Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 SYMC ลงนามในสัญญาประกาศความร่วมมือทางธุรกิจในการลงทุนร่วมกันในโครงการก่อสร้างและวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำระหว่างประเทศ (MCT Submarine Cable System) ระหว่าง บริษัท Telcotech จำกัด จากประเทศกัมพูชา และ บริษัท Telekom Malaysia Berhad จำกัดจากประเทศมาเลเซีย

ประเด็นหลัก



    นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือSYMC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ลงนามในสัญญาประกาศความร่วมมือทางธุรกิจในการลงทุนร่วมกันในโครงการก่อสร้างและวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำระหว่างประเทศ (MCT Submarine Cable System) ระหว่าง บริษัท Telcotech จำกัด จากประเทศกัมพูชา และ บริษัท Telekom Malaysia Berhad  จำกัดจากประเทศมาเลเซีย  เพื่อผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในด้านการสื่อสาร การค้าและการลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค โดยงานจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
  พิธีเซ็นสัญญาเคเบิลใต้น้ำ  3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และมาเลเซียพิธีเซ็นสัญญาเคเบิลใต้น้ำ 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งในส่วนของเนื้อหาสำคัญนั้น MCT Project คือโครงการ Submarine Cable Network หรือโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำที่เกิดจากความร่วมมือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย (M) ประเทศกัมพูชา (C) และประเทศไทย (T) ในการลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ และมีการสร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น มีสถานีภาคพื้นดิน ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง โดยมีการวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร แล้วแยกเส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานีภาคพื้นดิน ที่สีหนุวิลล์หรือชื่อเดิมคือ กำปงโสม ประเทศกัมพูชา อีกเส้นทางไปทางใต้ไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งหรือ Landing Station ที่เชอราติ้ง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย







_____________________________________




SYMCดึงกัมพูชา-มาเลย์ร่วมทุน
สร้างเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ1,300กม.

                 
    "ซิมโฟนี่" เซ็นสัญญา "กัมพูชา-มาเลเซีย" ประกาศความร่วมมือวางเครือข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำระดับภูมิภาคอาเซียน MCT Submarine Cable  เผยระยะทางเชื่อมต่อ 1,300 กิโลเมตร
    นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือSYMC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ลงนามในสัญญาประกาศความร่วมมือทางธุรกิจในการลงทุนร่วมกันในโครงการก่อสร้างและวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำระหว่างประเทศ (MCT Submarine Cable System) ระหว่าง บริษัท Telcotech จำกัด จากประเทศกัมพูชา และ บริษัท Telekom Malaysia Berhad  จำกัดจากประเทศมาเลเซีย  เพื่อผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวในด้านการสื่อสาร การค้าและการลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค โดยงานจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
  พิธีเซ็นสัญญาเคเบิลใต้น้ำ  3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และมาเลเซียพิธีเซ็นสัญญาเคเบิลใต้น้ำ 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งในส่วนของเนื้อหาสำคัญนั้น MCT Project คือโครงการ Submarine Cable Network หรือโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำที่เกิดจากความร่วมมือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย (M) ประเทศกัมพูชา (C) และประเทศไทย (T) ในการลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ และมีการสร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น มีสถานีภาคพื้นดิน ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง โดยมีการวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร แล้วแยกเส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานีภาคพื้นดิน ที่สีหนุวิลล์หรือชื่อเดิมคือ กำปงโสม ประเทศกัมพูชา อีกเส้นทางไปทางใต้ไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งหรือ Landing Station ที่เชอราติ้ง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
    "การเซ็นสัญญาร่วมกัน 3 ประเทศในโครงการวางสายเคเบิลใต้น้ำ ระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตรทางทะเลและทางบกเชื่อมต่อ 3 ประเทศระหว่างไทย กัมพูชา และ มาเลเซีย ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จร่วมกัน ที่เราจะยกระดับการสื่อสารและธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนขึ้นไปอีกขั้น"
    อย่างไรก็ตามด้วยประสิทธิภาพการดำเนินงาน  และใช้เทคโนโลยีระดับโลกที่ได้รับความเชื่อมั่นจากนานาประเทศนำมาพัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเป็นโครงการดังกล่าวนี้ จะเอื้อประโยชน์ไม่เฉพาะเพียงแค่  3 พันธมิตรเท่านั้น แต่จะส่งผลให้เกิดการเติบโตในทุกภาคส่วนต่อภูมิภาคนี้อย่างมหาศาล เพราะเป้าหมายสำคัญของเราคือเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารในโลกยุคดิจิตอลที่นับวันมีแต่จะเติบโตเพิ่มมากขึ้นทั้งในกลุ่มประเทศอินโดจีนไปจนถึงทวีปอื่นๆ และ บริษัทต้องการเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดสำหรับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ รวมทั้งคาดหวังให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางทางการเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมในอาเซียน และระดับโลก  ซึ่งแน่นอนว่าการวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ MCT ครั้งนี้ จะเป็นสัญญาณเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในการเชื่อมภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเองและโลกนี้เข้าไว้ด้วยกัน
    นอกจากนั้น โครงการนี้ ใช้เทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อทั้งรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 100 Gbps ต่อช่องสัญญาณและรองรับการขยายตัวได้มากถึง 30 Tbps  จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาค ให้ผู้ใช้บริการในทุกระดับได้สัมผัสประสบการณ์บริการบรอดแบนด์และใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,057
 วันที่ 31  พฤษภาคม - 3 มิถุนายน  พ.ศ. 2558

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=279599:symc-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VW7R_2BAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.