Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ กสทช. พิกถอนใบอนุญาตพีซทีวี (PEACE TV) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ประเด็นหลัก








โดยศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีซทีวี (PEACE TV) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ให้ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 และปฏิบัติตามขอบเขตและเงื่อนไขการอนุญาตตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 ข้อ 14 โดยเคร่งครัด ภายใต้การควบคุมดูแลของ กสทช. และให้ กสทช. มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลไปยังบริษัท วีซายน์ เทเลคอม จำกัดด้วย




____________________________________





ศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราว "พีซทีวี" เหตุ กสทช. เพิกถอนใบอนุญาตโดยไม่ได้ไต่สวน



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รับแจ้งจากศาลปกครองกลางว่า  เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2558  ศาลปกครองกลาง ได้มีการคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 1163/2558 ระหว่าง บริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) ที่ 1 และพวกรวม 5 คน กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ 1 และพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี)  ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีถูก กสทช. เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีซทีวี (PEACE TV)

โดยศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีซทีวี (PEACE TV) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ให้ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 และปฏิบัติตามขอบเขตและเงื่อนไขการอนุญาตตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 ข้อ 14 โดยเคร่งครัด ภายใต้การควบคุมดูแลของ กสทช. และให้ กสทช. มีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลไปยังบริษัท วีซายน์ เทเลคอม จำกัดด้วย

โดยเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องจากนายจตุพร พรหมพันธุ์ (ผู้ฟ้องคดีที่ 2) เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ รายการ “มองไกล” ออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีซ ทีวี  และหลังจากออกอากาศทาง กสทช. ได้รับหนังสือจากคณะทำงานติดตามสื่อ กรมการทหารสื่อสาร ลงวันที่ 22 เม.ย. 2558 แจ้งว่า รายการมีเนื้อหาขัดต่อประกาศ คสช. จนได้มีการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตเนื่องจากเป็นการกระทำความผิดซ้ำ  จากข้อเท็จจริง ศาลเห็นว่า การออกคำสั่งทางปกครอง ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาโดยแสวงหาหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง รับฟังคำชี้แจงของคู่กรณีหรือผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง ขอให้มีการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น ก่อนออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ของผู้ฟ้องคดี จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานทั้งหมด โดยมีการกำหนดระยะเวลาให้ผู้ถูกร้องเรียนได้ชี้แจงภายในระยะเวลาอันสมควร  ซึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ในประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มีโทษทางปกครอง พ.ศ. 2556 ได้กำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า กสทช. ได้ดำเนินการเพียงแต่รวบรวมเอกสารตามคำร้องเรียนเมื่อ 22 เม.ย. 2558 และได้มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาต เมื่อ 27 เม.ย. 2558 ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยเร่งรัดและไม่ปรากฏหลักฐานในสำนวนและจากการไต่สวนของศาลว่า กสทช. ได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้งอคดีได้โต้แย้งแสดงหลักฐาน จึงถือได้ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ข้ออ้างเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนของ กสทช. ก็ไม่อาจรับฟังได้  การให้คำสั่งทางปกครองดังกล่าวมีผลบังคับต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงยากแก่การเยียวยาในภายหลัง  และการทุเลาบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าจะเป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะแต่อย่างใด

ศาลจึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมติ กสทช.

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437037058

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.