Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2558 TOT ยังคงเดินหน้าตั้งทีมเจรจากับพันธมิตรยื่นข้อเสนอจะร่วมธุรกิจกับเรามาแล้ว 5-6 ราย ซึ่งทีโอทีจะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับ 3 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโมบายล์ ยูเอสโอ และไฟเบอร์ออพติก

ประเด็นหลัก

       'ที่ผ่านมา ทีโอที ไปเจรจาอะไรกับใครก็เสียเปรียบไปหมด แต่นับจากนี้เมื่อเราได้บริษัทที่ปรึกษาในการเจรจากับพันธมิตร ทีโอทีต้องไม่เสียเปรียบและสามารถต่อรองทางธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้มีพันธมิตรยื่นข้อเสนอจะร่วมธุรกิจกับเรามาแล้ว 5-6 ราย ซึ่งทีโอทีจะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับ 3 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโมบายล์ ยูเอสโอ และไฟเบอร์ออพติก ดังนั้นดีลอยท์ต้องเข้าไปเจรจาในทุกธุรกิจรวมถึงเรื่องการเคลียร์ข้อพิพาทของทีโอทีกับเอไอเอสด้วย โดยจะทำในรูปแบบเหมือนกับที่ดีแทคทำกับบริษัท กสท โทรคมนาคม'
     
       ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมผู้บริหารทีโอที ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้ตั้งทีมเจรจาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้ โดยมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธานทีมเจรจา และประกอบด้วยผู้บริหารทีโอทีระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อีก 3-4 คน อาทิ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ,นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล และนายมรกต เธียรมนตรี เป็นต้นและบริษัทดังกล่าวยังต้องรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์เดือนละ 2 ครั้งด้วย



_____________________________________________________

















ทีโอทีคว้า 'ดีลอยท์' นั่งที่ปรึกษาเจรจาพันธมิตร/ลุ้นเลือกกรรมการผู้จัดการใหญ่ 20 เม.ย.นี้


        ทีโอทีเลือก 'ดีลอยท์' นั่งที่ปรึกษาเจรจาหาพันธมิตรทางธุรกิจ มั่นใจไม่เกิน 3 เดือนได้ข้อสรุป แจงต้องสามารถต่อรองทางธุรกิจให้ทีโอทีไม่เสียเปรียบและได้ประโยชน์สูงสุด พร้อมดึงทีมผู้บริหารทีโอทีตั้งทีมงานเจรจาร่วมกัน ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้อนุมัติเพิ่มเงินเดือนและจ่ายโบนัสพนักงานหลังสตง.ตรวจสอบรายได้แล้วไม่พบการด้อยค่า นอกจากนี้ยังมีมติแต่งตั้งโครงสร้างหน่วยงาน USO เดินหน้าโครงการหาเงินเข้าองค์กร หลังถูกชะลอแต่ไม่วายถูกบอร์ดไร้สติบางคนขวางคลอง ส่วนการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ขณะนี้มีตัวเลือกแล้ว 4 ราย คาดนำรายชื่อเข้าที่ประชุมกรรมการสรรหา 20 เม.ย.นี้
     
       นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีได้คัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาในการวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว คือ ดีลอยท์ เนื่องจากเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ที่สำคัญเสนอราคามาถูกที่สุด โดยคาดว่าบริษัทดังกล่าวจะสามารถเจรจาหาพันธมิตรทางธุรกิจให้กับทีโอทีได้สำเร็จภายใน 2-3 เดือนนี้
     
       สำหรับเงื่อนไขในการเป็นที่ปรึกษานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง เพื่อให้นำตัวเลขดังกล่าวไปต่อรองกับพันธมิตรได้แบบไม่เสียเปรียบ อีกทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของโครงข่าย 3G ให้ได้ ซึ่งเบื้องต้นตนเองเห็นว่าโครงข่ายของทีโอทีสามารถรองรับลูกค้าได้ถึง 7.2 ล้านราย รวมถึงต้องมีความสามารถในการเจรจาเพื่อให้ได้ออปชั่นสำหรับทีโอทีให้มากที่สุด
     
       'ที่ผ่านมา ทีโอที ไปเจรจาอะไรกับใครก็เสียเปรียบไปหมด แต่นับจากนี้เมื่อเราได้บริษัทที่ปรึกษาในการเจรจากับพันธมิตร ทีโอทีต้องไม่เสียเปรียบและสามารถต่อรองทางธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้มีพันธมิตรยื่นข้อเสนอจะร่วมธุรกิจกับเรามาแล้ว 5-6 ราย ซึ่งทีโอทีจะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับ 3 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโมบายล์ ยูเอสโอ และไฟเบอร์ออพติก ดังนั้นดีลอยท์ต้องเข้าไปเจรจาในทุกธุรกิจรวมถึงเรื่องการเคลียร์ข้อพิพาทของทีโอทีกับเอไอเอสด้วย โดยจะทำในรูปแบบเหมือนกับที่ดีแทคทำกับบริษัท กสท โทรคมนาคม'
     
       ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมผู้บริหารทีโอที ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้ตั้งทีมเจรจาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้ โดยมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธานทีมเจรจา และประกอบด้วยผู้บริหารทีโอทีระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อีก 3-4 คน อาทิ นางปรียา ด่านชัยวิจิตร ,นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล และนายมรกต เธียรมนตรี เป็นต้นและบริษัทดังกล่าวยังต้องรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์เดือนละ 2 ครั้งด้วย
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้อนุมัติการขึ้นเงินเดือน 7.5 % ให้กับพนักงาน รวมถึงโบนัสด้วย หลังจากที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบรายได้ของบริษัทเรียบร้อยแล้ว พบว่าไม่มีการด้อยค่าเนื่องจากทรัพย์สิน 3G เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ทีโอทีมีกำไร 1,898 ล้านบาท จึงสามารถจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้ ซึ่งหลังจากนี้ต้องมีการเรียกผู้ถือหุ้นมาประชุมและดำเนินการจ่ายโบนัสต่อไป
     
       นอกจากนี้มติที่ประชุมยังอนุมัติตั้งหน่วยงานเพื่อเดินหน้าโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) โดยมี นายวุฒิดนัย ฐิตะกสิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และทีมงานอีก 50 คน ดูแลโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวทีโอที ชนะการประมูลมาตั้งแต่ปี 2557 โดยโครงการ USO ของ กสทช. ได้ จัดให้มีการประกวดราคา โครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะ และจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยทั่วถึง วงเงินรวม 441 ล้านบาท ด้วยวิธีการประกวดราคาใน 2 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดหนองคาย แต่โครงการถูกชะลอออกไปโดยคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที มีแนวคิดขอปลดล็อกคำสั่งดังกล่าวโดยจะนำเสนอเรื่องนี้ให้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ทำหนังสือถึงคสช.
     
       ส่วนเรื่องการเปิดรับสมัครตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ขยายระยะเวลาออกมานั้นพบว่ามีผู้เข้ามาสมัครเพิ่มอีก 3 คน ทำให้ขณะนี้มีผู้รอการคัดเลือกในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว 4 คน จากเดิมที่เหลือเพียง 1 คน ก่อนจะขยายระยะเวลาเพิ่มเติม ทั้งนี้จะนำรายชื่อทั้งหมดเข้าประชุมกับกรรมการสรรหาอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย.นี้
     
       ด้านแหล่งข่าวในทีโอทีกล่าวว่าการที่บอร์ดทีโอทีต้องอนุมัติสายงานเพื่อรับผิดชอบงานด้าน USO อีกครั้ง เพราะการปรับโครงสร้างที่ผ่านมาทำแบบมืออ่อนหัด เหลิงอำนาจ ขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เล่นพรรคพวก จนป่วนกันไปหมดทั้งทีโอที ทำจนถึงงานบางส่วนหายไปเลย และหากยึดตามโครงสร้างที่ปรับแบบเละเทะก็ไม่มีใครมารับผิดชอบงาน USO ที่มีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาทในอนาคตอันใกล้โดยตรง และถึงแม้จะมีการอนุมัติในหลักการให้ดำเนินงาน USO แต่บอร์ดบางคนยังแสดงการอวดภูมิรู้แบบไม่ฉลาด ถามเหมือนเด็กที่ไม่ทำการบ้าน น่าอับอายหากใครนำเทปบันทึกการประชุมมาถอดให้เห็นภูมิปัญญาแต่ละคน ก็จะรู้ว่าบอร์ดที่แต่งตั้งในสมัยรัฐบาลคสช.มีประสิทธิภาพบางคนเท่านั้น บางคนก็ไม่รู้ตั้งเข้ามาได้อย่างไร
     
       นอกจากนี้อัตรากำลังที่ให้มีเพียง 50 คนหากลงลึกในรายละเอียดจะเห็นได้ว่าเป็นการให้แบบเสียไม่ได้ ให้แบบไปตายดาบหน้า ทั้งๆที่อัตราที่ขอไป 190 กว่าคนไม่ใช่การเพิ่มอัตราใหม่ แต่เป็นการเกลี่ยคนที่กองพะเนินเทินทึก กินเงินเดือนเปล่าๆแต่ไม่ทำงานตามส่วนงานต่างๆ ซึ่งตามโครงสร้าง USOที่เสนอมาคือการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด แต่กลายเป็นว่าเมื่อไม่ใช่พวกพ้องก็ต้องฟาดกันให้แหลกไปข้าง ลืมแม้กระทั่งสิ่งที่ทำไปเป็นผลเสียกับทีโอที เพียงเพราะแก้แค้นที่ทำให้เสียหน้า
     
       'อาจใกล้ถึงเวลาที่จะแฉให้เห็นความเน่าเฟะที่มันซุกอยู่ใต้พรมแล้ว'
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000041343

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.