Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 การปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่(พ.ศ. 2555) การใช้คลื่นความถี่ย่าน 50-54 MHz ทหารขอและกสทช.อยากให้ไปใช้คลื่น5000 ส่วนวิทยุสมัครเล่นที่ผลิตทั่วโลกรองรับคลื่นย่านนี้คู่กับย่าน 146-147 MHz

ประเด็นหลัก



ประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาแสดงความเห็นมากที่สุดคือ 1.การใช้คลื่นความถี่ย่าน 50-54 MHz ที่จะทำให้สิทธิ์การใช้งานในกิจการวิทยุสมัครเล่นหายไป คงเหลือไว้เฉพาะการใช้งานของหน่วยงานด้านความมั่นคง

"จักรี ห่านทองคำ" นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นมีบทบาทมากในงานบรรเทาสาธารณภัย กสทช.จึงไม่ควรละเลย หากเหตุผลที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของวิทยุระหว่างประเทศ ทั่วโลกก็ใช้คลื่นย่านนี้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น เห็นได้จากอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นที่ผลิตทั่วโลกรองรับคลื่นย่านนี้คู่กับย่าน 146-147 MHz

ตัวแทนจากกรมการทหารสื่อสาร กล่าวว่าที่ผ่านมาหน่วยงานด้านความมั่นคงทยอยส่งคืนคลื่นที่เคยใช้งานให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ แต่คลื่น 50-54 MHz เป็นหัวใจสำคัญของกองทัพ และเป็นคลื่นสากลที่กองทัพหลายประเทศก็ใช้งานอยู่ แม้ในหลายประเทศจะแบ่งคลื่นย่านนี้ให้กิจการวิทยุสมัครเล่นใช้งานด้วยได้ แต่ในประเทศไทยไม่มีความชัดเจนที่จะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า หากแบ่งแล้วจะไม่มีปัญหาคลื่นกวนกัน เพราะขนาดวิทยุชุมชนก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

"กิจการด้านความมั่นคงหากผิดพลาดหรือเกิดปัญหาไม่มีใครจะมารับผิดชอบได้ ขณะที่การใช้งานของทหารในคลื่นอื่นอย่าง 2300 MHz ขึ้นไป กสทช.พยายามผลักดันให้กองทัพย้ายไปใช้ในย่าน 5000 MHz แต่ไปชนกับย่านที่กิจการดาวเทียมใช้อยู่ กองทัพไม่กังวลเรื่องการดักฟังเพราะมีระบบซับซ้อนป้องกันอยู่แล้ว แต่กังวลเรื่องการรบกวนกันของคลื่นมากกว่า กสทช.ควรเข้ามาจัดระเบียบ"

ส่วนการแก้ปัญหาการใช้คลื่นย่าน 470-960 MHz ที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานใช้ทับซ้อนกันอยู่ และมีอีกหลายหน่วยงานต้องการขอใช้ด้วย กับคลื่น 2300 MHz-2690 MHz สำหรับบริการโมบายทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนั้น สิ่งที่บรรดาค่ายมือถือต้องการรู้ คือความชัดเจนถึงกรอบเวลาที่จะนำคลื่นออกมาจัดสรรใหม่ได้ด้วยการประมูล เพราะแผนแม่บทไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการแก้ปัญหาคลื่นย่าน 470-960 MHz ให้เสร็จ ขณะที่ย่าน 2300-2690 MHz ระบุว่าจะดำเนินการให้เสร็จในปี 2563








_____________________________________




เปิดศึกชิงสิทธิ์ใช้ "ความถี่" ปรับใหม่แผนจัดสรรคลื่น


ประกาศใช้มาตั้งแต่ 3 เม.ย. 2555 สำหรับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่จึงถึงเวลาที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (Radio Regulations) ฉบับล่าสุดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) โดยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (6 พ.ค. 2558) ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่(พ.ศ. 2555) ในส่วนของตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ และรายละเอียดเกี่ยวกับคลื่นความถี่ ที่เสนอให้มีการปรับปรุงการใช้คลื่นใน 16 ย่าน และเพิ่มเติมรายละเอียดการใช้งานในหลายประเด็นจึงมีหน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และหน่วยงานที่ใช้คลื่นมาร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

ประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาแสดงความเห็นมากที่สุดคือ 1.การใช้คลื่นความถี่ย่าน 50-54 MHz ที่จะทำให้สิทธิ์การใช้งานในกิจการวิทยุสมัครเล่นหายไป คงเหลือไว้เฉพาะการใช้งานของหน่วยงานด้านความมั่นคง

"จักรี ห่านทองคำ" นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจการวิทยุสมัครเล่นมีบทบาทมากในงานบรรเทาสาธารณภัย กสทช.จึงไม่ควรละเลย หากเหตุผลที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของวิทยุระหว่างประเทศ ทั่วโลกก็ใช้คลื่นย่านนี้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น เห็นได้จากอุปกรณ์วิทยุสมัครเล่นที่ผลิตทั่วโลกรองรับคลื่นย่านนี้คู่กับย่าน 146-147 MHz

ตัวแทนจากกรมการทหารสื่อสาร กล่าวว่าที่ผ่านมาหน่วยงานด้านความมั่นคงทยอยส่งคืนคลื่นที่เคยใช้งานให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ แต่คลื่น 50-54 MHz เป็นหัวใจสำคัญของกองทัพ และเป็นคลื่นสากลที่กองทัพหลายประเทศก็ใช้งานอยู่ แม้ในหลายประเทศจะแบ่งคลื่นย่านนี้ให้กิจการวิทยุสมัครเล่นใช้งานด้วยได้ แต่ในประเทศไทยไม่มีความชัดเจนที่จะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า หากแบ่งแล้วจะไม่มีปัญหาคลื่นกวนกัน เพราะขนาดวิทยุชุมชนก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

"กิจการด้านความมั่นคงหากผิดพลาดหรือเกิดปัญหาไม่มีใครจะมารับผิดชอบได้ ขณะที่การใช้งานของทหารในคลื่นอื่นอย่าง 2300 MHz ขึ้นไป กสทช.พยายามผลักดันให้กองทัพย้ายไปใช้ในย่าน 5000 MHz แต่ไปชนกับย่านที่กิจการดาวเทียมใช้อยู่ กองทัพไม่กังวลเรื่องการดักฟังเพราะมีระบบซับซ้อนป้องกันอยู่แล้ว แต่กังวลเรื่องการรบกวนกันของคลื่นมากกว่า กสทช.ควรเข้ามาจัดระเบียบ"

ส่วนการแก้ปัญหาการใช้คลื่นย่าน 470-960 MHz ที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานใช้ทับซ้อนกันอยู่ และมีอีกหลายหน่วยงานต้องการขอใช้ด้วย กับคลื่น 2300 MHz-2690 MHz สำหรับบริการโมบายทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงนั้น สิ่งที่บรรดาค่ายมือถือต้องการรู้ คือความชัดเจนถึงกรอบเวลาที่จะนำคลื่นออกมาจัดสรรใหม่ได้ด้วยการประมูล เพราะแผนแม่บทไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการแก้ปัญหาคลื่นย่าน 470-960 MHz ให้เสร็จ ขณะที่ย่าน 2300-2690 MHz ระบุว่าจะดำเนินการให้เสร็จในปี 2563

"สุรพล เกียรติยศสกุล" ตัวแทน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า คลื่นทั้ง 2 กลุ่มสำคัญมากสำหรับกิจการโทรคมนาคมและโมบาย จึงอยากให้ กสทช.กำหนดนโยบายให้ชัดว่าคลื่นย่านใดใช้สำหรับบรอดแบนด์และโทรคมนาคม รวมถึงจะดำเนินการให้เสร็จเมื่อใด ขณะที่นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีต้องอาศัยบริการโทรคมนาคมและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถ้าไม่มีการเตรียมความถี่ไว้ให้พร้อมในปริมาณที่มากพอจะเกิดปัญหาได้ และการกำหนดเวลาไว้ที่ปี 2563 ถือว่าช้ามาก ควรเร่งเคลียร์ให้จบในปี 2560

