Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 พฤษภาคม 2558 (บทความ) ผ่าแผนโครงการ USO TOT // TOT รปรับแผนการใช้เทคโนโลยีในโครงการ USO จากเดิมที่ใช้เพียงไฟเบอร์ออปติกในการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปยัง 2 จังหวัดนำร่องดังกล่าวให้สามารถนำคลื่น 2300 MHz ที่ ทีโอทีมีอยู่จำนวน 64 MHz มาทดลองใช้ LTE จำนวน 20 MHz

ประเด็นหลัก


   วุฒิดนัย กล่าวว่า ทีโอทีกำลังจะไปเจรจากับกสทช.ในการปรับแผนการใช้เทคโนโลยีในโครงการ USO จากเดิมที่ใช้เพียงไฟเบอร์ออปติกในการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปยัง 2 จังหวัดนำร่องดังกล่าวให้สามารถนำคลื่น 2300 MHz ที่ ทีโอทีมีอยู่จำนวน 64 MHz มาทดลองใช้ LTE จำนวน 20 MHz เพื่อนำมาเติมเต็มเป็นโครงข่ายเสริมในพื้นที่ที่ไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม ช่วยลดอุปสรรคในการลากสายไฟเบอร์ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งอาจต้องตัดต้นไม้หรือผ่านในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้การวางโครงข่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้น
     
       'ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ส่งแผนการใช้เทคโนโลยีเพื่อดำเนินการติดตั้งโครงข่ายในพื้นที่นำร่องตามข้อกำหนดของแผนทางเทคนิค ที่ กสทช.กำหนดไว้ ซึ่ง กสทช.ได้มีการปรับแผนการดำเนินการตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยไม่มีการปรับลดวงเงิน ดังนั้น ทีโอที จึงเตรียมการจะยื่นแผนใหม่ให้ กสทช.พิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จากเดิมเป็นเทคโนโลยีระบบ TDMA มาเป็นเทคโนโลยีระบบ LTE เนื่องจากเดิมการใช้เทคโนโลยี TDMA สามารถรองรับการใช้งานได้เพียงบริการด้านเสียง (วอยซ์) แต่เมื่อเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นระบบ LTE จะสามารถรองรับได้ทั้งบริการวอยซ์ และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) ได้ดีกว่า'
     
       ***หวังสร้างรายได้ระยะยาว
     
       ในระยะยาว สายงาน USOของทีโอที มีเป้าหมายให้ทีโอที เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยทั่วถึงทั่วประเทศ เพื่อรองรับนโยบาย Digital Economy หรือการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทรัพยากรโครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนได้เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานรัฐ และ เอกชน ทำให้รับทราบข้อมูล ที่เป็นประโยชน์โดยตรงและไม่บิดเบือน รวมถึงจัดหาคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และ ประชาชนทั่วไป นับเป็นการพัฒนาท้องถิ่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และ วัฒนธรรม สามารถนำความเจริญเข้าไปสู่ทุกพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืน
     
       โอกาสทางธุรกิจของทีโอที จากการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง คือโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสงส่วนเพิ่ม จากการให้บริการUSO ตามที่ กสทช.กำหนดสามารถนำมาหารายได้เพิ่มเติม จากการให้เช่าใช้เส้นใยแก้วนำแสง ในลักษณะ Wave Length หรือ Bit Stream หรือ Dark Fiberให้กับผู้ให้บริการทีวีดิจิตอล หรือ ธุรกิจต่างๆที่อาจขยายตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน นอกจากนี้ ยังสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTX แก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่ด้วย


_____________________________________________________

















ผ่าแผนโครงการ USO TOT (Cyber Weekend)



        เป็นที่ชัดเจนและมีความเป็นไปได้สูงแล้วที่โครงการติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ในโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลมาด้วยมูลค่าโครงการ 429 ล้านบาท นั้น จะเริ่มดำเนินการได้ทันที่เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ปลดล็อกคำสั่งชะลอโครงการ เพราะขณะนี้บอร์ดทีโอทีได้มีมติอนุมัติ ให้จัดตั้งสายงานบริการเพื่อสังคมและประโยชน์สาธารณะ หรือ สายงาน USOเพื่อขับเคลื่อนโครงการภายใต้การคุมบังเหียนของ 'วุฒิดนัย ฐิตะกสิกร' รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที
     
