Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดเผย ทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์แนวช่วยเหลือการซื้อสินค้าเป็นที่นิยม ทั้งรีวิวสินค้า และเปรียบเทียบราคา เพราะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อ

ประเด็นหลัก

นายปกรณ์ สันติสุนทรกุล อุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์แนวช่วยเหลือการซื้อสินค้าเป็นที่นิยม ทั้งรีวิวสินค้า และเปรียบเทียบราคา เพราะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อของ ยิ่งเทคโนโลยีทำให้การเขียนโค้ดสร้างเว็บขึ้นมาไม่ใช่เรื่องยาก จึงมีผู้ที่มองเห็นโอกาสในการสร้างเว็บรูปแบบต่าง ๆ ตอบสนองความต้องการข้อมูลของผู้ใช้บริการการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ที่มากขึ้นทำให้บางเว็บไซต์ปรับปรุงระบบให้เข้าง่ายขึ้นบางแห่งมีการเข้า ผ่านมือถือในสัดส่วนกว่า80% ทำให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น และส่งเสริมอีคอมเมิร์ซ แต่เว็บข้อมูลรีวิว หรือเว็บเปรียบเทียบราคา เป็นกลุ่มเว็บที่ผู้ให้บริการรายใหม่จะเข้ามาแข่งได้ต้องมีเงินทุนพอสมควร เพราะต้องแข่งกับเจ้าเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ร้านอาหาร, ท่องเที่ยวที่พัก อุปกรณ์ไอที เป็นต้น

"ผมมองว่าเทรนด์เว็บรีวิว และเว็บเทียบราคายังไปได้อีก ไม่ใช่กระแสชั่วคราว เพราะมาพร้อมข้อมูลที่คนต้องการรู้ อยากได้ ในอนาคตจะอยู่ต่อไปอีกหลายปี แต่ต้องพัฒนาข้อมูลให้ฉลาดขึ้น เสมือนเป็นข้อมูลที่มนุษย์จริง ๆ ช่วยเลือกซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่ทุกเว็บที่จะอยู่รอดได้ เว็บที่อยู่รอดและได้รับความนิยมต้องมีส่วนประกอบของ 1.คอนเทนต์เพียงพอ ทราฟฟิกสม่ำเสมอ และ 2.ข้อมูลน่าเชื่อถือมีผู้ใช้ร่วมสร้างสรรค์ด้วย"



_____________________________________________________











เว็บ"รีวิวสินค้า-เทียบราคา"มาแรง "ไทย-เทศ"พรึ่บรับอีคอมเมิร์ซบูม

สำรวจเทรนด์เว็บไซต์สุดฮอต "รีวิวสินค้า-เปรียบเทียบราคา" มาแรงรับ "อีคอมเมิร์ซ" บูม บวกแรงส่งคนไทยใช้สมาร์ทโฟนโตกระฉูด ผู้บริโภคนิยมหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้า ฟากสมรภูมิเว็บเทียบราคาสุดคึกคัก "ทุนไทย-เทศ" แห่บุกตลาด

นายปกรณ์ สันติสุนทรกุล อุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์แนวช่วยเหลือการซื้อสินค้าเป็นที่นิยม ทั้งรีวิวสินค้า และเปรียบเทียบราคา เพราะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อของ ยิ่งเทคโนโลยีทำให้การเขียนโค้ดสร้างเว็บขึ้นมาไม่ใช่เรื่องยาก จึงมีผู้ที่มองเห็นโอกาสในการสร้างเว็บรูปแบบต่าง ๆ ตอบสนองความต้องการข้อมูลของผู้ใช้บริการการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ที่มากขึ้นทำให้บางเว็บไซต์ปรับปรุงระบบให้เข้าง่ายขึ้นบางแห่งมีการเข้า ผ่านมือถือในสัดส่วนกว่า80% ทำให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น และส่งเสริมอีคอมเมิร์ซ แต่เว็บข้อมูลรีวิว หรือเว็บเปรียบเทียบราคา เป็นกลุ่มเว็บที่ผู้ให้บริการรายใหม่จะเข้ามาแข่งได้ต้องมีเงินทุนพอสมควร เพราะต้องแข่งกับเจ้าเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ร้านอาหาร, ท่องเที่ยวที่พัก อุปกรณ์ไอที เป็นต้น

