Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ระบุ เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ปี 2558 จะอยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ราว 2 พันล้านบาท หรือ 33% แต่ในจำนวนนี้คิดเป็นเพียง 8% ของมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในประเทศไทย

ประเด็นหลัก





"ศิวัตร เชาวรียวงษ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด เปิดเผยว่า เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ปี 2558 จะอยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ราว 2 พันล้านบาท หรือ 33% แต่ในจำนวนนี้คิดเป็นเพียง 8% ของมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในประเทศไทยที่สูงกว่าแสนล้านบาท ดังนั้นโอกาสการเติบโตยังมีได้อีกมาก ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้และจีนมีเม็ดเงินประเภทนี้สูงถึง 38% และ 33% ตามลำดับ

และเมื่อเจาะไปที่การเติบโตนี้ จะพบว่า ช่องทางเฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียอื่น ๆ และอินสแตนด์เมสเซจจิ้ง เมื่อรวมกันคิดเป็นเม็ดเงิน 24% ของ 8.1 พันล้านบาท เหนือกว่า"เสิร์ชเอ็นจิ้นมาร์เก็ตติ้ง" แต่น้อยกว่าการซื้อพื้นที่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่คิดเป็น 27%

"ไม่ใช่แค่องค์กรขนาดใหญ่จะหันมาใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำตลาด แต่กลุ่มเอสเอ็มอีก็ยอมลงทุนกับเรื่องนี้เพื่อขยายฐานลูกค้า และจำหน่ายสินค้าที่หาทั่วไปได้ยาก เช่น ขายถ่าน กระดุม หรือผักดองกานาฉ่าย เพราะพวกเขามองว่าเมื่อเกือบทุกคนมีดีไวซ์ที่เข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ การทำตลาดผ่านวิธีดั้งเดิมอาจไม่ตอบโจทย์เสมอไป"







___________________________________






 ยุคสมัยของ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" แห่ใช้เข้าถึงลูกค้า-ตอบโจทย์ธุรกิจ



การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบ "แชะ-แชต-แชร์" ขณะที่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียก็มีราคาต่ำมาก แค่ 550 บาทก็ใช้งานได้แล้วจึงไม่แปลกที่หันไปทางไหนก็เจอคนก้มหน้าก้มตาอยู่กับสมาร์ทดีไวซ์ของตนเอง

"ภาวุธพงษ์  วิทยภานุ"ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท โซเชียล อิงค์ จำกัด ระบุว่า ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2558 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของจำนวนประชากร 65 ล้านคน ที่มากขนาดนี้เพราะจำนวนโทรศัพท์มือถือมีกว่า 97 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็น 150% ของจำนวนประชากร เป็นตัวช่วยหลักจากเดิมที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต้องทำผ่านคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตแบบมีสายเท่านั้น

คนไทยเสพติดโซเชียล

ส่งผลให้ยอดผู้ใช้บริการโซเชียลมีเดียเป็นประจำมีมากถึง 34 ล้านคน เพิ่มขึ้น 47% จากเดือน ม.ค. 2557 ที่ผ่านมา โดยในจำนวนนี้มีถึง 30 ล้านคนใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ

"สิ้น มี.ค.ไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 35 ล้านไอดี หรือ 54% ของประชากร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34.6% ติดอันดับที่ 9 ของโลก เป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียที่มี 74 ล้านไอดี และฟิลิปปินส์ 44 ล้านไอดี ส่วนกรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กต่อประชากรมากที่สุดในโลกด้วยจำนวนผู้ใช้กว่า 20 ล้านไอดี จากประชากรแค่ 10 ล้านคน ส่วนทวิตเตอร์มีผู้ใช้ 4.5 ล้านไอดี มีการทวิต 6.6 ล้านครั้ง/วัน อินสตาแกรม 2 ล้านไอดีเพิ่มจากปีก่อน 29% และมีไลน์แอ็กเคานต์ถึง 33 ล้านไอดี"

ด้วยเหตุนี้บรรดาแบรนด์สินค้าต่าง ๆ จึงลงทุนด้านการตลาดผ่านช่องทางเหล่านี้มากขึ้น โดยมี "เฟซบุ๊ก" เป็นเป้าหมายหลัก รองมาคือ "ยูทูบ", "ทวิตเตอร์" และ "อินสตาแกรม" ซึ่งกลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินใช้ช่องทางนี้มากที่สุด

ขณะที่วิธีการทำตลาดก็มีความหลากหลายตั้งแต่การสร้างแฟนเพจบนเฟซบุ๊กเพื่อตอบปัญหา พร้อมสร้างคอนเทนต์ใหม่ หรืออัพโหลดไฟล์วิดีโอไวรัลเพื่อเพิ่มการจดจำแบรนด์ แต่ถึงอย่างไรต้องใช้หลัก ALARM หรือ A (Analysis Market) วิเคราะห์สภาพตลาด, L (Listening Insight) ฟังเสียงผู้บริโภค, A (Action) ปฏิบัติถูกวิธี, R (Real-Time Trends) อยู่ในกระแส และ M (Measurement) ประเมินผลได้ถูกต้องด้วย

โอกาสความสำเร็จใหม่

"ศิวัตร เชาวรียวงษ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด เปิดเผยว่า เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ปี 2558 จะอยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ราว 2 พันล้านบาท หรือ 33% แต่ในจำนวนนี้คิดเป็นเพียง 8% ของมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในประเทศไทยที่สูงกว่าแสนล้านบาท ดังนั้นโอกาสการเติบโตยังมีได้อีกมาก ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้และจีนมีเม็ดเงินประเภทนี้สูงถึง 38% และ 33% ตามลำดับ

