั้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีธุรกิจดีไวซ์ เริ่มจากรับจ้างผลิตให้เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ กว่าจะเปลี่ยนมาเป็นบีทูซีจึงยากลำบาก เป็นข้อจำกัดในอดีต แต่ตั้งแต่ปีที่แล้ว มายเซตเรื่องของการบริหารงานเปลี่ยน ไม่ได้ยึดติดเรื่องยอดขายอย่างเดียว แต่มุ่งสร้างความรับรู้ของแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ด้วย  ปีที่แล้ว แบรนด์หัวเว่ย ร้อยคนมี คนรู้จักเราแค่ 35 คน หรือ 35% ปีนี้  ตั้งเป้าเป็น 75%

ปรับแผนการตลาดใหม่

เราเจาะทุกเซ็กเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นโลว์เทียร์ ไฮเทียร์ มิดเทียร์ ราคา 2,990-19,900 บาท กินทุกกลุ่มราคา แต่ไม่แตะกลุ่มที่ต่ำกว่า 3,000 บาท และมากกว่า 20,000 บาท เหตุผลคือ ระดับล่างมีข้อจำกัดเรื่องสเป็ก และเรามองเรื่องประสบการณ์ในการใช้งานด้วย จะไม่ปล่อยสินค้าถูกเกินไป แล้วคุณภาพใช้ไม่ได้ ทุกวันนี้สมาร์ทโฟนเป็นสินค้าที่คนบ่นเยอะมากถ้าซื้อไปแล้วใช้ไม่ได้

แต่ก่อน 1,900 บาทเราก็มี แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแล้ว สเป็กต่ำไป สเป็กต่ำสุดอย่างน้อยต้องเป็นดูอัลคอร์ หน้าจอ 4.5 นิ้วขึ้น ส่วนไฮเทียร์ ก็ไม่ให้เกิน 20,000 บาท เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถอยู่ในราคาที่เอื้อมถึงได้ เช่น หัวเว่ย ออเนอร์ 6พลัส เป็นกล้องดูอัลที่ยังไม่มีใครทำได้ 15,990 บาท เป็นราคาที่รับได้ จะขาย 20,000 บาทก็ได้ แต่ไดเร็กชั่นเราชัดเจนว่า เป็นแบรนด์ที่มีข้อเสนอดีที่สุด กลุ่มมิดเทียร์ ถือเป็นความยาก เพราะตลาดไม่ชัดเจน เราจะนำด้วย 4G เพราะว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 4G จึงเสนอเครื่อง 4G แบบ 2 ซิมได้ในราคาที่ว้าวเลย


สรทัศน์ ศฤงคารบริบูรณ์



การแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ

ตลาดล่างแข่งขันรุนแรง เราเป็นเบอร์สองของโลกในฐานะผู้ผลิตแอนดรอยด์ สมาร์ทโฟน (Q1 ไอดีซีระบุว่า มาร์เก็ตแชร์ในเชิงยูนิตที่ 7%) ส่วนเบอร์หนึ่ง มี 25% ซึ่งยังห่างกันเยอะ แต่หัวเว่ยโตมาตลอดติดกันมา 3 ปี จนถึง 7% ขณะที่เบอร์หนึ่งมีแชร์ 25% มานานแล้ว ไม่ได้ปรับขึ้นในการแข่งขัน

อย่างแรกเลยคือ 1.คุณภาพของสินค้าและบริการ เช่น การอัพเกรดซอฟต์แวร์ คุณภาพเสถียร ประกอบการดีติดอันดับโลก 2.ราคา เราเพิ่งเปิดตัว พี8 เป็นแฟล็กชิปสมาร์ทโฟนที่เปรียบเทียบ กับแฟล็กชิปของเบอร์หนึ่งแล้ว ราคาถูกกว่า 57% นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำ เป็นการท้าทายในสเป็กที่เท่ากันแข่งขันกัน พี 8 เปิดที่จีนเป็นภาพที่น่าตื่นเต้นมาก แต่ก่อนแบรนด์เบอร์ 1 เป็นเบอร์ 1 ที่จีนด้วย มาวันหนึ่งที่เราออกสินค้าดีพอ คนจีนก็พร้อมเปลี่ยนมาใช้แบรนด์จีนด้วยกันเอง

