Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 Huawei THAI ได้รับภารกิจในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยจาก 2% ในปัจจุบันหรือคิดเป็น 2 แสนเครื่อง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

ประเด็นหลัก



***ทิศทางการตลาดในไทย
     
       โทมัส หลิว กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ดีไวซ์ ประจำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้กุมบังเหียนหัวเว่ยอาเซียนโดยมีฐานที่ตั้งสำนักงานในประเทศไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีขนาดของตลาดที่ใหญ่ และเชื่อว่ามีศักยภาพในการพัฒนาส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมาก โดยปัจจุบันหัวเว่ยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ 2% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยนิด หากแต่หัวเว่ยยังเพิ่มการลงทุนอีกเท่าตัวจากปีก่อนหน้าเป็น 400 ล้านบาท ไม่นับการดึงงบจากส่วนกลางของอาเซียนเข้ามาเสริมการทำตลาดในประเทศไทย โดยการจัดงานเปิดตัว หัวเว่ย P8 ในระดับภูมิภาคอาเซียนก็จะถูกจัดขึ้นในประเทศไทยในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งการดึงงบประมาณเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
     
       'ผมได้รับภารกิจในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยจาก 2% ในปัจจุบันหรือคิดเป็น 2 แสนเครื่อง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าปีนี้จะสามารถเพิ่มขึ้นได้เป็น 5% คิดเป็นจำนวน 6 แสนเครื่อง ด้วยปัจจัยที่สำคัญจากหลายส่วน ไม่ว่าเป็นการสนับสนุนด้านงบประมาณ จากสำนักงานใหญ่เอง การดึงงบประมาณของภูมิภาคเข้ามาช่วยเสริม การเปิดตัวสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการปรับกลยุทธ์ใหม่ของทางหัวเว่ย ประเทศไทยในการเพิ่มจำนวนพนักงานขายเองก็ตาม โดยเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ 5% ในทุกปีเพื่อบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลัก '
     
       ทั้งนี้กลยุทธ์ของการสร้างการรับรู้ในประเทศไทย แบ่งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งด้าน Call Center, Service Center และ App Center เพื่อปรับการรับรู้ให้ใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้ในทิศทางที่ดีให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก ขณะที่การบริการหลังการขายที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการปรับให้บริการซ่อมบำรุงในกลุ่มสมาร์ทโฟนกลุ่มกลาง - บน มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถซ่อมเสร็จภายใน 3 วันทำการ ขณะที่การบริการพิเศษการซ่อมบำรุงจากการใช้งานปกติสำหรับกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับบนตั้งแต่ราคา 12,900 บาท ขึ้นไปสามารถรับเครื่องซ่อมได้ภายใน 1 วันทำการ








___________________________________






เจาะแผนหัวเว่ยลุยตลาดไทย(Cyber Weekend)



ริชาร์ด หยู ซีอีโอ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (คนซ้าย) และ โทมัส หลิว กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ดีไวซ์ ประจำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (คนขวา)

        แม้ว่าตลาดไทยจะมีตัวเลขเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับรายได้ของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน แต่ไทยก็ยังเป็นเป้าหมายหลักที่หัวเว่ยหมายมั่นปั้นมือ ด้วยแรงยั่วยวนใจจากศักยภาพของตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการเป็นชัยภูมิศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สังเกตได้จากยอดการลงทุนในไทยที่ผ่านมากว่า 200 ล้านบาทซึ่งสวนทางกับยอดขายที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงแค่ 2%เท่านั้น
     
       แต่แทนที่การลงทุนจะลดน้อยลงกลับเพิ่มการลงทุนเป็น 400 ล้านในปีหน้า หรือแม้กระทั่งตั้งไทยเป็นศูนย์กลางการบริหารของอาเซียนเพื่อต่อยอดการทำตลาดและดึงงบประมาณอาเซียนเข้ามาใช้ในไทย เพื่อเจาะเข้าสู่ตลาดประเทศไทยให้ได้ ด้วยเป้าหมายจากนายใหญ่ 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้า
     
       ***บอร์ดใหญ่สั่งลุยเพิ่มส่วนแบ่งไทย
     
       ริชาร์ด หยู ซีอีโอ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป เปิดเผยหลังบินตรงเข้ามาศึกษาตลาดในประเทศไทยด้วยตนเองว่า 'หัวเว่ยมีความตั้งใจในการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นอย่างมาก แม้ว่าตัวเลขรายได้ที่เกิดขึ้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่กระนั้นทีมงานของเราก็ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีหน้าจะมีการเพิ่มงบการลงทุนขึ้นเท่าตัว จาก 200 ล้านบาทเป็น 400 ล้าน เพื่อเป้าหมายในการปรับส่วนแบ่งทางการตลาดจาก 2% เป็น 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้าให้ได้'
     
