Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 (บทความ) 1 ปี มาตรฐานสัญญา บริการเพย์ทีวี ความพยายามที่ยังต้องพยายาม // CTH 48 เรื่อง , GMMz 44 เรื่อง , TRUE 34 เรื่อง , IPM 36 เรื่อง

ประเด็นหลัก







โดยบริษัทที่โดนร้องเรียนมากที่สุด คือ บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) 48 เรื่อง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด 44 เรื่อง บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 34 เรื่อง บริษัท ไอพีเอ็ม ทีวี จำกัด 36 เรื่อง บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด 14 เรื่อง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) 5 เรื่อง เป็นต้น






____________________________________





1 ปี มาตรฐานสัญญา บริการเพย์ทีวี ความพยายามที่ยังต้องพยายาม



ประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรฐานสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ที่มีผลบังคับใช้มาครบ 1 ปีแล้ว เป็นอีกความพยายามของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการแก้ปัญหาและรับรองสิทธิเบื้องต้นของผู้บริโภคในการรับบริการเพย์ทีวี

"สมบัติ ลีลาพตะ" ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า แต่เดิมผู้บริโภคไม่มีอำนาจต่อรอง การมีมาตรฐานสัญญาจะช่วยระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ให้บริการจะต้องทำอะไร และลักษณะของสัญญาเป็นอย่างไร และผู้บริโภคมีสิทธิ์อย่างไร

โดยสิทธิ์เบื้องต้น คือ ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์เลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ด้วยการทำหนังสือแจ้งแก่ผู้ให้บริการไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว ต้องคืนเงินค่าบริการหรือเงินอื่นใดที่จ่ายไว้ล่วงหน้า ขณะที่ฝั่งผู้ให้บริการหากจำเป็นต้องมีการระงับการให้บริการหรือเปลี่ยนแปลงแพ็กเกจการให้บริการ ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วัน

แต่ 1 ปีหลังจากมีสัญญามาตรฐานก็ยังมีปัญหาร้องเรียนของผู้บริโภคเข้ามาเป็นระยะ โดย "สุภิญญา กลางณรงค์" กสทช.ด้านดูแลผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า ปี 2557 จนถึงกลางปี 2558 ยังมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเพย์ทีวีเข้ามาราว 200 กรณี

และปัญหาที่พบมากที่สุดอันดับ 1 คือ การระงับสัญญาณโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 2.การคืนเงินในกรณีที่ผู้ให้บริการมีเงินค่าบริการหรือเงินอื่นใดค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ 3.การเปลี่ยนแปลงแพ็กเกจการให้บริการโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือแจ้งแต่ไม่เป็นไปตามประกาศ 4.ไม่มีการทำสัญญาให้บริการเป็นลายลักษณ์อักษร 5.ยังมีการเรียกเก็บค่าใช้บริการในระหว่างที่ถูกระงับสัญญาณ

และ 6.มีการเรียกเก็บค่าใช้บริการเกินที่ตกลงในสัญญา


โดยบริษัทที่โดนร้องเรียนมากที่สุด คือ บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) 48 เรื่อง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด 44 เรื่อง บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) 34 เรื่อง บริษัท ไอพีเอ็ม ทีวี จำกัด 36 เรื่อง บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด 14 เรื่อง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) 5 เรื่อง เป็นต้น

"หลังได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว หากทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ความร่วมมือในการส่งหลักฐาน และชี้แจงข้อมูลก็สามารถยุติเรื่องได้เร็ว ส่วนใหญ่ประนีประนอมกันได้ ซึ่งเป็นทางที่ทำให้ผู้ให้บริการสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ ดีกว่าต้องเข้าสู่กระบวนการทางปกครองที่มีโทษปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท และ 1 แสนบาทต่อวัน"

ด้าน "ชัยรัตน์ แสงอรุณ" อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า ปัญหาจากบริการเพย์ทีวียังเป็นเรื่องแพ็กเกจบริการไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ และการทำสัญญาที่มีการจ่ายค่าบริการล่วงหน้า แล้วเกิดมีการยกเลิกบริการ หรือมีการควบรวมกิจการ แต่ที่ทำให้การแก้ปัญหาทำได้ยากที่สุด คือ การที่ผู้บริโภคตกลงสมัครใช้บริการและจ่ายเงินค่าบริการล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่มีเอกสารสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตามประกาศของ กสทช.ฉบับนี้ เปิดช่องให้มีการทำสัญญาที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรได้ โดยให้ถือว่าได้รับความคุ้มครองตามประกาศนี้เช่นกัน

"แต่การไม่มีเอกสารทำให้ตรวจสอบยากมาก เมื่อเกิดปัญหาจอดับหรือเนื้อหาไม่ตรงกับโปรโมชั่น แม้แต่มีกรณีที่ผู้ให้บริการอ้างว่าสมาชิกไม่มีการชำระค่าบริการ แม้ตามประกาศ กสทช.จะคุ้มครองสิทธิ์ให้ แต่ก็เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก"

"โสภณ หนูรัตน์" ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การที่กฎหมายกำหนดว่าหากเรียกเก็บค่าบริการแบบล่วงหน้านั้นจะไม่ต้องทำสัญญาที่เป็นหนังสือ ซึ่งเมื่อไม่ทำเป็นหนังสือแล้วก็ไม่มีหลักฐานในการพิสูจน์ ทำให้มีปัญหามาก อาทิ ทำสัญญาจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวน 12 เดือน แต่กลับดูได้แค่ 7 เดือน หรือไม่ให้บริการตามที่โฆษณาไว้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม ที่สำคัญคือทำอย่างไร ผู้บริโภคจะได้รู้สิทธิ์ของตัวเอง ซึ่ง กสทช.น่าจะมีส่วนช่วยเหลือได้มากขึ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436172559

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.