       ***เร่งวางโครงข่ายภายใน 1 ปี
     
       วุฒิดนัย กล่าวถึงแผนการดำเนินงานภายใต้สายงานใหม่นี้ว่า ในระยะแรก สายงานUSO จะเร่งดำเนินการตามที่ ทีโอที ได้เสนอราคาประมูลต่ำที่สุดต่อกสทช. เพื่อขอเป็นผู้ดำเนินการให้บริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) ในโครงการนำร่อง ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก และ จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 4 โครงการคือ 1.โครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะโดยทั่วถึง จ.พิษณุโลก ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ 51 หมู่บ้าน จำนวน 102 เลขหมาย
     
       2.โครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะโดยทั่วถึง จ.หนองคาย ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ 6 หมู่บ้าน จำนวน 12 เลขหมาย 3.โครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จ.พิษณุโลก จัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USONET) 13 แห่ง และ จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ต (โรงเรียน/อนามัย/อบต.) 232 แห่ง และ 4.โครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จ.หนองคาย จัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USONET) 6 แห่ง และ จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ต (โรงเรียน/อนามัย/อบต.) 108 แห่ง

ผ่าแผนโครงการ USO TOT (Cyber Weekend)

        โครงการนี้ต้องจัดให้มีบริการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งทีโอทีจะเชื่อมโยงวงจรความเร็วสูงด้วยโครงข่ายใยแก้วนำแสง ไปยังตำบลต่างๆที่เป็นเป้าหมายในจังหวัดหนองคาย และ จังหวัดพิษณุโลก และเชื่อมต่อ เข้ากับ internet nodeที่ความเร็วระหว่าง node ไม่ต่ำกว่า 1Gbps และต้องสามารถขยายไปที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 10 Gbps เพื่อ รองรับการใช้งานในอนาคตได้ นอกจากนี้โครงข่ายดังกล่าวยังเชื่อมต่อเข้าโครงข่ายท้องถิ่น (last mile) ไปยังโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อบต. ที่อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต้องใช้งานได้จริงไม่น้อยกว่า 30/5 Mbps
     
       ทั้งนี้ ทีโอที ได้เตรียมความพร้อมจัดตั้งทีมงานที่มีประสบการณ์ และความรู้ ในการติดตั้ง บำรุงรักษาโครงข่าย เพื่อประสานงานกับ สำนักงาน กสทช. และ ชุมชนอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งจัดทำแผนการดำเนินงานให้ สอดคล้องกับสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) ที่ กสทช.กำหนด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย ทันกำหนดเวลา โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงานจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ ใน 2 จังหวัดนำร่อง 6 เดือน และ จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน 2 จังหวัดนำร่องภายใน 1 ปี
     
       'ขณะนี้สายงานที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่กำลังเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อ ให้ทีมมีความพร้อมที่สุดก่อนจะดำเนินการเซ็นสัญญากับกสทช. เพราะหลังจากเซ็นสัญญาแล้วทีโอทีต้องติดตั้งให้ทันกับกำหนดการในทีโออาร์ โดยเบื้องต้นต้องนำแผนของโครงการเสนอให้คณะกรรมการแผนยุทธศาสตร์ทีโอที เห็นชอบก่อน ซึ่งหลังจากเซ็นสัญญาแล้วภายใน 15 วัน ทีโอทีจะต้องส่งแผนการติดตั้งโครงการให้กสทช. และจะขอเบิกเงินล่วงหน้า 15% ของมูลค่าโครงการเพื่อเดินหน้าโครงการต่อไป'
     
       นอกจากนี้ ทีโอที จะจัดอบรมให้ผู้จัดการศูนย์ USONET และชุมชน สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชั่นเบื้องต้นได้ เพื่อสามารถนำความรู้ไปต่อยอด และใช้ประโยชน์ในการหารายได้ให้ชุมชน รวมถึงมีโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกันกับประชาชนในเขตเมือง

ผ่าแผนโครงการ USO TOT (Cyber Weekend)

        ***จ่อเสนอแผนนำความถี่ 2300 MHz มาใช้งาน
     
       วุฒิดนัย กล่าวว่า ทีโอทีกำลังจะไปเจรจากับกสทช.ในการปรับแผนการใช้เทคโนโลยีในโครงการ USO จากเดิมที่ใช้เพียงไฟเบอร์ออปติกในการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไปยัง 2 จังหวัดนำร่องดังกล่าวให้สามารถนำคลื่น 2300 MHz ที่ ทีโอทีมีอยู่จำนวน 64 MHz มาทดลองใช้ LTE จำนวน 20 MHz เพื่อนำมาเติมเต็มเป็นโครงข่ายเสริมในพื้นที่ที่ไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม ช่วยลดอุปสรรคในการลากสายไฟเบอร์ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งอาจต้องตัดต้นไม้หรือผ่านในพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้การวางโครงข่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้น
     
