Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 GrabTaxi ระบุ เข้ามาทำตลาดไทยตั้งแต่ ส.ค. 2556 ปัจจุบันมีรถแท็กซี่เข้าร่วมกว่า 15,000 คัน และได้มีบริการใหม่ๆ ให้ลูกค้าต่อเนื่อง เมื่อ ก.พ. เพิ่มบริการ GrabXLรถตู้ 12 ที่นั่ง ราคาเริ่มต้น 150 บาท

ประเด็นหลัก





_____________________________________________________











"แกร็บแท็กซี่" รุกตลาดเต็มสูบ เร่งเพิ่มบริการ "ลิมูซีน-รับส่งสินค้า"



เดินหน้ารุกตลาดอย่างต่อเนื่องสำหรับ "แกร็บแท็กซี่" ไม่ใช่แค่บริการเรียก "แท็กซี่" ธรรมดา ๆ

"วีร์ จารุนันท์ศิริ" ผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นเรียกแท็กซี่ เปิดเผยว่า เข้ามาทำตลาดไทยตั้งแต่ ส.ค. 2556 ปัจจุบันมีรถแท็กซี่เข้าร่วมกว่า 15,000 คัน และได้มีบริการใหม่ๆ ให้ลูกค้าต่อเนื่อง

เมื่อ ก.พ. เพิ่มบริการ GrabXLรถตู้ 12 ที่นั่ง ราคาเริ่มต้น 150 บาท

ล่าสุดเปิดตัว GrabCar บริการเรียกรถลิมูซีน หลังเปิดให้ผู้ที่มีรถลิมูซีน หรือบริษัทที่ให้บริการรถประเภทนี้มาลงทะเบียนเป็นเครือข่ายตั้งแต่ ต.ค.ปีที่แล้ว และทดลองให้บริการเมื่อ ม.ค.ที่ผ่านมา เป็นรถขนาดเครื่องตั้งแต่ 2,000 ซีซีขึ้นไป เช่น โตโยต้า คัมรี่, เมอร์เซเดส-เบนซ์ ค่าบริการเริ่มต้น 75 บาท เพิ่มขึ้น 12.5 บาท/กม. ใน 10 กม.แรก ไม่คิดค่าบริการเพิ่มจากระยะเวลา เรียกใช้งานผ่าน GrabTaxi ได้

ระหว่างการทดลอง (1 ม.ค.-31 มี.ค.) เติบโตถึง 3 เท่าตัว มีการเรียกใช้งาน GrabCar 1 ครั้ง/นาที มีรถเข้าโครงการเพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งคนขับต้องมีใบขับขี่สาธารณะ และรถทุกคันต้องจดทะเบียนเป็นรถบริการทัศนาจร ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 หรือรถป้ายทะเบียนสีเขียว

ไม่ใช่แค่นั้น พ.ค.นี้จะเปิดตัวบริการรับส่งเอกสาร หลังทดลองตลาดตั้งแต่ปลาย มี.ค. ค่าบริการเริ่มต้น 35 บาท/ครั้ง รับส่งเอกสารได้ทั่วกรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับ Alpha Fast ผู้ให้บริการรับส่งเอกสาร เนื่องจากเห็นโอกาสที่ไทยมีวินมอเตอร์ไซค์รับส่งเอกสารเยอะ แต่ไม่มีการคิดราคาเป็นระบบ

นายวีร์กล่าวว่า การเพิ่มบริการใหม่จะช่วยให้อัตราการเรียกใช้งานภายในระบบของบริษัทเพิ่มกว่า 10 เท่าตัว มากกว่าปีก่อน โดยบริการเรียกแท็กซี่ทั่วไปยังเป็นฐานหลักกว่า 50% และจะทำตลาดร่วมกับ "ทรู มูฟเอช" ให้สมาร์ทโฟน และบริการดาต้าฟรี พร้อมข้อเสนอพิเศษในการซื้อเครื่อง

"การแข่งขันหนักในกลุ่มแอปพลิเคชั่นเรียกแท็กซี่ เราต้องหากิจกรรมการตลาดใหม่ ๆ ทั้งฝั่งผู้ใช้ และผู้ขับเพื่อเพิ่มยอดการเรียกใช้งาน เช่น ออกโปรโมชั่นลดราคาให้ผู้ใช้ และแจกสมาร์ทโฟนให้ผู้ขับ รวมถึงเพิ่มทีมงานหลังบ้านจาก 30 คน เป็น 100 คน เพื่อพัฒนาระบบให้ดีขึ้น มีคนไปอบรมการใช้งานให้ผู้ขับรถแท็กซี่ที่สนใจเข้ามาร่วม มีศูนย์ใหญ่ที่อยู่ถนนเพชรบุรี และศูนย์ย่อยกระจายในปั๊มเอ็นจีวีต่าง ๆ"

สำหรับรายได้ของบริษัทมาจากการหักค่าธรรมเนียม เช่น การเรียกแท็กซี่แต่ละครั้งมีค่าธรรมเนียม 25 บาท แบ่งคนละครึ่งกับแท็กซี่ ส่วนบริการอื่น ๆ จะมีการหักจากค่าบริการตามความเหมาะสม

"ปัญหาเรื่อง กม. เข้าไปคุยกับกรมการขนส่งทางบกแล้ว และเสนอให้เพิ่มข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกแท็กซี่ด้วยแอปพลิเคชั่นได้ ส่วนรถป้ายทะเบียนสีเขียวไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากผู้ขับมีใบขับขี่สาธารณะจดทะเบียนรถถูกต้อง ถึงตอนนี้แท็กซี่ที่เรียกผ่านแอปจะแค่ 1% จากกว่า 1 แสนคัน แต่การเติบโตของสมาร์ทโฟนเร็วมาก ในกรุงเทพฯมีกว่า 60% และจะเพิ่มขึ้นอีกทำให้โอกาสการเรียกแท็กซี่ผ่านแอปน่าจะสูงขึ้น เพราะรู้ตำแหน่งผู้โดยสารทำให้ประหยัดน้ำมัน"

ส่วนบริการในต่างจังหวัด เริ่มที่พัทยาปลายปี 2555 ทดลองให้บริการที่เชียงรายเมื่อต้นปี จากนี้จะเข้าไปที่หัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่, ขอนแก่น และอุบลราชธานี ซึ่งก่อนจะทำตลาดต้องลงระบบแผนที่ และอบรมผู้ขับแท็กซี่ก่อน

"แกร็บแท็กซี่" เริ่มให้บริการในมาเลเซียเมื่อปี 2555 ก่อนขยายมาที่ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ไทย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ รวมทุกประเทศมียอดการเรียกรถ 7 ครั้งทุก 1 วินาที มีดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น 3.8 ล้านครั้ง มีคนขับ 7.5 หมื่นคน



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429160306

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.