       แม้ว่าตัวเลขส่วนแบ่งตลาดของไทยจะยังคงมีเพียงแค่ 2% แต่ไทยก็ถูกมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และมีขนาดที่ใหญ่ ทั้งจากบอร์ดบริหารใหญ่ จากหัวเว่ย เทคโนโลยี กรุ๊ป ด้วยการตั้งไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อหวังเจาะเข้าตลาดไทยอย่างจริงจังควบคู่กับการกระจายสินค้าในตลาดอาเซียน แม้ว่าในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศพม่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 50% หรือแม้กระทั่งอินเดีย และฟิลิปินส์ก็ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากกว่าไทย แต่กระนั้นบอร์ดบริหารใหญ่ก็ยังคงหมายมั่นปั้นมือให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางของการทำตลาดในภูมิภาค
     
       ริชาร์ด หยู เปิดเผยต่อว่า หัวเว่ย เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตแบบโออีเอ็ม หรือแบบรับจ้างผลิต โดยเริ่มมีการสร้างแบรนด์ของตนเองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์ที่มีการส่งออกสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่สินค้าด้านโครงข่ายโทรคมนาคมมีสัดส่วนการให้บริการเป็น 1 ใน 3 ของโลก รองรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 7 หมื่นล้านรายทั่วโลก โดยยอดการจำหน่ายเทียบเคียงผู้ให้บริการโครงข่ายจากประเทศสวีเดน แต่กระนั้นก็ต้องนับว่าหัวเว่ยยังเป็นผู้เล่นรายใหม่ในการสร้างแบรนด์สมาร์ทโฟนของตนเอง ซึ่งการเข้าเป็นผู้เล่นรายใหม่ในขณะที่ตลาดก้าวเดินไปแล้วก็มีข้อดีที่สามารถรับรู้ความต้องการของผู้บริโภคจากประสบการณ์ของผู้ใช้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะสามารถพัฒนาสินค้าได้ตรงความต้องการมากขึ้น ตรงใจมากขึ้น ด้วยอัตราการเติบโตของการสร้างการรับรู้ (Brand Awareness) จาก 2% ในช่วงปีแรก เพิ่มขึ้นเป็น 65% ในปัจจุบัน
     
       ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา(2557) หัวเว่ยทั่วโลกมียอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนกว่า 75 ล้านเครื่องนับเป็นการเติบโต 45% และตั้งเป้าจะมียอดขาย 100 ล้านเครื่องในปีนี้ ขณะที่ตลาดมือถือทั่วโลกหัวเว่ยมีมูลค่าการจัดส่งกว่า 12,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้น 30% ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะมีมูลค่าการจัดส่งใกล้เคียง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐอย่างแน่นอน
     
       ***ทิศทางการตลาดในไทย
     
       โทมัส หลิว กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ดีไวซ์ ประจำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้กุมบังเหียนหัวเว่ยอาเซียนโดยมีฐานที่ตั้งสำนักงานในประเทศไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีขนาดของตลาดที่ใหญ่ และเชื่อว่ามีศักยภาพในการพัฒนาส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างมาก โดยปัจจุบันหัวเว่ยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ 2% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยนิด หากแต่หัวเว่ยยังเพิ่มการลงทุนอีกเท่าตัวจากปีก่อนหน้าเป็น 400 ล้านบาท ไม่นับการดึงงบจากส่วนกลางของอาเซียนเข้ามาเสริมการทำตลาดในประเทศไทย โดยการจัดงานเปิดตัว หัวเว่ย P8 ในระดับภูมิภาคอาเซียนก็จะถูกจัดขึ้นในประเทศไทยในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งการดึงงบประมาณเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
     
       'ผมได้รับภารกิจในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยจาก 2% ในปัจจุบันหรือคิดเป็น 2 แสนเครื่อง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าปีนี้จะสามารถเพิ่มขึ้นได้เป็น 5% คิดเป็นจำนวน 6 แสนเครื่อง ด้วยปัจจัยที่สำคัญจากหลายส่วน ไม่ว่าเป็นการสนับสนุนด้านงบประมาณ จากสำนักงานใหญ่เอง การดึงงบประมาณของภูมิภาคเข้ามาช่วยเสริม การเปิดตัวสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการปรับกลยุทธ์ใหม่ของทางหัวเว่ย ประเทศไทยในการเพิ่มจำนวนพนักงานขายเองก็ตาม โดยเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มขึ้นได้ 5% ในทุกปีเพื่อบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลัก '
     
       ทั้งนี้กลยุทธ์ของการสร้างการรับรู้ในประเทศไทย แบ่งเป็นการเสริมความแข็งแกร่งด้าน Call Center, Service Center และ App Center เพื่อปรับการรับรู้ให้ใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้ในทิศทางที่ดีให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก ขณะที่การบริการหลังการขายที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการปรับให้บริการซ่อมบำรุงในกลุ่มสมาร์ทโฟนกลุ่มกลาง - บน มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถซ่อมเสร็จภายใน 3 วันทำการ ขณะที่การบริการพิเศษการซ่อมบำรุงจากการใช้งานปกติสำหรับกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับบนตั้งแต่ราคา 12,900 บาท ขึ้นไปสามารถรับเครื่องซ่อมได้ภายใน 1 วันทำการ
     
