Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 ตู้ขายมือถือ MBK ชี้ ในมาบุญครองไม่ถึงกับเงียบ มีคนมาตลอด แต่คนไทยแค่เดินเฉย ๆ มาอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ งสมาร์ทโฟนที่ขายดีจะมีระดับราคา 1,500-3,000 บาท

ประเด็นหลัก




นายวิเชียร สหพัฒนประเสริฐ เจ้าของร้านนาซ่าโฟน ผู้ค้าปลีกและส่งโทรศัพท์มือถือในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เศรษฐกิจปัจจุบันที่ชะลอตัวทำให้ร้านค้ารายย่อยทำธุรกิจได้ยากขึ้น เพราะผู้บริโภคยอมใช้เครื่องเดิมแทนซื้อรุ่นใหม่ทำให้บางรายต้องหาสินค้าอื่นมาขายเพื่อหารายได้เพิ่มหรือที่เลิกกิจการไปก็มี

ส่วนใหญ่ที่อยู่ได้จะต้องปรับตัวทั้งเพิ่มงานบริการ,มีสินค้าอื่น ๆ และบริหารจัดการโดยใช้วิธีไม่สต๊อกสินค้าใหม่ คือเมื่อมีผู้บริโภคต้องการซื้อก็จะวิ่งไปเอาสินค้าจากร้านใหญ่ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้านั้นแทน และเน้นจำหน่ายเฉพาะสินค้ามือสอง

"เอาจริง ๆ ในมาบุญครองไม่ถึงกับเงียบ มีคนมาตลอด แต่คนไทยแค่เดินเฉย ๆ มาอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ต่างชาติมาซื้อโทรศัพท์ที่นี่ เมื่อดีมานด์ลดลงจึงมีร้านตู้นับ 10 แห่งคืนพื้นที่เลิกกิจการ เพราะ

จ่ายค่าเช่าไม่ไหว คนที่ยังขายอยู่ก็จะเป็นกลุ่มอยู่ในธุรกิจนี้จริง เช่น ร้านค้าส่งที่ขายทั้งในมาบุญครอง และขายส่งให้กับร้านในต่างจังหวัด หรือร้านที่หิ้วสมาร์ทโฟนหรือแก็ดเจตจากต่างประเทศมาขาย ซึ่งร้านประเภทนี้ไม่ได้รอคนเดินมาซื้อที่ร้านอย่างเดียวแต่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำตลาดด้วย"

สำหรับนาซ่าโฟนรายได้ยังเติบโตจากการเน้นขายส่งให้คู่ค้าในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ส่วนขายปลีกลูกค้าทั่วไปรองลงมา ซึ่งสมาร์ทโฟนที่ขายดีจะมีระดับราคา 1,500-3,000 บาท ถัดมาเป็นฟีเจอร์โฟนราคาต่ำกว่า 1,000 บาท เพราะตลาดต่างจังหวัดยังมีการใช้งานอยู่มาก แม้ 3G จะผลักดันให้สมาร์ทโฟนเติบโตอย่างรวดเร็ว







___________________________________






ตู้ขายมือถือดิ้น เลิกสต๊อกสินค้า รับยอดขายวูบ


กำลังซื้อหด เชนสโตร์ขยายสาขา บีบลูกตู้ขายมือถือหนีตาย "นาซ่าโฟน" แนะปรับตัว "เลิกสต๊อกสินค้า" เพิ่มบริการเสริมรายได้ "TWZ" ผุดโมเดล "แฟรนไชส์" สร้างความต่าง "เจเอเอส" เครือ "เจมาร์ท"

ยอมรับร้านเล็กอยู่ยาก

นายวิเชียร สหพัฒนประเสริฐ เจ้าของร้านนาซ่าโฟน ผู้ค้าปลีกและส่งโทรศัพท์มือถือในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เศรษฐกิจปัจจุบันที่ชะลอตัวทำให้ร้านค้ารายย่อยทำธุรกิจได้ยากขึ้น เพราะผู้บริโภคยอมใช้เครื่องเดิมแทนซื้อรุ่นใหม่ทำให้บางรายต้องหาสินค้าอื่นมาขายเพื่อหารายได้เพิ่มหรือที่เลิกกิจการไปก็มี

