Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2558 (บทความ) เทรนด์โซเชียลไม่ตก! เฟซบุ๊กครองใจ 35 ล้านคนไทย ขึ้นแท่นทรงอิทธิพล // ทยถือเป็นประเทศที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับ 9 ด้วยจำนวนผู้ใช้ 35 ล้านคน ขณะที่พม่าถือเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้งานเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยสัดส่วนถึง 191% ด้วยจำนวน 4 ล้านคน

ประเด็นหลัก

ไทยใช้เฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
นายภาวุธ กล่าวอีกว่า การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในระดับโลกนั้น ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 1,300 ล้านคน ถือเป็นโซเชียลที่ทรงอิทธิพลและได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยไทยถือเป็นประเทศที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับ 9 ด้วยจำนวนผู้ใช้ 35 ล้านคน ขณะที่พม่าถือเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้งานเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยสัดส่วนถึง 191% ด้วยจำนวน 4 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้เข้าถึงเฟซบุ๊กในอาเซียน ปัจจุบันอยู่ที่ 212 ล้านคน

คนกรุงฯ ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด!
สำหรับการเข้าถึงเฟซบุ๊กในประเทศไทยนั้น เป็นแนวโน้มการเติบโตแบบกระจายตัวไม่ได้อยู่เฉพาะกรุงเทพฯ แต่ยังได้รับความนิยมในต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ด้วย และปัจจุบันกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 20 ล้านคน สูงสุดในประเทศไทย




_____________________________________________________













เทรนด์โซเชียลไม่ตก! เฟซบุ๊กครองใจ 35 ล้านคนไทย ขึ้นแท่นทรงอิทธิพล



โซเชียลอิงค์ เผยข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก พบคนไทยยังให้ความนิยมเฟซบุ๊กมากสุด ทั้งผู้ใช้ทั่วไปและกลุ่มธุรกิจ แนะจับตาไลฟ์บรอดแคส เทรนด์ใหม่โซเชียล …

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท โซเชียลอิงค์ จำกัด เปิดเผยว่า จากจำนวนประชากรไทยกว่า 70 ล้านคน มีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตราว 35 ล้านคน ขณะที่การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นมีถึง 97 ล้านเลขหมาย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการใช้งานกว่า 150% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร โดยทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กถึง 34 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนการใช้งานประมาณ 52% ของจำนวนประชากร



ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

ไทยใช้เฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
นายภาวุธ กล่าวอีกว่า การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในระดับโลกนั้น ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 1,300 ล้านคน ถือเป็นโซเชียลที่ทรงอิทธิพลและได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยไทยถือเป็นประเทศที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กสูงเป็นอันดับ 9 ด้วยจำนวนผู้ใช้ 35 ล้านคน ขณะที่พม่าถือเป็นประเทศที่มีอัตราการใช้งานเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยสัดส่วนถึง 191% ด้วยจำนวน 4 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้เข้าถึงเฟซบุ๊กในอาเซียน ปัจจุบันอยู่ที่ 212 ล้านคน

คนกรุงฯ ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด!
สำหรับการเข้าถึงเฟซบุ๊กในประเทศไทยนั้น เป็นแนวโน้มการเติบโตแบบกระจายตัวไม่ได้อยู่เฉพาะกรุงเทพฯ แต่ยังได้รับความนิยมในต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ด้วย และปัจจุบันกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 20 ล้านคน สูงสุดในประเทศไทย



โซเชียลอิงค์...นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโซเชียล

19 ปี ฮิตใช้เฟซบุ๊ก 10 โมงเวลาฮอตสำหรับการโพสต์
ส่วนจำนวนผู้ใช้งานแบ่งออกเป็นเพศชาย 17.11 ล้านคน หญิง 17.14 ล้านคน โดยช่วงอายุที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กสูงสุดคือ 19 ปี ด้วยสัดส่วน 1.9 ล้านคน เป็นแนวโน้มเดียวกับผู้ใช้เฟซบุ๊กในอาเซียน ซึ่งช่วงอายุที่นิยมใช้งานอยู่ในระหว่าง 18-19 ปี โดยช่วงเวลาที่คนไทยนิยมโพสต์เฟซบุ๊ก คือ 10.00-10.59 น.

สถิติการใช้โซเชียล...
สำหรับสถิติการใช้งานโซเชียลอื่นๆ ในประเทศไทยนั้น จำนวนผู้ใช้ทวิตเตอร์อยู่ที่ 4.5 ล้านคน อินสตาแกรม 2 ล้านคน ยูทูบ 33 ล้านคลิปที่ถูกอัพโหลดโดยคนไทยและมีจำนวนการอัพโหลดถึง 377 คลิปต่อชั่วโมง และไลน์ 33 ล้านคน

ภาคธุรกิจเลือกใช้เฟซบุ๊กด้วย!
นอกจากความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค เฟซบุ๊กยังได้รับความนิยมในภาคธุรกิจเพื่อใช้ในการทำตลาดและประชาสัมพันธ์ ด้วยสัดส่วนกว่า 77% ขณะที่ยูทูบอยู่ที่ 48% ทวิตเตอร์ 37% และอินสตาแกรม 26% จากสถิติดังกล่าวทำให้เฟซบุ๊กและยูทูบถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการทำตลาดมากกว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ แต่ภาคธุรกิจที่นิยมใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นกลับเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมและผู้ค้ารายย่อย เนื่องจากสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนมากนัก



หลากหลายแอพพลิเคชั่นโซเชียลที่ได้รับความนิยม

จับตา...ไลฟ์บรอดแคส
นอกจากโซเชียลเน็ตเวิร์กจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากความนิยมในการใช้งาน ความพร้อมของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเปิดให้บริการ 3จี 4จี ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วย นอกจากนี้ ยังควรจับตาเทรนด์ที่เรียกว่า ไลฟ์ บรอดแคส (Live Broadcast) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก แบบอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถรับชมสดและอัพหรือแชร์ผ่านโซเชียลได้ทันที ขณะเดียวกัน รูปแบบของอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ (Internet of Things) ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนี้ก็ถือเป็นความท้าทายทางธุรกิจที่สำคัญในปัจจุบัน.


http://www.thairath.co.th/content/494358

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.