Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 ความร่วมมือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น มีสถานีภาคพื้นดิน ที่จังหวัดระยอง ลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตร

ประเด็นหลัก






ความร่วมมือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ ลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ สร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น มีสถานีภาคพื้นดิน ที่จังหวัดระยอง โดยมีการวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร แล้วแยกเส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานีภาคพื้นดิน ที่สีหนุวิลล์ ( กำปงโสม) ประเทศกัมพูชา อีกเส้นทางไปทางใต้ไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งหรือ Landing Station ที่เชอราติ้ง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเซ็นสัญญาร่วมกัน 3 ประเทศในโครงการวางสายเคเบิลใต้น้ำ ระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตรทางทะเลและทางบกเชื่อมต่อ 3 ประเทศระหว่างไทย กัมพูชา และ มาเลเซีย









_______________________







โครงการวางเครือข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ | เดลินิวส์


„โครงการวางเครือข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ เคเบิลใยแก้วใต้น้ำที่เกิดจากความร่วม มือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ ลงทุนสร้าง โครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 4:37 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: โครงการ วางเครือข่าย เคเบิลใยแก้ว ใต้น้ำ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามระหว่าง 3 ประเทศ ณ โรงแรมกัมพูเดียน่า พนมเปญ โดยบริษัทเทลโคเทค จากกัมพูชา บริษัทเทเลคอมมาเลเซีย จากประเทศมาเลเซีย และ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินโครงการวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ MCT Project หรือ โครงการ Sub marine Cable Network โครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำที่เกิดจากความร่วมมือทางธุรกิจของ 3 บริษัทผู้นำทางด้านโทรคมนาคมจาก 3 ประเทศ ลงทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตรในน่านน้ำของทั้ง 3 ประเทศ สร้างจุดขึ้นฝั่งที่สถานีภาคพื้นดิน (Landing Station) ในแต่ละประเทศเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น มีสถานีภาคพื้นดิน ที่จังหวัดระยอง โดยมีการวางสายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำลงไปในอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร แล้วแยกเส้นทางไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งสถานีภาคพื้นดิน ที่สีหนุวิลล์ ( กำปงโสม) ประเทศกัมพูชา อีกเส้นทางไปทางใต้ไปเชื่อมกับจุดขึ้นฝั่งหรือ Landing Station ที่เชอราติ้ง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเซ็นสัญญาร่วมกัน 3 ประเทศในโครงการวางสายเคเบิลใต้น้ำ ระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตรทางทะเลและทางบกเชื่อมต่อ 3 ประเทศระหว่างไทย กัมพูชา และ มาเลเซีย เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จร่วมกัน จะส่งผลให้เกิดการเติบโตต่อภูมิภาคนี้มหาศาล เป้าหมายสำคัญคือ รองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารในโลกยุคดิจิตอลที่นับวันมีแต่จะเติบโตเพิ่มมากขึ้นทั้งในกลุ่มประเทศอินโดจีนไปจนถึง ทวีปอื่น ๆ เตรียมความพร้อมให้มากที่สุดสำหรับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางทางการเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมในอาเซียน และระดับโลก บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ในการสร้างและดำเนินการวางโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทย คาดว่าจะเสร็จช่วงปลายปี 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างสร้างสถานีเคเบิลบนบก (Cable Landing Station) ที่จะเป็นจุดขึ้นพักสายเคเบิลบนดินเพื่อเชื่อมต่อกับเคเบิลใต้น้ำ ภายใต้ชื่อ “โมฬี เคเบิล แลนดิ้ง สเตชั่น” (Molee Cable Landing Station) บริเวณจังหวัดระยอง ที่จะเปิดตัวโครงการในเดือนตุลาคมนี้ โครงการนี้ ใช้เทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อทั้งรับและส่งข้อมูลได้สูงถึง 100 Gbps ต่อช่องสัญญาณและรองรับการขยายตัวได้มากถึง 30 Tbps ให้บริการกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล หากค่าบริการอินเทอร์เน็ตถูก ผู้ใช้บริการในทุกกลุ่มระดับได้สัมผัสบริการบรอดแบรนด์และใช้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/324313


http://www.dailynews.co.th/it/324313

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.