Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) CAT ขณะนี้รอความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล เพื่อเลือกโซลูชั่นการลงทุนที่เหมาะสม ก่อนเสนอให้ ครม.อนุมัติ โดยจะใช้กระแสเงินสดที่มีหรือกู้เงินเพิ่มในบางส่วน ลงทุนอุปกรณ์เพิ่มอีกราว 16,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



นายวิโรจน์ โตเจริญวานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เริ่มเจรจาหาพาร์ตเนอร์พร้อมวางแผนการลงทุนเพื่อเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้น พ.ย.นี้แล้ว ขณะนี้รอความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล เพื่อเลือกโซลูชั่นการลงทุนที่เหมาะสม ก่อนเสนอให้ ครม.อนุมัติ โดยจะใช้กระแสเงินสดที่มีหรือกู้เงินเพิ่มในบางส่วน

"คลื่น 1800 MHz ตามสัมปทานดีแทคจะหมดปี 2561 ส่วนคลื่น 850 MHz กสทฯ ใช้ได้ถึงปี 2568 จึงต้องมองหาคลื่นใหม่มาเสริมธุรกิจโมบาย ทั้งบรรดา MVNO ที่เจรจาอยู่ก็ต่างต้องการ 4G ด้วยทั้งนั้น จึงจะเข้าประมูลเพื่อนำมาใช้บนโครงข่าย 850 MHz ที่มีอยู่แล้ว ลงทุนอุปกรณ์เพิ่มอีกราว 16,000 ล้านบาท ก็จะให้บริการได้ครอบคลุม 90% ของประชากร โดยจะให้บริการในรูปแบบขายส่ง"

_____________________________________________________











CAT ทุ่ม 1.6 หมื่นล้านชิงคลื่น 4G ทีโอทีเทเฉียด 9 พันล. เออร์ลี่รีไทร์


กสทฯ ลุยประมูล 4G ตุนคลื่นใหม่เสริมแกร่งธุรกิจ "โมบาย-MVNO" เทปีแรก 16,000 ล้านบาทปูพรม 90% ได้ทันที พร้อมเปิดทางเจรจาดีแทคอัพเกรดสัมปทานเป็น 4G ฟากทีโอทีอนุมัติแผนเออร์ลี่รีไทร์ 2 ปี 3,500 คน งบฯ 8,900 ล้านบาท

นายวิโรจน์ โตเจริญวานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เริ่มเจรจาหาพาร์ตเนอร์พร้อมวางแผนการลงทุนเพื่อเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้น พ.ย.นี้แล้ว ขณะนี้รอความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล เพื่อเลือกโซลูชั่นการลงทุนที่เหมาะสม ก่อนเสนอให้ ครม.อนุมัติ โดยจะใช้กระแสเงินสดที่มีหรือกู้เงินเพิ่มในบางส่วน

"คลื่น 1800 MHz ตามสัมปทานดีแทคจะหมดปี 2561 ส่วนคลื่น 850 MHz กสทฯ ใช้ได้ถึงปี 2568 จึงต้องมองหาคลื่นใหม่มาเสริมธุรกิจโมบาย ทั้งบรรดา MVNO ที่เจรจาอยู่ก็ต่างต้องการ 4G ด้วยทั้งนั้น จึงจะเข้าประมูลเพื่อนำมาใช้บนโครงข่าย 850 MHz ที่มีอยู่แล้ว ลงทุนอุปกรณ์เพิ่มอีกราว 16,000 ล้านบาท ก็จะให้บริการได้ครอบคลุม 90% ของประชากร โดยจะให้บริการในรูปแบบขายส่ง"

ส่วนที่ทางดีแทคยื่นเรื่องขอปรับปรุงการใช้คลื่น 1800 MHz ในสัมปทานเพื่อให้บริการ 4G นั้น กำลังเจรจาคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับการเจรจาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

แต่แนวคิดที่ดีแทคต้องการจะคืนคลื่น 1800 MHz เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ทาง กสทฯจะทำหนังสือคัดค้านไปยัง กสทช.แน่นอน เพราะคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นสิทธิของบริษัท หากจะเรียกคืนคลื่นก็จำเป็นต้องเจรจามาตรการเยียวยาที่เหมาะสม ไม่ให้ซ้ำรอยกับมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทานทรูมูฟกับดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ของ กสทช. ที่ผ่านมา 2 ปีแล้วบริษัทก็ยังไม่ได้ค่าเช่าโครงข่ายกว่า 11,000 ล้านบาท

"กสทฯ ต้องปรับตัวรับนโยบายของ กนร. (คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ทั้งเรื่องจะรวมให้เป็น 1 ใน 13 รัฐวิสาหกิจนำร่องในซูเปอร์โฮลดิ้ง นโยบายรวมโครงข่ายให้เป็นบรอดแบนด์แห่งชาติ ซึ่งคงต้องรอรายละเอียดก่อน ที่ทำตอนนี้คือประหยัดงบประมาณให้ได้ 10% ตามนโยบาย ส่วนการจะปรับลดจำนวนพนักงาน คงลดไม่มาก เพราะเออร์ลี่รีไทร์ต้องใช้งบประมาณมาก กระทบกับนโยบายให้ลดค่าใช้จ่ายองค์กร"

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงภายใน บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดล่าสุด (8 เม.ย.) อนุมัติโครงการให้พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนด (เออร์ลี่รีไทร์) โดยปีนี้จะลดพนักงานลง 2,000 คน ใช้งบประมาณ 5,900 ล้านบาท ปี 2559 ลดพนักงานลง 1,500 คน ใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429160532

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.