Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) วิธีการประมูลเป็นแบบ Simultaneous Ascending Bid Auction หรือจัดประมูลชุดคลื่นที่จะให้ใบอนุญาตพร้อมกัน ะบุให้ขยายโครงข่ายไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนประชากรใน 4 ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาต

 ประเด็นหลัก




วิธีการประมูลเป็นแบบ Simultaneous Ascending Bid Auction หรือจัดประมูลชุดคลื่นที่จะให้ใบอนุญาตพร้อมกัน และดําเนินการประมูลหลายรอบ โดยราคาประมูลแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลําดับ เหมือนตอนประมูล 3G โดยการเพิ่มขึ้นของราคาแต่ละรอบจะอยู่ที่ 5% ของราคาตั้งต้น ซึ่งการประมูล 4G นี้ ราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 580 ล้านบาท แต่เวลาการเคาะราคาในแต่ละรอบจะสั้นลง จาก 30 นาที เหลือรอบละ 15 นาที เพราะประมูลเพียง 2 ชุดคลื่น ไม่ซับซ้อนเท่า 3G ที่ซอยย่อยคลื่นเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz


สิ่งที่แตกต่างจากการประมูลครั้งที่แล้วคือ ข้อกำหนดการขยายโครงข่าย ที่ระบุให้ขยายโครงข่ายไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนประชากรใน 4 ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาตต่างจาก 3G ที่ต้องขยายให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% ใน 2 ปี และไม่น้อยกว่า 80% ใน 4 ปี และกันความจุโครงข่ายสำหรับผู้ให้บริการแบบเช่าใช้โครงข่าย (MVNO) ที่ 10%







____________________________________





คลอดเกณฑ์ประมูลคลื่น4Gยักษ์มือถือเฮชิงดำ




คลอดร่างเกณฑ์ประมูล 4G เตรียมชงบอร์ด "กทค." นำร่องคลื่น 1800 MHz ตีกลับราคาประเมิน "ไอทียู" ยืนราคาตั้งต้น 11,600 ล้าน เพิ่มครั้งละ 580 ล้านบาท ตีกรอบเพดานครองคลื่น 60 MHz บีบค่ายมือถือคายคลื่น "ดีแทค" โดนเต็ม ๆ "ยักษ์มือถือ" ประสานเสียงพร้อมลงสนามชิง

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากมอบหมายให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ทบทวนมูลค่าคลื่น และราคาตั้งต้นประมูลคลื่น 1800 MHz ใหม่อีกครั้ง เนื่องจากการประเมินครั้งก่อน

ผ่านมาปีกว่าแล้วจึงต้องการอัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น แต่ปรากฏว่าราคาที่ ITU เสนอมาใหม่ ลดลงจากเดิมที่กำหนดราคาให้มูลค่าคลื่นไว้ที่ 16,571 ล้านบาท ต่อจำนวนคลื่น 12.5 MHz ขณะที่ราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 11,600 ล้านบาท

"ราคาใหม่ที่ ITU เสนอมาลดลงเล็กน้อยแต่สำนักงาน กสทช.ไม่เห็นด้วยกับมูลค่าดังกล่าว จึงเรียกให้ ITU มาชี้แจงในรายละเอียดใหม่ ตอนนี้จึงถือว่ารายงานของ ITU ยังไม่สมบูรณ์"

ก่อนหน้านี้ฐากรกล่าวว่า (กสทช.) การประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.ในปี 2558-2559จะช่วยรัฐบาลปลุกเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยในระยะ 2 ปีข้างหน้าจะสร้างรายได้ราว 9 แสนล้านบาท หรือประมาณ 2.11% ของจีดีพี จากการจัดสรรคลื่น 4 ย่าน ทั้ง 1800 MHz, 25 MHz แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ย่าน 900 MHz, 20 MHz 2 ใบอนุญาต

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะพิจารณาร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สําหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz ที่จะจัดประมูลในเดือน พ.ย.นี้ แบ่งคลื่น 1800 MHz เป็น 2 ชุดความถี่ ชุดละ 12.5 MHz และให้ผู้ประกอบการแต่ละรายยื่นประมูลได้ไม่เกิน1 ชุด ราคาเริ่มต้นที่ 11,600 ล้านบาท/ชุดใบอนุญาต ถ้ามีผู้เข้าประมูลน้อยกว่า หรือเท่าจำนวนใบอนุญาต จะเริ่มประมูลที่ขั้นต่ำ 16,571 ล้านบาท