       ***แบ่งเจาะตลาด 2 กลุ่มหลัก
     
       สรทัศน์ ศฤงคารบริบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หัวเว่ย ดีไวซ์ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าในต่างประเทศหัวเว่ย จะพยายามผลักดันแบรนด์ให้ขึ้นสู่ความเป็นพรีเมียม ด้วยการนำสมาร์ทโฟนระดับราคาสูงกว่าหมื่นบาทเข้าสู่ตลาด แต่ในตลาดประเทศไทย ยังต้องมีการปรับความเข้าใจกับผู้บริโภคก่อน
       'ตลาดสมาร์ทโฟนประเทศไทยถือว่ามีความแตกต่างกับหลากหลายประเทศ เพราะด้วยพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค รวมไปถึงวิธีการเลือกซื้อ ทำให้จำเป็นต้องมีการแบ่งกลุ่มเพื่อมาเจาะตลาดเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้'
     
       แน่นอนว่า การแบ่งตลาดสมาร์ทโฟน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ด้วยการนำหัวเว่ย ภายใต้ซีรีส์ Ascend และ Honor จะเข้ามาช่วยเพิ่มในส่วนของรายได้ แต่ขณะเดียวกันหัวเว่ย ก็ต้องมีซีรีส์เพิ่มเติมอย่าง Alek ที่เข้ามาจับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปด้วยในสมาร์ทโฟนระดับราคาต่ำกว่าหมื่นบาท
     
       'จุดสำคัญเลยคือการให้ผู้บริโภคได้ลองใช้สินค้าก่อน เมื่อเกิดการใช้งานแล้วรู้สึกว่าดี ก็จะเกิดการเลือกซื้อสินค้าที่มีระดับราคาสูงขึ้น เพราะปัจจุบันในกลุ่มตลาดสมาร์ทโฟนราคาถูกจะไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในแบรนด์ จึงเกิดการเปลี่ยนแบรนด์ไปได้เรื่อยๆ หัวเว่ยจึงต้องนำประสิทธิภาพ และราคาที่คุ้มค่าเข้ามาจับกลุ่มผู้บริโภคตรงนี้ให้ได้ก่อน'
     
       ดังนั้น เมื่อมีการแบ่งซีรีส์อย่าง Alex เข้ามา ก็จะช่วยให้มาเก็ตแชร์ในตลาดสมาร์ทโฟนของหัวเว่ย เพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ แต่ในระยะยาวถ้าต้องการอยู่รอดในตลาดสมาร์ทโฟน หัวเว่ย ก็ต้องทำให้ซีรีส์ระดับพรีเมียมเข้าถึงใจผู้บริโภคคนไทยให้ได้
     
       ทั้งนี้รูปแบบการจัดจำหน่ายในประเทศไทย ใช้การจำหน่ายผ่านดีลเลอร์ทั้ง 3 แห่งได้แก่ ทีจีโฟน เจมาร์ท และ ซีเอสซี เพื่อจำหน่ายเข้าร้านสาขาของแต่ละผู้จัดจำหน่าย ขณะที่บริษัทที่กระจายสินค้าไปสู่ร้านค้ารายย่อยได้แก่ ซินเน็กซ์ เพียงรายเดียว นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าผ่านทรูชอปในบางรุ่น โดยหัวเว่ยเองมีแบรนด์ชอปอยู่ 3 แห่ง แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ที่สยามพารากอน ,ที่จังหวัดอุบลราชธานี และที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
     
       ขณะที่ด้านตลาดออนไลน์ของไทยยังมีตัวเลขที่น้อย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 2% เท่านั้น ทำให้รูปแบบการจำหน่ายจากเดิมในประเทศจีนสินค้าแบรนด์ Honor เป็นแบรนด์ที่มีการจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น เมื่อเข้ามาประเทศไทยต้องปรับเข้าสู่การจำหน่ายในรูปแบบปกติ แต่ก็ยังไม่ทิ้งตลาดออนไลน์ โดยยังคงมีการจำหน่ายผ่านร้านค้าออนไลน์อย่างลาซาด้าอยู่อย่างต่อเนื่อง
     
       บทบาทที่ชัดเจนของหัวเว่ยสะท้อนให้เห็นความจริงใจในการทำตลาด แม้ว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจะสวนทางกับการลงทุนที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีการเพิ่มการลงทุนและปรับยุทธศาสตร์การทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับแผนรุกตลาดกลาง-บน แทนการรุกตลาดล่าง-กลาง พร้อมสร้างการรับรู้แบรนด์ที่ดีให้เกิดขึ้น ด้วยการปรับกระบวนท่าคอลเซ็นเตอร์ทั้ง 3 รูปแบบ รวมทั้งปรับการบริการหลังการขายให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดความต้องการของผู้บริโภคจะเป็นตัวตัดสินว่าหัวเว่ยในตลาดไทยจะเป็นอย่างไร ภายใต้กระแสสมาร์ทโฟนจีนที่กำลังมาแรงด้วยพฤติการการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ในประเทศไทย
     


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000054954

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.