"ผมมองว่าเทรนด์เว็บรีวิว และเว็บเทียบราคายังไปได้อีก ไม่ใช่กระแสชั่วคราว เพราะมาพร้อมข้อมูลที่คนต้องการรู้ อยากได้ ในอนาคตจะอยู่ต่อไปอีกหลายปี แต่ต้องพัฒนาข้อมูลให้ฉลาดขึ้น เสมือนเป็นข้อมูลที่มนุษย์จริง ๆ ช่วยเลือกซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่ทุกเว็บที่จะอยู่รอดได้ เว็บที่อยู่รอดและได้รับความนิยมต้องมีส่วนประกอบของ 1.คอนเทนต์เพียงพอ ทราฟฟิกสม่ำเสมอ และ 2.ข้อมูลน่าเชื่อถือมีผู้ใช้ร่วมสร้างสรรค์ด้วย"

ด้านนายยอด ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด เจ้าของเว็บไซต์รีวิว "วงใน" และ "วงในบิวตี้" กล่าวว่า ผู้ใช้เว็บรีวิวเพิ่มขึ้นจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนที่มากขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น

กรณีเว็บไซต์รีวิวมีเพิ่มขึ้นและลดลงตลอดเวลา เช่น กลุ่มเว็บรีวิวร้านอาหารแบบเดียวกับ "วงใน" มีน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ผู้บริโภคเข้าน้อยลง แต่เป็นเพราะแต่ละกลุ่มมีเจ้าตลาดอยู่แล้ว พวกรายใหม่เลยอยู่ไม่ได้นาน หากต้องการอยู่รอดต้องหาโมเดลอื่น ๆ มาเป็นตัวเสริม เช่น มีบริการจองโต๊ะ, ขายสินค้า เป็นต้น

"ในกลุ่ม เว็บรีวิวสุดท้ายแล้วจะมีผู้ชนะในแต่ละเซ็กชั่นแค่ 1-2 ราย ข้อมูลเป็นปัจจัยหลักที่เป็นตัวตัดสินคุณค่าของเว็บรีวิว การอัพเดตเนื้อหาต่อเนื่อง รวมทั้งโปรดักต์ที่รีวิวต้องน่าสนใจ ถ้ารายใหม่จะเข้ามาอาจไม่สามารถหาข้อมูลได้มากเท่า"

โอกาสของเว็บไซต์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ ต้องพิจารณาว่าบางกลุ่มสินค้าและบริการยังมีโอกาสทางการตลาดหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องการหาพื้นที่ลงโฆษณาหรือเปล่า เช่น กลุ่มบิวตี้ ตลาดค่อนข้างใหญ่มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ผู้ให้บริการเว็บไซต์แนวรีวิวยังไม่เยอะ จึงมีช่องให้เข้าไปได้ แต่ก็มีผู้เล่นที่มีชื่อเสียงแล้ว เช่น ดั้งโด่ง (www.dungdong.com และโดดเด่น www.dodeden.com) เป็นกลุ่มรีวิวเรื่องศัลยกรรม หรือจีบัน (www.jeban.com)รีวิวเรื่องเครื่องสำอาง เป็นต้น แต่มีจุดที่ยังไม่มีคนรีวิว เช่น บริการสปา ร้านทำผม เป็นต้น วงในจึงแตกไลน์ไปยังบิวตี้ หลังเปิดมา5 เดือนมียอดสมาชิก 60,000 คน มีร้านค้าบนเว็บไซต์ 5,000 ร้านค้า

สำหรับเว็บรีวิวร้านอาหาร "วงใน" เปิดมาแล้ว 5 ปี ในช่วง 3 ปีหลังการใช้ผ่านมือถือเข้ามามีอิทธิพลมากกับการเติบโตของเว็บไซต์ ปัจจุบันเป็นช่องทางที่มีผู้ใช้งานถึง 70% ฐานผู้ใช้ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 3 เท่า มีฐานข้อมูลร้านค้า 180,000 แห่ง เพิ่มจาก 50,000 ร้านค้าในปี 2556

"เราเน้นการเติบโตของเว็บมากกว่าที่จะหารายได้ ปัจจุบันรายได้มาจากค่าโฆษณา ในอนาคตจะมีจองร้านและขายบริการต่าง ๆ ด้วย ส่วนวงในบิวตี้เริ่มหารายได้จากโฆษณาปีนี้ แต่จะต้องไม่สร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้งาน"