ข้อดีข้อด้อยของแบรนด์จีน

ผมเคยอยู่แบรนด์อื่นมาก่อน เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เวลาพูดถึงแบรนด์จีน จะมีฟีดแบ็กในแง่ลบ ทำให้แต่ก่อนมีบางแบรนด์ที่เป็นแบรนด์จีนแต่แสดงออกมาว่าไม่ใช่ เป็นเกาหลีบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง ถ้าเป็นเมื่อ 4 ปีที่แล้วถือว่า ทำถูกแล้ว เพราะแบรนด์จีนในมุมมองผู้บริโภคไทยยังไม่ดี แต่ใน 2 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือ จีนมีบทบาทในตลาดโลกมากขึ้น ทุกธุรกิจมีผู้เล่นสำคัญ ๆ ที่ทำการตลาดข้ามน้ำทะเลได้ดี เช่น เซี่ยวมี่ ทำให้มุมมองตลาดเปลี่ยน

เซี่ยวมี่ไม่ใช่แบรนด์คุณภาพต่ำ แต่เป็นแบรนด์ที่เสนอราคาได้ดีที่สุดให้ผู้บริโภค ขณะที่หัวเว่ยในแง่ยอดขายในจีน และ
ทั่วโลก เราชนะเซี่ยวมี่ พูดชื่อหัวเว่ยไม่ต้องคิดเลยว่ามาจากประเทศอะไร มีจุดยืนชัดเจน เมื่อพูดถึงแบรนด์จีน ต้องนึกถึง “หัวเว่ย” อันดับแรก ภาพลักษณ์ก็ดีขึ้นในสายตาผู้บริโภค พูดถึงแบรนด์จีนจะนึกถึงราคาที่ดี ในแง่คุณภาพต่อราคา คุ้ม เราถึงไม่ต้องพยายามสื่อสารเรื่องความคุ้ม ทุกคนรู้อยู่แล้ว ด้านเทคโนโลยียังไม่มีใครพูด ต้องปูทางกันต่อไป

กลุ่มเป้าหมายและจำนวนรุ่น

ปีนี้ 20 รุ่น รวมแท็บเลตด้วย จะมีการนำสินค้าภายใต้แบรนด์ Honor มาขายแบรนด์นี้เกิดจากปัญหาในจีนที่อีคอมเมิร์ซบูมมาก มีการขายสมาร์ทโฟนผ่านอีคอมเมิร์ซ แบรนด์ที่เริ่มก่อน คือ เซียวมี่ เขาใช้การตลาดแบบฮังเกอร์ (Hunger) คือหมดภายใน 5 นาที ภายใน 1 นาที จีนคนเยอะ เขาไม่สามารถซื้อผ่านหน้าร้านได้ ก็ซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซ หัวเว่ยมองเห็น

ช่องว่างตรงนี้จึงสร้างบียูขึ้นมาเพื่อทำด้านอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะใช้แบรนด์ Honor พัฒนาสินค้าตามความต้องการของคนที่อยู่ในโลกออนไลน์ มีฟีดแบ็กอะไรจะพยายามทำ มีการสร้างคอมมูนิตี้ และทำราคาได้ถูกมาก เพราะไม่ขายออฟไลน์ อันนี้คือในจีน ส่วนในตลาดโลกต้องดูว่าประเทศไหนอีคอมเมิร์ซแข็งแรง ประเทศไทยอีคอมเมิร์ซไม่แข็งแรงขนาดนั้น จึงเปิดตัว Honor ในนามหัวเว่ย  สำหรับวัยรุ่น และกลุ่มที่ชอบใช้สิ่งใหม่ๆ
   
