Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 (บทความ) เปิดรายงานซูเปอร์บอร์ด "กสทช." "มือเติบ-ไร้แผน-ปกปิดข้อมูล" // ปี 2555-2557 รวม 811 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับไอที ปี 2556-2557 รวม 877 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับการแจกคูปอง มูลค่า 162 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



ปี 2555-2557 รวม 811 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับไอที ปี 2556-2557 รวม 877 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับการแจกคูปอง มูลค่า 162 ล้านบาท ซึ่งตรวจสอบทั้งความจำเป็นและกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้อำนาจในการแบ่งซื้อแบ่งจ้างเพื่อเลี่ยงการระเบียบพัสดุ

ทั้งยังไม่ปรากฏว่าสำนักงาน กสทช.ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เชื่อมโยงกับการออกกฎกติกาในการกำกับดูแลของ กสทช. ไม่ปรากฏการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันในตลาดที่ระบุถึงการครอบงำกิจการ การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านของทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงตั้งข้อสังเกตว่า การอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติอนุญาตโดยไม่มีหลักเกณฑ์รองรับ

_____________________________________________________











เปิดรายงานซูเปอร์บอร์ด "กสทช." "มือเติบ-ไร้แผน-ปกปิดข้อมูล"



เมื่อ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันครบกำหนดที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ของ กสทช. ที่ต้องส่งรายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการปฏิบัติงานประจำปี 2557 เพื่อเสนอต่อ สนช.

โดย "พลเอกบุณยวัจน์ เครือหงส์" ประธาน กตป.เปิดเผยว่า รายงานฉบับนี้คือความหวังที่จะผลักดันให้คณะกรรมาธิการ สนช.เข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กสทช.อย่างละเอียด เพราะพบความผิดปกติ แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ ไม่ได้รับความรับมือจากสำนักงาน กสทช. ที่ผ่านมาใช้วิธีเพิกเฉย เมื่อขอข้อมูลไป เนื่องจาก พ.ร.บ. กสทช.เดิมไม่มีบทลงโทษ ทั้งไม่เคยนำข้อท้วงติงตามรายงานของ กตป.ไปแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด



สิ่งที่ กสทช.ต้องเร่งแก้ไขคือเปิดเผยข้อมูล และปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วน เพราะการละเลยทำให้เกิดปัญหาสั่งสม อาทิ การจัดระเบียบการใช้คลื่นตามมาตรา 82-84 ทำให้หาคลื่นที่เหมาะสมประมูล 4G ไม่ได้"

จากการตรวจสอบพบว่าสำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช.หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ทั้งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้าเกินสมควร ไม่มีการเปิดเผยผลการศึกษาวิจัยที่จ้างหน่วยงานภายนอก ไม่เปิดเผยรายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาเป็นรายบุคคล ที่เปิดเผยก็เป็นข้อมูลเก่า

และไม่ได้นำแผนแม่บทไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติงานที่จะเป็น กรอบแนวทางในการตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยไม่มีแผนปฏิบัติงาน ขณะที่การประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช.ตามโครงการจัดการตัวชี้วัดและประเมินผลตัวชี้วัดประจำปี 2557 ที่จัดจ้างหน่วยงานภายนอกมาดำเนินการก็ไม่ได้มีการจัดทำตามหลักการประเมินผลงานที่ต้องเตรียมล่วงหน้า และมีค่าใช้จ่ายถึง 7.69 ล้านบาท ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการประเมินหน่วยงานอื่น

การบริหารงานบุคคลไม่มีการกำหนดลักษณะงาน รวมถึงตำแหน่ง (Job description) และการประเมินผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร ประเมินอัตรากำลังขาดความชัดเจน จ้างเอาต์ซอร์ซจำนวนมาก

ขณะที่การบริหารด้านการเงินในปี 2557 สำนักงาน กสทช.มีค่าใช้จ่ายรวม 14,205 ล้านบาท หรือ 72% ของรายได้รวม เมื่อเทียบค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อพนักงานอยู่ที่ 2.1 ล้านบาท/คน สูงกว่าองค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน อาทิ กสท โทรคมนาคม มีเพียง 0.9 ล้านบาท/คน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าจ้างเหมาบริการเพิ่ม 103% จาก 169 ล้านบาท เป็น 342 ล้านบาท ค่าวัสดุเพิ่มขึ้น 86% จาก 82 ล้านบาท เป็น 153 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น 27% จาก 330 ล้านบาท เป็น 418 ล้านบาท เงินบริจาคและการกุศลเพิ่มขึ้น 23% จาก 104 ล้านบาท เป็น 128 ล้านบาท

ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้างหลายโครงการมีประเด็นที่ควรตั้งข้อสังเกต แต่ กตป.ไม่ได้รับข้อมูลตามที่ร้องขอไปได้แก่ โครงการตรวจสอบคุณภาพสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (QoS) และรถโมบายแล็บ รวม 400 ล้านบาท โครงการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่

ปี 2555-2557 รวม 811 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับไอที ปี 2556-2557 รวม 877 ล้านบาท โครงการเกี่ยวกับการแจกคูปอง มูลค่า 162 ล้านบาท ซึ่งตรวจสอบทั้งความจำเป็นและกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้อำนาจในการแบ่งซื้อแบ่งจ้างเพื่อเลี่ยงการระเบียบพัสดุ

ทั้งยังไม่ปรากฏว่าสำนักงาน กสทช.ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เชื่อมโยงกับการออกกฎกติกาในการกำกับดูแลของ กสทช. ไม่ปรากฏการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันในตลาดที่ระบุถึงการครอบงำกิจการ การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านของทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงตั้งข้อสังเกตว่า การอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติอนุญาตโดยไม่มีหลักเกณฑ์รองรับ

ด้าน "อมรเทพ จิรัฐิติเจริญ" กตป.ด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า ตาม พ.ร.บ. กสทช.ระบุให้ต้องจัดระเบียบคลื่นด้วยการตรวจสอบเหตุผลและความจำเป็นในการใช้คลื่นของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรคลื่นไปก่อนมีกสทช. เพื่อเรียกคืนความถี่มาจัดสรรใหม่แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการโดยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นว่า พ.ร.บ.เดิมไม่ได้ให้อำนาจไว้ทั้งที่สามารถทำได้

"ในต่างประเทศจะวางแผนจัดสรรคลื่นใหม่เพื่อรองรับความต้องการใช้งานล่วงหน้า4-5 ปี แต่ กสทช.ไม่ได้ทำ ขณะที่ในบทเฉพาะกาลระบุว่า หลัง พ.ร.บ.ประกาศใช้ 3 ปี ต้องให้รัฐวิสาหกิจนำส่งส่วนแบ่งสัมปทานหลังหักค่าใช้จ่ายให้ กสทช.เข้าคลัง ซึ่งครบกำหนด ก.ย. 2556 แต่วันนี้ก็ยังไม่ส่งหรือมาตรการเยียวยาทรูมูฟ ดีพีซี 2 ปีแล้วยังไม่ส่งรายได้ในส่วนนี้เข้าคลัง"

"พิชัย อุตมาภินันท์" กตป.ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์กล่าวว่า ด้านบรอดแคสต์ยังมีปัญหาในการกำกับดูแลการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลที่ล่าช้า กระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการรวมถึงผลกระทบจากกฎกติกาที่ประกาศใช้ที่กระทบผู้ประกอบการในหลายธุรกิจ

ในช่วงที่กำลังชุลมุนขอแก้ไขพ.ร.บ. กสทช. ท่ามกลางกระแสว่า สำนักงาน กสทช.ขอให้ยุบ กตป.เพื่อลดความซ้ำซ้อน เนื่องจากมีหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ตรวจสอบได้อยู่แล้วนั้น "ประธาน กตป." ย้ำว่า กตป.ยังมีความจำเป็น เพราะหน่วยงานตรวจสอบอื่น อาทิ สตง.เน้นตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตามระเบียบราชการ แต่ "กสทช." เป็นหน่วยงานที่ออกระเบียบทุกอย่างได้เอง จึงต้องดูผลกระทบ ผลลัพธ์ที่เกิดกับประชาชนและอุตสาหกรรมรวมถึงเอกซเรย์เฉพาะจุด เพื่อตรวจสอบเชิงลึกทุกโครงการที่ กตป.ตั้งข้อสังเกตล้วนรอดจากกาตรวจสอบจากหน่วยงานอื่น

"หากแก้ไข พ.ร.บ. กสทช.ควรแก้ในส่วนที่เป็นปัญหา อาทิ การใช้งบประมาณที่ง่ายเกินไป การไม่มีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม กม. ทำให้ทุกอย่างต้องไปพึ่งที่กระบวนการถอดถอนของ สนช.อย่างเดียว กลไกการทำงานของ กตป.ต้องให้สำนักงาน กสทช.อนุมัติงบประมาณ และแผนการดำเนินการทุกอย่าง รวมถึงต้องให้ส่งรายงานการตรวจสอบของ กตป.ไปให้สำนักงาน กสทช. ส่งให้ สนช.พิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก" ประธาน กตป.ย้ำ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428935186

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.