Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 Telenor Group ระบุ ผู้สูงอายุมีแรงจูงใจที่จะปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อการขยายเครือข่ายทางสังคม ในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จากดีแทคระบุว่า มีลูกค้าร้อยละ 6 ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีเพียงร้อยละ 2 ที่อายุมากกว่า 65 ปี

ประเด็นหลัก






การวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้สูงอายุมีแรงจูงใจที่จะปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อการขยายเครือข่ายทางสังคม และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จากดีแทคระบุว่า มีลูกค้าร้อยละ 6 ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีเพียงร้อยละ 2 ที่อายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งอาจป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มประชาการผู้สูงอายุของไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 74.2 ปี เมื่อเทียบกับอินเดียที่มีการคาดอายุขัยอยู่ที่ 60.2 ปี เช่นเดียวกันกับรูปแบบการใช้โทรศัพท์ของประชากรกลุ่มนี้ที่มีความแตกต่างอย่างน่าสนใจหากเปรียบเทียบกับอินเดียและบังกลาเทศ




_____________________________________




"เทเลนอร์"เผยผลสำรวจ"ผู้สูงอายุ"ในเอเชียยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากโมบายอินเทอร์เน็ต


รายงานข่าวจาก "เทเลนอร์กรุ๊ป" เปิดเผยผลสำรวจข้อมูลที่ได้จาก 4 ประเทศในตลาดเอเชียบ่งชี้ว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มไม่ได้รับประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ หรือโมบายอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ ขณะที่โมบายอินเทอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัวสูงมากในเอเชีย

โดยเมื่อไม่นานมานี้ เทเลนอร์กรุ๊ปได้ทำการวิจัยใน 4 ตลาดของภูมิภาคนี้ ซึ่งเก็บข้อมูลจากประเทศไทย อินเดีย บังกลาเทศ และมาเลเซีย พบว่าประชากรของแต่ละประเทศไม่สามารถเข้าถึง และได้รับประโยชน์ของการเชื่อมต่อที่เท่าเทียมกัน ในรายงานเกี่ยวกับ "ผู้สูงอายุในเอเชียที่ขาดการเชื่อมต่อ" ที่รวบรวมจากข้อมูลของลูกค้าระบุว่าตลาดบางแห่งมีกลุ่มผู้สูงวัยเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และมีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ใช้สมาร์ทโฟน

ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทยระบุว่า นับจากปี พ.ศ.2558 เป็นต้นไปจะมีประชากรผู้สูงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 500,000 คน ภายในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" (Complete aged society) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยที่จะมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด ส่งผลให้รัฐบาลเร่งวางนโยบาย และหามาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับสังคมสูงอายุรวมไปถึงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติที่มียุทธศาตร์ในการเตรียมความพร้อมประชากร โดยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ

มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยระยะยาวกว่า 6 ปี เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่เกษียณอายุแล้วในสหรัฐอเมริกากว่า 22,000 คน ได้ผลสรุปว่า การที่ผู้สูงอายุมีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ จะสามารถลดค่าความน่าจะเป็นของความเครียดในวัยสูงอายุลงได้ถึงร้อยละ 33 เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการลดความรู้สึกของความเหงา ความโดดเดี่ยว และความเบื่อหน่าย ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของโรคเครียด

การวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้สูงอายุมีแรงจูงใจที่จะปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อการขยายเครือข่ายทางสังคม และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จากดีแทคระบุว่า มีลูกค้าร้อยละ 6 ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีเพียงร้อยละ 2 ที่อายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งอาจป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มประชาการผู้สูงอายุของไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 74.2 ปี เมื่อเทียบกับอินเดียที่มีการคาดอายุขัยอยู่ที่ 60.2 ปี เช่นเดียวกันกับรูปแบบการใช้โทรศัพท์ของประชากรกลุ่มนี้ที่มีความแตกต่างอย่างน่าสนใจหากเปรียบเทียบกับอินเดียและบังกลาเทศ

กล่าวคือ อัตราส่วนของการใช้ดาต้าของผู้สูงวัยอยู่ในระดับสูง โดยร้อยละ 56 ของผู้ใช้มีอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 50 มีอายุมากกว่า 65 ปี สำหรับประเภทโทรศัพท์ที่ใช้ ร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 55 ของผู้สูงอายุสองกลุ่มนี้ใช้สมาร์ทโฟน  และมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางของประเทศมาเลเซีย การสำรวจในสองกลุ่มประชากรของไทยนี้ หากแยกเป็นเพศชายและหญิงพบว่า การใช้ดาต้าของกลุ่มผู้หญิงนั้น ร้อยละ 19 มีอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 15 มีอายุมากกว่า 65 ปี

นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป และเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์เอเชีย กล่าวว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ Internet for All เทเลนอร์ตระหนักว่า กลุ่มผู้สูงอายุในตลาดเอเชียยังไม่ได้รับประโยชน์จากโมบายอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ การได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะช่วยเสริมให้ประชาชนได้รับบริการพื้นฐานในฐานะพลเมืองของประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้นี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย องค์กรต่าง ๆ ครอบครัว รวมถึงแต่ละบุคคล เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศในเอเชียกำลังเข้าสู่สถานการณ์การขยายตัวของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรมุ่งมั่นส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสได้เชื่อมต่ออย่างทั่วถึง โดยไม่ได้เน้นเพียงแค่คนในวัยหนุ่มสาวเท่านั้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1432799118

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.