ลูกค้าหัวเว่ยเป็นกลุ่มไหน

70:30 ระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด พอร์ตในต่างจังหวัดยังไม่ค่อยดี บางภาคที่เรายังอ่อนแอก็จะต้องไปเสริม ภาคเหนือและภาคใต้ เราค่อนข้างแข็งแรง ภาคที่ยังไม่ดีต้องไปเสริมให้แรงมากขึ้น สินค้าราคาต่ำกว่า 8,000 บาท ของเรามีสัดส่วน 60% อีก 40% มากกว่า 8,000 บาท กลุ่มต่ำกว่า 8,000 บาท ใช้การสื่อสารแนวกว้าง มีพรีเซ็นเตอร์บอกให้รู้ว่าของเราก็ดี และดีแง่ไหน อีกกลุ่มใช้ลักษณะการอิงตลาดโลกในการสื่อสาร ราคาเฉลี่ยสมาร์ทโฟนหัวเว่ย คือ 7,000 บาท แต่ผมจะพยายามทำให้ลงมาใกล้เคียง 3,000 บาทมากที่สุด อย่างน้อยก็ควรสัก 5,000-6,000 บาท  นอกจากสมาร์ทโฟนแล้วยังมี wearable
และแท็บเลตด้วย


การขยายช่องทางการขาย

มีแผนที่จะขยายให้เข้าถึงตลาดมากขึ้น เพราะในแง่จำนวนคนใช้งานสินค้าของเรายังน้อยมาก ถ้าเทียบกับเบอร์ 1 น้อยกว่าครึ่ง ถือว่ายังอีกไกล ต้องใช้เวลาอีก 2 ปีไม่ใช่เรื่องการจะมาฆ่าเบอร์ 1 ตอนนี้ แต่เป็นอนาคตที่ตั้งไว้ว่าจะเป็นเบอร์ 1 ปีนี้ถ้ามาร์เก็ตแชร์ไปถึง 5% ก็เป็นประมาณเบอร์ 4 ถ้าสำเร็จ ปีหน้าต้องมองไปที่เบอร์ 3 ปีถัดไปเบอร์ 2 เป็นสเต็ป ๆ ไป อย่างที่บอกไปว่า ช่องทาง ค้าปลีกเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องลงทุน ช่องทางออนไลน์ก็ด้วย ศูนย์บริการก็เช่นกันเยอะ ปีที่แล้วมีเอสวีโอเอดูแล ปีนี้เพิ่มซินเน็กซ์อีกเจ้า รวมถึงการเปิดแฟล็กชิปสโตร์
   
ความท้าทายในปีนี้

มองปัจจัยลบเรื่องเศรษฐกิจว่า เป็นโอกาส สังเกตว่าเรามีทีมงานเล็ก ต้นทุนเราน้อย เราสามารถเสนอในสิ่งที่คู่แข่งเบอร์ใหญ่ทำไม่ได้ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีคนจะมองหาแบรนด์ที่มีข้อเสนอดีกว่า มากกว่าแบรนด์ที่เชิดหน้าชูตาเหมือนเมื่อก่อน จำนวนคนที่ซื้อสมาร์ทโฟนราคามากกว่า 20,000 บาท น้อยลงมาก ไม่นับไอโฟน 6ที่สร้างแรงซื้อขึ้นมาได้ช่วงหนึ่ง ในแง่ราคาเราพยายามทำให้ดีที่สุดในระดับสเป็กเท่านี้ แม้การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น ก็ลดมากกว่านี้ ไม่ได้แล้ว แบรนด์หัวเว่ยยังไม่มีความหมายสำหรับคนไทย จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างใหม่ให้รับรู้ว่าคืออะไร

วันนี้เราสร้างให้เป็น Make it Possible ความตั้งใจของคนรุ่นใหม่ ความรัก และความเข้าใจในครอบครัว เป็นสิ่งที่เราจะสร้างให้เป็นภาพลักษณ์ของหัวเว่ย  มีเรื่องเทคโนโลยีลีดเดอร์สำหรับกลุ่มพรีเมี่ยม ในแง่การรับรู้ เป้าหมายเราสูง การลงทุนก็สูงตาม แน่นอนว่า สื่อที่ใช้จึงชัดเจนว่ายังเป็นทีวี แต่ไม่ทิ้งออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง เพราะเข้าถึงคนได้มาก และกว้าง ปีนี้ทั้งปีมีงบฯการตลาด 400 ล้านบาท ใช้ไปเกือบ 200 ล้านบาท

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436780763

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.