และเมื่อเจาะไปที่การเติบโตนี้ จะพบว่า ช่องทางเฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียอื่น ๆ และอินสแตนด์เมสเซจจิ้ง เมื่อรวมกันคิดเป็นเม็ดเงิน 24% ของ 8.1 พันล้านบาท เหนือกว่า"เสิร์ชเอ็นจิ้นมาร์เก็ตติ้ง" แต่น้อยกว่าการซื้อพื้นที่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่คิดเป็น 27%

"ไม่ใช่แค่องค์กรขนาดใหญ่จะหันมาใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำตลาด แต่กลุ่มเอสเอ็มอีก็ยอมลงทุนกับเรื่องนี้เพื่อขยายฐานลูกค้า และจำหน่ายสินค้าที่หาทั่วไปได้ยาก เช่น ขายถ่าน กระดุม หรือผักดองกานาฉ่าย เพราะพวกเขามองว่าเมื่อเกือบทุกคนมีดีไวซ์ที่เข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์กได้ การทำตลาดผ่านวิธีดั้งเดิมอาจไม่ตอบโจทย์เสมอไป"

"วิดีโอ" เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้บริโภค เพราะสามารถนำเสนอข้อมูลได้ตรงจุด และสามารถสร้างกระแส "ไวรัล" ได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรแบรนด์ต่าง ๆต้องการใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อสร้างแบรนด์, เข้าถึงลูกค้า และเพิ่มยอดขายคล้ายกับปีก่อน

โดยตัวอย่างของการใช้แบรนด์ช่วยขับเคลื่อนรายได้ส่วนบุคคลคือ "MAFIA.KEE" หรือนามแฝงของเซลส์ขายรถยี่ห้อฟอร์ด ของศูนย์บริการสาขารัตนาธิเบศร์ ที่สร้างบล็อกขึ้นเองเพื่อรับจองรถยนต์ฟอร์ดทุกรุ่น โดยภายในบล็อกมีการลงคิวอาร์โค้ดของไลน์ เพื่อให้ผู้สนใจสอบถามข้อมูล และลงทุนซื้อโฆษณาบนกูเกิลเสิร์ช ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร เนื่องจากซื้อในบริเวณเดียวกับ "ฟอร์ด" ประเทศไทย ดังนั้นถ้าผลตอบแทนไม่ดีคงไม่ลงทุนเยอะขนาดนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาทำตลาดในช่องทางนี้ได้







ยิ่งใกล้ชิดลูกค้าแบรนด์ยิ่งแกร่ง

ด้าน "ณัฏฐนันท์ พันธุวงศ์" ผู้อำนวยการการตลาดออนไลน์ บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป เปิดเผยว่า การทำตลาดออนไลน์ในขณะนี้ทุกธุรกิจสามารถทำได้ โดยบริษัทเลือกใช้วิธี "เร็ว-เข้าใจง่าย" เป็นแนวทางหลักในการออกแบบการตลาดออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ เช่น ยิงโปรโมชั่นเร็ว หรือเกาะกระแสต่าง ๆ เพื่อให้แบรนด์มีพื้นที่ในตลาด จนทำให้มีผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กถึง 3.5 ล้านไอดี และต้องเพิ่มผู้ดูแลเพจนี้จาก 2 คน เป็น 15 คน ภายใน 3 ปี

ที่สำคัญ "ตัน ภาสกรนที" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ "อิชิตัน กรุ๊ป" ยังเป็นหนึ่งในแอดมินที่คอยตอบคำถามของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มักเข้ามาติชมเรื่องต่าง ๆ จำนวนมากอีกด้วย

"ช่องทางออนไลน์โตเร็วกว่าที่อิชิตันคิดเอาไว้เยอะ เพราะแค่เปิดเพจมาเกือบ 6 ปีก็มีผู้ติดตามเฟซบุ๊กถึง 3.5 ล้านไอดี แม้ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเท่าไหร่นัก แต่เมื่อมีผู้ติดตามเยอะขนาดนี้ การส่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายจึงจำเป็นมากขึ้น และกลายเป็นปัญหาของบริษัท เนื่องจากได้รับการติเรื่องที่ว่าฮาร์ดเซลเกินไป ดังนั้นในปีนี้จะลดเรื่องนี้ลง และเน้นที่การประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น"

สำหรับแผนการลงทุนนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนเรื่องการทำตลาดผ่าน "ไลน์" จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้วางแผน เพราะต้องการจริงจังเพียงช่องทางเดียวก่อน และไม่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณด้วย"

ขณะที่เพจ KFC ที่มีการดูแลลูกค้าได้อย่างถูกอกถูกใจชาวออนไลน์มากมาย "เสมอ สวัสดิ์สาลี" ผู้อำนวยการฝ่ายไอที แบรนด์เคเอฟซี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) กล่าวว่า การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงลูกค้า เพราะปัจจุบันมีผู้ติดตามในเพจ KFC กว่า 37 ล้านไอดีภายในระยะเวลา 4 ปีเศษ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ผ่านการสร้างทีมแอดมิน 24 ชั่วโมง มีทีมมากกว่า 5 คน สลับการตอบคำถามของลูกค้าที่เบื้องต้นจะมีเรื่องแคลอรีในอาหาร จนไปถึงปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าของแบรนด์

ดังนั้นเมื่อ "เคเอฟซี" ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ความแข็งแกร่งของแบรนด์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

"เคเอฟซีลงทุนด้านการตลาดออนไลน์ราว 11-15% ของงบฯการตลาดบริษัท ซึ่งจำนวนนี้จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยจะแปรผันตามจำนวนผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่ออนไลน์ และจะพยายามสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430367549

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.