สำหรับอายุใบอนุญาตอยู่ที่ 19 ปี สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 2577 ต่างจาก 3G อายุ 15 ปีเนื่องจากคลื่น 1800 MHz แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจากการสิ้นสุดสัมปทาน "ทรูมูฟ" และดิจิตอลโฟน อีกส่วนอยู่ในสัมปทานของ "ดีแทค" ที่จะหมดอายุปี 2561 ซึ่ง กทค.กำหนดอายุใบอนุญาตไว้ที่ 16 ปี เพื่อให้นำออกจัดสรรใหม่ได้พร้อมกันทั้ง 2 ส่วนในปี 2577

นอกจากนี้ ยังกำหนดเพดานการถือครองคลื่นไว้ด้วยว่า ผู้รับใบอนุญาตจะต้องไม่ถือครองคลื่นในทุกย่านความถี่มากกว่า 60 MHz ทั้งในรูปแบบสิทธิ์ภายใต้สัมปทาน หรือระบบใบอนุญาต โดยกำหนดให้ต้องคืนคลื่นความถี่กลับคืนให้ กสทช. หรือหน่วยงานที่เป็นผู้ให้สัมปทาน ไม่น้อยกว่าจำนวนที่ประมูลได้ไป

ปัจจุบันหากพิจารณาเฉพาะคลื่น 800 MHz,900 MHz, 1800 MHz และ 2.1 GHz ปรากฏว่า บมจ.ทีโอทีถือครองคลื่นอยู่ 15 MHzบมจ.กสท โทรคมนาคม 15 MHz เอไอเอสและเอดับบลิวเอ็น ที่ 32.5 MHz ขณะที่ดีแทคและดีทีเอ็นอยู่ที่ 65 MHz ส่วนทรูมูฟ เอช15 MHz

วิธีการประมูลเป็นแบบ Simultaneous Ascending Bid Auction หรือจัดประมูลชุดคลื่นที่จะให้ใบอนุญาตพร้อมกัน และดําเนินการประมูลหลายรอบ โดยราคาประมูลแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลําดับ เหมือนตอนประมูล 3G โดยการเพิ่มขึ้นของราคาแต่ละรอบจะอยู่ที่ 5% ของราคาตั้งต้น ซึ่งการประมูล 4G นี้ ราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 580 ล้านบาท แต่เวลาการเคาะราคาในแต่ละรอบจะสั้นลง จาก 30 นาที เหลือรอบละ 15 นาที เพราะประมูลเพียง 2 ชุดคลื่น ไม่ซับซ้อนเท่า 3G ที่ซอยย่อยคลื่นเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz

สิ่งที่แตกต่างจากการประมูลครั้งที่แล้วคือ ข้อกำหนดการขยายโครงข่าย ที่ระบุให้ขยายโครงข่ายไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนประชากรใน 4 ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาตต่างจาก 3G ที่ต้องขยายให้ได้ไม่น้อยกว่า 50% ใน 2 ปี และไม่น้อยกว่า 80% ใน 4 ปี และกันความจุโครงข่ายสำหรับผู้ให้บริการแบบเช่าใช้โครงข่าย (MVNO) ที่ 10%

นอกจากนี้ ต้องมีแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมครอบคลุมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สุขภาพของผู้ใช้บริการ การให้บริการคนพิการ และสนับสนุนการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของสังคม ความมั่นคงของรัฐ การลงทะเบียนซิมพรีเพด การกำหนดมาตรฐานบริการให้เป็นไปตามที่ได้โฆษณาไว้ และการกำหนดอัตราค่าบริการพิเศษสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