ส่วนใหญ่ที่อยู่ได้จะต้องปรับตัวทั้งเพิ่มงานบริการ,มีสินค้าอื่น ๆ และบริหารจัดการโดยใช้วิธีไม่สต๊อกสินค้าใหม่ คือเมื่อมีผู้บริโภคต้องการซื้อก็จะวิ่งไปเอาสินค้าจากร้านใหญ่ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้านั้นแทน และเน้นจำหน่ายเฉพาะสินค้ามือสอง

"เอาจริง ๆ ในมาบุญครองไม่ถึงกับเงียบ มีคนมาตลอด แต่คนไทยแค่เดินเฉย ๆ มาอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ต่างชาติมาซื้อโทรศัพท์ที่นี่ เมื่อดีมานด์ลดลงจึงมีร้านตู้นับ 10 แห่งคืนพื้นที่เลิกกิจการ เพราะ

จ่ายค่าเช่าไม่ไหว คนที่ยังขายอยู่ก็จะเป็นกลุ่มอยู่ในธุรกิจนี้จริง เช่น ร้านค้าส่งที่ขายทั้งในมาบุญครอง และขายส่งให้กับร้านในต่างจังหวัด หรือร้านที่หิ้วสมาร์ทโฟนหรือแก็ดเจตจากต่างประเทศมาขาย ซึ่งร้านประเภทนี้ไม่ได้รอคนเดินมาซื้อที่ร้านอย่างเดียวแต่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำตลาดด้วย"

สำหรับนาซ่าโฟนรายได้ยังเติบโตจากการเน้นขายส่งให้คู่ค้าในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ส่วนขายปลีกลูกค้าทั่วไปรองลงมา ซึ่งสมาร์ทโฟนที่ขายดีจะมีระดับราคา 1,500-3,000 บาท ถัดมาเป็นฟีเจอร์โฟนราคาต่ำกว่า 1,000 บาท เพราะตลาดต่างจังหวัดยังมีการใช้งานอยู่มาก แม้ 3G จะผลักดันให้สมาร์ทโฟนเติบโตอย่างรวดเร็ว

ฟากร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรายย่อยหลายเจ้าแสดงความเห็นตรงกันว่าเมื่อค้าปลีกโทรศัพท์มือถือ และค้าปลีกไอทีขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดมากขึ้นทำให้ร้านตู้ทำธุรกิจยากขึ้น เนื่องจากความน่าเชื่อถือน้อยกว่าจึงไม่สามารถอยู่ได้จากการขายโทรศัพท์มือถือทั้งมือหนึ่งและมือสอง หรือแม้แต่มีบริการซ่อมเครื่องก็ยังไม่พอ จึงต้องหาบริการอื่นมาเสริม เช่น บริการธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น

ขณะที่ร้านค้าที่เน้นจำหน่ายอุปกรณ์เสริมกล่าวว่า ตลาดอุปกรณ์เสริมปัจจุบันก็เข้าสู่ภาวะตกต่ำ เพราะสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมามักเน้นดีไซน์สวยงามทำให้ความนิยมในการใช้เคส และอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ ลดลงเป็นอย่างมากทำให้ผู้ค้าบางรายต้องปรับตัวหันมาเลือกทำตลาดเคสสมาร์ทโฟนเฉพาะบางรุ่นเพื่อลดภาระเรื่องการสต๊อกสินค้ารวมถึงมีสินค้าอื่น เช่น พาวเวอร์แบงก์มาเสริม

ด้านนายจักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ ประธานบริหารสายงานผลิตภัณฑ์ และการจัดการ บริษัท แอดไวซ์ โฮลดิ้งส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรุกตลาดด้วยสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ที่เน้นราคาถูก ทำให้ร้านตู้ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดขายเฮาส์แบรนด์ได้ยากขึ้น เพราะในแง่ความน่าเชื่อถือสู้ไม่ได้จึงต้องปรับตัวด้วยการหาสินค้าอื่น ๆ ที่มีกำไรสูงมาขายแทน เช่น แก็ดเจต, กล้องวงจรปิด, กล้องวิดีโอต่าง ๆ เป็นต้น