       'ที่ผ่านมา ทีโอที ได้ส่งแผนการใช้เทคโนโลยีเพื่อดำเนินการติดตั้งโครงข่ายในพื้นที่นำร่องตามข้อกำหนดของแผนทางเทคนิค ที่ กสทช.กำหนดไว้ ซึ่ง กสทช.ได้มีการปรับแผนการดำเนินการตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยไม่มีการปรับลดวงเงิน ดังนั้น ทีโอที จึงเตรียมการจะยื่นแผนใหม่ให้ กสทช.พิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้จากเดิมเป็นเทคโนโลยีระบบ TDMA มาเป็นเทคโนโลยีระบบ LTE เนื่องจากเดิมการใช้เทคโนโลยี TDMA สามารถรองรับการใช้งานได้เพียงบริการด้านเสียง (วอยซ์) แต่เมื่อเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นระบบ LTE จะสามารถรองรับได้ทั้งบริการวอยซ์ และบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) ได้ดีกว่า'
     
       ***หวังสร้างรายได้ระยะยาว
     
       ในระยะยาว สายงาน USOของทีโอที มีเป้าหมายให้ทีโอที เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยทั่วถึงทั่วประเทศ เพื่อรองรับนโยบาย Digital Economy หรือการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทรัพยากรโครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการรับส่งข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนได้เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานรัฐ และ เอกชน ทำให้รับทราบข้อมูล ที่เป็นประโยชน์โดยตรงและไม่บิดเบือน รวมถึงจัดหาคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และ ประชาชนทั่วไป นับเป็นการพัฒนาท้องถิ่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และ วัฒนธรรม สามารถนำความเจริญเข้าไปสู่ทุกพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืน
     
       โอกาสทางธุรกิจของทีโอที จากการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง คือโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสงส่วนเพิ่ม จากการให้บริการUSO ตามที่ กสทช.กำหนดสามารถนำมาหารายได้เพิ่มเติม จากการให้เช่าใช้เส้นใยแก้วนำแสง ในลักษณะ Wave Length หรือ Bit Stream หรือ Dark Fiberให้กับผู้ให้บริการทีวีดิจิตอล หรือ ธุรกิจต่างๆที่อาจขยายตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน นอกจากนี้ ยังสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTX แก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่ด้วย

ผ่าแผนโครงการ USO TOT (Cyber Weekend)

        อย่างไรก็ตามเมื่อทีโอที มีหน้าที่ต้องดำเนินการตามนโยบายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐได้อย่างเท่า เทียมดังนั้นทีโอทีจึงเตรียมแผนเสนอขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงไอซีที ให้พิจารณาใช้โครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสงส่วนเพิ่มที่ทีโอที ได้ลงทุนในโครงการ USO เพื่อ รองรับโครงการต่างๆที่สนับสนุนนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
     
       ยกตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในระบบและนอกระบบ ร่วมกับสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบ Massive Open Online Course (MOOC) โครงการลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยระบบการเรียนบนสื่อสารออนไลน์ (e-Learning) โครงการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของประชาชนด้วยระบบโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต (IPTV) Smart Classroom เป็นต้น รวมถึง สนับสนุนโครงข่ายเพื่อการบูรณาการข้อมูลให้เชื่อมโยงของทุกหน่วยงานภาครัฐเพื่อการบริหารประเทศ สนับสนุนโครงข่ายและเนื้อหา เพื่อรองรับการปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดการบูรณาการทำงานในระดับชุมชนอย่างแท้จริง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ทีโอทีอาจขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนา ดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ตามกฎหมาย เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามแผนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
     
       ที่สำคัญหากโครงการดังกล่าวดำเนินการสำเร็จสายงานUSOจะเป็น 1 ใน 3 ของสายงานธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับทีโอทีนอกเหนือจากธุรกิจไฟเบอร์ออปติกและธุรกิจโมบายล์ที่ทีโอทีหวังว่าจะเป็นรายได้สำคัญของบริษัทในอนาคต
     

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000046622

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.