Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 พฤษภาคม 2558 นีลเส็น.ยุวดี ระบุ พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคไทยพบว่า ปริมาณการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเฉพาะเดือนมกราคม-มีนาคม 2558 เพิ่มเป็น 365 MB ต่อวันต่อคน

ประเด็นหลัก



นางสาวยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจเทเลคอมและเทคโนโลยี บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคไทยเชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 1,081 คนในแถบจังหวัดหัวเมืองหลัก ๆ อายุ 16-64 ปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557-มีนาคม 2558 พบว่าแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพฤติกรรมดังกล่าวมีผลให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล การซื้อสินค้า หรือแม้กระทั่งการสั่งอาหาร



จากการศึกษาพบว่า 5 เทรนด์ที่กำลังจะได้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ คนจะเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น แนวโน้มนี้จะโตขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ครอบครองสมาร์ทโฟน 58% ของประชากรทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 49% โดยกลุ่มอายุ 16-34 ปีมีสัดส่วนถือครองสมาร์ทโฟน 80% และอายุ 35 ปีขึ้นไปเพียง 42%

ตามด้วยผู้บริโภคทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกพื้นที่ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเฉพาะเดือนมกราคม-มีนาคม 2558 เพิ่มเป็น 365 MB ต่อวันต่อคน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 200 MB ต่อวันต่อคน และใน 1 เดือนผู้บริโภค 1 คนใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 11 GB หากพิจารณาตามช่วงเวลาพบว่าตั้งแต่ 18.00-22.00 น.เป็นช่วงเวลาที่คนใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด

นางสาวยุวดีกล่าวต่อว่า จำนวนการใช้เวลากับสมาร์ทโฟนจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน หรือประมาณ 232 นาทีต่อวัน เน้นไปที่การใช้เพื่อติดต่อสื่อสารและความบันเทิงเป็นหลัก หากแบ่งตามสัดส่วนพบว่า ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารสูงสุดถึง 94 นาทีต่อวัน แอปพลิเคชั่น62 นาที เพื่อความบันเทิง 54 นาที ท่องเว็บไซต์ 14 นาที และหาบริการและบริหารจัดการต่าง ๆ 8 นาที ส่วนแอปพลิเคชั่นที่ใช้สื่อสารใน 1 วัน สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ไลน์ 74 นาที เฟซบุ๊ก 38 นาที บีทอล์ค 19 นาที ยูทูบ 14 นาที และไลน์ เกมเศรษฐี 11 นาที









_____________________________________________________

















คนไทยติดแชต 4 ชม./วัน-ช็อปสินค้าออนไลน์ฮิต ส่งธุรกิจเอ็มคอมเมิร์ซมาแรง!


"นีลเส็น" เปิดวิจัยคนเสพติดสมาร์ทโฟนพุ่ง 232 นาทีต่อวัน ไลน์ครองแชมป์แอปพลิเคชั่นสูงสุดที่คนใช้ติดต่อสื่อสาร ขณะที่แนวโน้มธุรกิจเอ็มคอมเมิร์ซมาแรงหลังพฤติกรรมคนเปลี่ยน นิยมช็อปออนไลน์ ง่าย รวดเร็ว แนะแบรนด์สินค้าเข้มกลยุทธ์ เพิ่มงบฯโฆษณาออนไลน์ อย่าตกเทรนด์

นางสาวยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจเทเลคอมและเทคโนโลยี บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคไทยเชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 1,081 คนในแถบจังหวัดหัวเมืองหลัก ๆ อายุ 16-64 ปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557-มีนาคม 2558 พบว่าแนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพฤติกรรมดังกล่าวมีผลให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล การซื้อสินค้า หรือแม้กระทั่งการสั่งอาหาร



จากการศึกษาพบว่า 5 เทรนด์ที่กำลังจะได้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ คนจะเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น แนวโน้มนี้จะโตขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ครอบครองสมาร์ทโฟน 58% ของประชากรทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 49% โดยกลุ่มอายุ 16-34 ปีมีสัดส่วนถือครองสมาร์ทโฟน 80% และอายุ 35 ปีขึ้นไปเพียง 42%

ตามด้วยผู้บริโภคทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกพื้นที่ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณการใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเฉพาะเดือนมกราคม-มีนาคม 2558 เพิ่มเป็น 365 MB ต่อวันต่อคน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 200 MB ต่อวันต่อคน และใน 1 เดือนผู้บริโภค 1 คนใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 11 GB หากพิจารณาตามช่วงเวลาพบว่าตั้งแต่ 18.00-22.00 น.เป็นช่วงเวลาที่คนใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด

นางสาวยุวดีกล่าวต่อว่า จำนวนการใช้เวลากับสมาร์ทโฟนจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน หรือประมาณ 232 นาทีต่อวัน เน้นไปที่การใช้เพื่อติดต่อสื่อสารและความบันเทิงเป็นหลัก หากแบ่งตามสัดส่วนพบว่า ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารสูงสุดถึง 94 นาทีต่อวัน แอปพลิเคชั่น62 นาที เพื่อความบันเทิง 54 นาที ท่องเว็บไซต์ 14 นาที และหาบริการและบริหารจัดการต่าง ๆ 8 นาที ส่วนแอปพลิเคชั่นที่ใช้สื่อสารใน 1 วัน สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ไลน์ 74 นาที เฟซบุ๊ก 38 นาที บีทอล์ค 19 นาที ยูทูบ 14 นาที และไลน์ เกมเศรษฐี 11 นาที

ขณะเดียวกัน การเติบโตดังกล่าวทำให้ธุรกิจเอ็มคอมเมิร์ซ (Mobile Electric Commerce) เป็นอีกโอกาสที่สำคัญสำหรับสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ พบว่าการใช้บริการธุรกรรมธนาคารสูงขึ้น เฉพาะไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มเป็น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 8% การชำระเงินผ่านมือถือก็เพิ่มเป็น 12% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนที่ 7% และการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ เพิ่มเป็น 23% จากเดิม 11%

"ช่องทางเอ็มคอมเมิร์ซขยายตัวขึ้น แบรนด์หรือสินค้าก็ควรจะเพิ่มช่องทางนี้ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ถ้าคู่แข่งยังไม่เริ่ม หรือตลาดยังไม่มา ก็ต้องเป็นผู้บุกเบิก เพื่อตั้งรับและให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยต้องการความสะดวก รวดเร็ว และง่าย"

สุดท้ายการลงโฆษณาผ่านช่องทางสมาร์ทโฟนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่าผู้บริโภครับรู้โฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 47% เป็น 54% แบ่งเป็นช่องทางคือการรับชมทีวีย้อนหลังผ่านสมาร์ทโฟน 28% แอปพลิเคชั่น 24% โมบายอินเทอร์เน็ต 23% ออนไลน์เกม 18% เอสเอ็มเอส 16% เพลง-วิทยุ 11% และ LBS/GPS 7%

นางสาวยุวดีกล่าวว่า วันนี้พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างเข้มข้นขึ้น ในแง่ของแบรนด์ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาและเพิ่มงบฯโฆษณาผ่านช่องทางนี้มากขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากเม็ดเงินโฆษณาของสื่อดิจิทัลที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่งบฯในส่วนนี้ไม่ได้สูงนัก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยทำให้แบรนด์สามารถวางแผนและเข้าหากลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลามากขึ้น เพื่อให้การวางแผนสื่อมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430115648

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.