แหล่งข่าวจาก บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดเผยว่า กสทช.จะคงราคาเริ่มต้นประมูลหรือกำหนดสูงกว่าผลการศึกษาของ ITU ก็ได้ แต่บริษัทจะประเมินความคุ้มค่าจากมูลค่าที่จะนำไปใช้ ไม่ได้มองว่าราคาคลื่นจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากที่เคยกำหนดไว้ ซึ่งตามแผนจะนำคลื่นย่านนี้ไปให้บริการโมบายบรอดแบนด์เป็นหลัก ส่วนข้อกำหนดขยายโครงข่าย 40% ใน 4 ปี ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าประมูลเพราะที่ผ่านมาลงทุนโครงข่ายขยายบริการครอบคลุมเร็วกว่าข้อบังคับ กสทช. แต่อาจเปิดช่องให้บางรายกักตุนคลื่นไว้ก่อนแล้วค่อยทยอยลงทุน เพราะบังคับในอัตราต่ำมาก

"เรื่องใหม่ คือ เพดานการถือครองคลื่น 60 MHz จะมีแค่ดีแทคที่มีคลื่น 800 และ 1800 MHz ทีโอทีมี 2.1 และ 2.3 GHz แต่ไม่มีผลอะไร ถ้าดีแทคประมูลได้ก็แค่คืนคลื่นที่ไม่ได้ใช้ไม่ต้องคืนทั้งหมด ที่น่าจับตาคือ 12.5 MHz ที่ต้องคืน กสทฯ สุดท้ายจะไปทำอะไรต่อ"

ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า หากราคาตั้งต้นประมูลคลื่นต่ำกว่า11,600 ล้านบาท ก็เป็นเรื่องดี แต่สุดท้ายบริษัทจะประเมินจากความคุ้มค่าในการลงทุนกับผลตอบแทนที่จะได้ตลอดอายุใบอนุญาต 19 ปี ส่วนการขยายโครงข่าย 40% ใน 4 ปี ไม่ควรกำหนด เพราะปัจจุบันค่ายมือถือใช้การผสมย่านคลื่นเพื่อดีไซน์โครงข่ายในการให้บริการแก่ลูกค้า ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจนี้ ไม่จำเป็นต้องมีการตั้งกฎเกณฑ์บังคับ เพราะทำให้การปฏิบัติงานของผู้ประกอบการยากขึ้น เนื่องจากแยกได้ยากว่าโครงข่ายบนคลื่นใดขยายไปเท่าใดแล้ว

ขณะที่การกำหนดสเปกตรัมแคปที่ 60 MHzก็ไม่น่ากระทบดีแทค เพราะคืนคลื่นส่วนที่ไม่ได้ใช้กลับออกมาได้ จึงไม่น่าเป็นอุปสรรคให้การประมูลต้องสะดุดลง เพราะผู้ให้บริการทุกรายต้องการคลื่นใหม่มาใช้งาน ซึ่งมีผลการวิจัยหลายแห่งระบุว่า พฤติกรรมผู้บริโภคขณะนี้ทำให้ภายใน 5 ปี ค่ายมือถือในไทยแต่ละรายต้องมีย่านคลื่นไม่น้อยกว่า 50 MHz จึงจะรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้

"กสทช.ควรให้ความสำคัญกับการรีฟาร์มมิ่งคลื่น มีแผนงาน และการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้โอเปอเรเตอร์วางแผนธุรกิจได้ว่าจะให้บริการได้อย่างไร"

ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า รอศึกษาร่างหลักเกณฑ์ประมูลอย่างเป็นทางการก่อนจึงจะพิจารณาได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่เข้าใจว่า เงื่อนไข 60 MHz เป็นเงื่อนไขการคืนคลื่นมากกว่า Overall Spectrum Cap ซึ่งดีแทคไม่ได้ขัดข้อง เนื่องจากต้องการคืนที่ไม่ได้ใช้ให้นำไปประมูลอยู่แล้ว แต่การกำหนด Overall Spectrum Cap ควรศึกษาอย่างรอบคอบ ไม่ให้กระทบการลงทุนในอนาคต เนื่องจากทุกรายต้องการมากกว่า 60 MHz และ กสทช.ควรแยกเพดานการถือครองคลื่นย่าน High Band และ Low Band ออกจากกัน เพราะมูลค่าไม่เท่ากัน

ส่วนเกณฑ์การบังคับขยายโครงข่าย 40% มองว่าไม่น่าจำเป็นแล้ว เพราะขณะนี้โครงข่าย 3G มีความครอบคลุมกว่า 80% แล้ว และการลงทุน 4G มีเป้าหมายหลักคือในเมืองใหญ่


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436054659

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.