Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2558 ตั้งแต่ประกาศใช้มาตรการเยียวยาจนถึง ส.ค.57 รวมทั้งสิ้น 11 เดือน 15 วัน ทรูมูฟ และดีพีซี มีรายได้ต้องนำส่งสำนักงานรวม 2,299 ล้านบาท แบ่งเป็นของ TRUEMOVE 2G 1,666 ล้านบาท และ AIS GSM 1800 จำนวน 633 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่ได้รวมถึงค่าใช้โครงข่ายของ CAT

ประเด็นหลัก







ทั้งนี้ บริษัททั้งสองจะต้องนำส่งรายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายในอัตรา 30% ของรายได้จากการให้บริการ อ้างอิงจากสัญญาสัมปทานเดิม และหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เหลือให้นำรายได้ส่งรัฐต่อไป โดยเรื่องนี้ที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการไปแล้ว เมื่อ 23 ธ.ค.57 เรื่องผลการพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายจากการให้บริการในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยผลการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ประกาศใช้มาตรการเยียวยาจนถึง ส.ค.57 รวมทั้งสิ้น 11 เดือน 15 วัน ทรูมูฟ และดีพีซี มีรายได้ต้องนำส่งสำนักงานรวม 2,299 ล้านบาท แบ่งเป็นของทรูมูฟ 1,666 ล้านบาท และดีพีซี จำนวน 633 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่ได้รวมถึงค่าใช้โครงข่ายของ บมจ.กสทฯ ซึ่งผู้ให้บริการทั้งสองรายอ้างว่าไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่ บมจ.กสทฯ แจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 14,141 ล้านบาท.







____________________________________




บีบทรูมูฟ-ดีพีซีจ่ายเยียวยาคลื่น1800



กสทช. จี้ทรูมูฟ-ดีพีซี จ่ายแผนเยียวยาคลื่น 1800 มูลค่าเฉียด 3 พันล้าน ซ้ำหนี้ค่าโครงข่าย บมจ.กสทฯ ร่วม 1.4 หมื่นล้าน โดยให้บอร์ด กทค.ตัดสินใจลงดาบ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงานได้ส่งความคืบหน้าการนำส่งเงินรายได้ของผู้ประกอบการตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือแผนเยียวยาคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กทค. วันที่ 15 มิ.ย.58 นี้ ประกอบการพิจารณา ให้เร่งดำเนินการกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ที่ได้สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 2 จี กับบริษัท กสท โทรคมนาคม (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.56 ซึ่งทั้งคู่ยังไม่นำเงินมาจ่าย โดยคณะทำงานตรวจสอบเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินฯ ได้แจ้งยอดเงินที่ต้องจ่ายกว่า 1,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัททั้งสองจะต้องนำส่งรายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายในอัตรา 30% ของรายได้จากการให้บริการ อ้างอิงจากสัญญาสัมปทานเดิม และหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เหลือให้นำรายได้ส่งรัฐต่อไป โดยเรื่องนี้ที่ประชุม กทค.มีมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการไปแล้ว เมื่อ 23 ธ.ค.57 เรื่องผลการพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายจากการให้บริการในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการ โดยผลการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ประกาศใช้มาตรการเยียวยาจนถึง ส.ค.57 รวมทั้งสิ้น 11 เดือน 15 วัน ทรูมูฟ และดีพีซี มีรายได้ต้องนำส่งสำนักงานรวม 2,299 ล้านบาท แบ่งเป็นของทรูมูฟ 1,666 ล้านบาท และดีพีซี จำนวน 633 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่ได้รวมถึงค่าใช้โครงข่ายของ บมจ.กสทฯ ซึ่งผู้ให้บริการทั้งสองรายอ้างว่าไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่ บมจ.กสทฯ แจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 14,141 ล้านบาท.

http://www.thaipost.net/?q=บีบทรูมูฟ-ดีพีซีจ่ายเยียวยาคลื่น1800

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.