"ร้านขายคอมสแตนด์อโลน และลูกตู้ขายมือถือประสบปัญหาเหมือนกัน เมื่อโอเปอเรเตอร์ และค้าปลีกไอที-มือถือรายใหญ่เปิดเกมรุกตลาดต่างจังหวัดเต็มตัว ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือปรับปรุงการบริหารจัดการใหม่ และทำความเข้าใจดีมานด์ของพื้นที่นั้น ๆ มากขึ้น โปรดักต์ที่น่าจะทำได้คือติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นต้น"

นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส บมจ.เจมาร์ท เจ้าของเชนสโตร์ "เจมาร์ท" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบหนักสุดกับร้านค้ารายย่อยที่มีสาขาไม่ถึง 10 แห่ง หรือลูกตู้ที่ขายในห้างสรรพสินค้า เนื่องจากร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่ และค้าปลีกไอทีเริ่มขยายสาขาออกไปครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น และเมื่อเป็นร้านใหญ่ ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า

"เป็นเรื่องปกติที่ร้านใหญ่จะมีความน่าเชื่อถือกว่า แต่ร้านเล็ก ๆ ก็ไม่ถึงกับอยู่ไม่ได้ ร้านเหล่านี้ยังได้เปรียบเรื่องงานบริการ เช่น อาจติดตั้งซอฟต์แวร์ และซ่อมแซมเครื่องเบื้องต้นได้ ในสภาวะที่ตลาดชะลอตัว ผู้ค้ารายย่อยควรนำข้อได้เปรียบมาปรับให้ดีขึ้น เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อได้ ถ้าไม่ทำโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนธุรกิจก็มีสูง เราเองมีส่วนที่บริหารพื้นที่ให้รายย่อยมาเช่าด้วยจึงมีอีกบทบาทเป็นผู้ค้าส่งทำให้รู้ว่าการไม่มีสต๊อกเป็นหลักที่จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้"

โดย"เจมาร์ท" มีบริษัทลูก คือเจเอเอส แอสเซ็ท รับหน้าที่บริหารพื้นที่เช่าภายใต้แบรนด์ "ไอที จังชั่น" กระจายอยู่ในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีทั่วประเทศ 40 แห่ง ในแต่ละแห่งจะมีร้านลูกตู้มากกว่า 10 ร้าน และร้านเจมาร์ท 1 ร้าน เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าในราคาส่งให้ร้านย่อย ซึ่งในอดีตลูกตู้จะจำหน่ายฟีเจอร์โฟนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเริ่มขยับมาขายสมาร์ทโฟนที่ระดับราคาไม่เกิน 5 พันบาทบ้างแล้ว

ก่อนหน้านี้ นายกิตติพงศ์ กิตติภัสสร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ และการตลาด บมจ.ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น (TWZ) เปิดเผยว่า บริษัทได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ด้วยการผนึกความร่วมมือกับร้านตู้มือถือในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าทั่วไปเพื่อยกระดับเป็นแฟรนไชส์ "TWZ Shop" เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และความแข็งแกร่งให้ผู้ค้ารายย่อย เนื่องจากหลังเปลี่ยนผ่านจากยุคดิจิทัล 2G สู่ 3G และ 4G ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น และต้องการซื้อสินค้าในร้านที่ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้การแข่งขันในระดับร้านค้ามีความรุนแรงทำให้ร้านที่มีเจ้าของคนเดียวแข่งขันกับเชนสโตร์ได้ลำบากขึ้น

โดยโมเดลธุรกิจ TWZ Shop จะมุ่งไปที่ร้านที่เป็นเจ้าของคนเดียวหรือบุคคลทั่วไป เพื่อให้สามารถเปิดร้านที่มีภาพลักษณ์ดีน่าเชื่อถือ แข่งขันเรื่องสินค้าคุณภาพ และบริการได้ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้ปรับโฉม และยกระดับร้านค้ารายย่อยไปแล้ว 16 แห่ง ส่วนใหญ่มีทักษะ และความชำนาญแต่ขาดการสร้างแบรนด์ รวมถึงบริการหลังการขาย และอื่น ๆ มีจำหน่ายมีทั้งโทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์เสริม, กลุ่มดิจิทัลไลฟ์ เช่น แก็ดเจต, กล้องวงจรปิด และอี-โรบอต เป็นต้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431664193

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.