"วีณา แสงสิริภิญโญ" ตัวแทนกลุ่มทรูกล่าวว่า คลื่นที่นำมาใช้งานโมบายได้มีหลายส่วน จึงอยากให้แผนแม่บทมีความชัดเจนมากกว่านี้เกี่ยวกับการนำคลื่นมาใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่า ปีไหนจะนำคลื่นใดออกมาใช้ได้บ้าง ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปถึงการประมูลคลื่น 4G ปลายปีนี้ด้วย ขณะที่คลื่นย่าน 470-960 MHz ควรระบุให้ชัดว่าแต่ละย่านใช้งานประเภทใดอยู่ พร้อมให้กำหนดกรอบเวลาด้วย

ด้าน "วิวัฒน์ สุทธิภาค" เลขาธิการ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คลื่นย่าน 470-960 MHz ควรแยกเป็นกลุ่มย่านคลื่นย่อย ๆ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น อาทิ 470-510 MHz กับ 510-790 MHz และต้องกำหนดให้เสร็จในปี 2561 เช่นเดียวกันปัญหาคลื่นย่าน2300-2690 MHz ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นแค่นโยบายที่ไม่มีแผนปฏิบัติที่ชัดเจน

ฟากตัวแทนจากกรมทหารสื่อสารเสริมว่าในแผนแม่บทยังไม่ระบุถึงการใช้คลื่นสำหรับกิจการอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) ซึ่งมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ทั้งเพื่อความมั่นคงและกิจการทั่วไป ปัจจุบันมักใช้คลื่นในส่วนที่เป็น Unlicensed Band ย่าน 2300-2400 MHz แต่ กสทช.ต้องการนำคลื่นย่านนี้ไปประมูลเพื่อใช้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจะกระทบกับการใช้งานเพื่อให้บริการ WiFi ที่ใช้คลื่นย่านนี้อยู่ด้วย





ขณะที่ด้าน "พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ" รองเลขาธิการ กสทช.สายงานบริหารคลื่นความถี่ และภูมิภาค กล่าวว่า การกำหนดกิจการหลักสำหรับแต่ละย่านคลื่นในแผนแม่บทฉบับนี้ เป็นการคุ้มครองสิทธิ์ในการใช้งานและจัดระเบียบการใช้คลื่นให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาการใช้คลื่นที่ทับซ้อนกันของหลายกิจการ มีสาเหตุจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและบรอดแคสต์ได้เอง ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เป็นผู้กำหนดว่าจะใช้คลื่นใดเพื่อบริการใด บางครั้งแต่ละประเทศก็ใช้มาตรฐานต่างกัน

เช่น คลื่น 800 MHz ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องการขอใช้สำหรับควบคุมระบบสื่อสารรถไฟความเร็วสูงและต่ำ เนื่องจากอิงมาตรฐาน GSM-R จากฝั่งยุโรปขณะที่อุปกรณ์ RFID ที่ใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น เครื่องกั้นเข้าที่จอดรถก็ใช้คลื่นย่านนี้ จึงต้องแย่งชิงการใช้คลื่น และจะเกิดปัญหาคลื่นรบกวนกันได้ง่าย จึงเป็นหน้าที่ กสทช.ต้องแก้ปัญหาและจัดระเบียบ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ตามต้องการ ต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็น พร้อมกับต้องปรับปรุงแผนแม่บทให้สอดคล้องเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะเป็นกรอบแนวทางหลักในการใช้งานคลื่นของประเทศ

อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงแผนแม่บทในครั้งนี้จะเปิดรับฟังความเห็นไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค.นี้ ก่อนเสนอให้บอร์ด กสทช. ทั้งฝั่งบรอดแคสต์และโทรคมนาคมพิจารณา รวมถึงให้บอร์ดใหญ่อนุมัติ คาดว่าจะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ราว ก.ค.นี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431931272

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.