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาไพรซ์ซ่า (www.priceza.com) เปิดเผยว่า เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาเริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยมากขึ้น แต่มีในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมานานแล้ว เพราะเป็นเรื่องปกติที่คนจะซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์ หรือออฟไลน์จะเข้าไปเช็กราคาบนเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาก่อน โดยไพรซ์ซ่าเป็นเจ้าแรกที่เข้ามาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการใช้งาน 3.5 ล้านครั้ง/เดือน

ปัจจัยทำให้โตขึ้นมาจากผู้ใช้เริ่มคุ้นเคยกับอีคอม เมิร์ซ การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยและอาเซียนมีสูงถึงปีละ 25% ทำให้มูลค่าเงินที่ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซจะใช้ไปกับการโฆษณาเพิ่มขึ้น และเป็นมูลค่าโดยตรงที่ทำให้เว็บเปรียบเทียบราคามีตลาด ทำให้ในปีนี้มีกลุ่มทุนทั้งไทยและทุนนอกเข้ามาเปิดให้บริการ ซึ่งในแง่ดียิ่งทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่รายเดิมยิ่งต้องพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ดึงดูดผู้ใช้งานเดิมไว้

สำหรับไพรซ์ซ่ามีส่วนแบ่งตลาดกว่า 85% โดยสินค้าที่นิยมค้นหา 40% เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 30% เป็นแฟชั่น และ 20% เป็นเครื่องสำอาง ซึ่งการดูข้อมูลจากเว็บเทียบราคาจะเป็นเทรนด์ที่แม้แต่การซื้อสินค้าออฟไลน์ เช่น เดินห้าง ก็จะหยิบมือถือขึ้นมาหาราคาบนอินเทอร์เน็ต

ปีที่ผ่านมาบริษัทระดมทุน 20 ล้านบาทจากไซเบอร์อเจนส์ วีซีจากญี่ปุ่น เพื่อนำมาปรับปรุงบริการ เช่น ไตรมาส 2 จะมีระบบสะสมแต้มของสมาชิกให้นำไปเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้ากับร้านที่ร่วม รายการ ต่อยอดจากระบบสมาชิกเดิม ปัจจุบันมีจำนวน 400,000 คน และไตรมาส 3-4 เตรียมเพิ่มฟีเจอร์บนแอปพลิเคชั่น"Shopping ค้นหาราคา" สำหรับสแกนบาร์โค้ด ณ จุดขายเพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาบนเว็บ

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานกรรมการบริษัท อีฟราสตรัคเจอร์ จำกัด เจ้าของเว็บไซต์ www.comparison.asia กล่าวว่า บริษัทเปิดเว็บเปรียบเทียบราคา เพราะมองเห็นโอกาสทางการตลาด ปัจจุบันคนไทยมีการหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้ามากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตอาจมีทุนต่างชาติเข้ามาเพิ่ม ทำให้แต่ละรายต้องแข่งขันกันทำงานหนักเพื่อหาจุดเด่นของตนเอง สำหรับ

"คอมแพริสัน" จุดเด่นอยู่ที่สินค้าที่มีการเก็บข้อมูลออฟไลน์มาด้วยในกว่า 100 ร้านค้า และในสิ้นปีนี้จะเพิ่ม 1,000 แห่ง มีสินค้ากว่า 3 ล้านชิ้น ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า, มือถือ และเครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น

นายกฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด เปิดเผยว่า การออกแบบเว็บที่ต้องคำนึงถึงในปีนี้ คือ ต้องรองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้เต็มรูปแบบ เพราะการเข้าเว็บไซต์มาจากโทรศัพท์มือถือมากกว่าครึ่ง หากวางเลย์เอาต์หรือคอนเทนต์ต่างๆไม่สอดคล้องกับการใช้ผ่านอุปกรณ์นี้ โอกาสที่ผู้บริโภคจะเข้ามาอ่านก็จะน้อยลงโดยอัตโนมัติ

ปัจจุบัน มีเว็บไซต์เฉพาะทางทั้งเว็บรีวิวและเว็บเปรียบเทียบราคา แต่เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นวาไรตี้ทั่วไปยังมีผู้บริโภคต้องการเข้ามากที่ สุด เพราะมีเนื้อหาหลากหลาย และมีระบบในการสร้างรายได้ผ่านการหาโฆษณาลงในเว็บ คาดว่าปีนี้จะมีเว็บในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาก




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429280263

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.