Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2558 ผู้ประกอบการวิทยุกรุงเทพฯรายใหญ่!! พร้อมใจกันระบุ ภาพรวมธุรกิจวิทยุปีนี้จะมีมูลค่า 6,000 ล้านบาท หรือเท่ากับปี 2556 ะดึงความสนใจจากผู้บริโภคจากสื่อออนไลน์กลับมาฟังวิทยุได้อย่างไร



ประเด็นหลัก



"เดียว วรตั้งตระกูล" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินดิเพ็นเดนท์ จำกัด ผู้บริหารคลื่น 103.5 เอฟเอ็มวัน 102.5 เก็ทเรดิโอ 104.5 เลิฟเรดิโอ และ 98.5 คลิกเอฟเอ็ม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วิทยุคือคอนเทนต์ ซึ่งในตลาดคงยังเดินหน้าต่อไปได้เพียงแต่อาจไม่ได้เติบโตไปมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้เล็กจนไม่สามารถสร้างธุรกิจได้ เพราะมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท

และโจทย์ท้าทายผู้ประกอบการคือจะดึงความสนใจจากผู้บริโภคจากสื่อออนไลน์กลับมาฟังวิทยุได้อย่างไร

นอกจากสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ล่าสุด ผู้ประกอบการวิทยุแข่งกันสร้างอีโมชั่นนอล หรือทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเมื่อฟังคลื่นนี้แล้ว จะมีสิทธิพิเศษมากกว่าคนอื่นอย่างไร ขณะที่อนาคต สิ่งที่ผู้ประกอบการวิทยุต้องทำคือการสร้างพื้นที่ให้ผู้ฟังได้แสดงตัวตน

ดังนั้น เป้าหมายของบริษัทคือต้องการเป็น "วิทยุไอดอล" หมายถึง กำหนดกระแส หรือการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

"สุธี ฉัตรรัตนกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ผู้บริหารคลื่น "คูล ฟาเรนไฮต์ 93" ฉายภาพว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการวิทยุชัดเจนขึ้น จากการรับฟังผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เมื่อ 1-2 ปีก่อน วันนี้ผู้ประกอบการวิทยุแข่งขันกันรักษาฐานผู้ฟังกลุ่มเดิมไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของคลื่น

ทิศทางธุรกิจปีนี้ บริษัทจะเดินหน้าสร้างกิจกรรมและการตลาดระหว่างคลื่นกับผู้ฟังเพิ่มขึ้น ภายใต้กลยุทธ์ "Soundation & Lifestyle Engagement" เพื่อรองรับการแข่งขันที่คาดว่าจะเริ่มต้นขึ้นกลางปีนี้

นอกจากนี้ยังเตรียมปล่อยแคมเปญทางการตลาดออกมาต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายฐานสู่ผู้ฟังกลุ่มใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา

"สุธี" กล่าวว่า ในแง่ของสัญญาณการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุเริ่มกลับมาคึกคักขึ้น แม้ว่าจะลดลงในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 ธุรกิจวิทยุน่ามีดีกรีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากสื่อวิทยุวันนี้ยังมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังวัยทำงานได้ดี

"การวางแผนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุช่วง2-3ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนไปจากการขยายตัวของสื่อใหม่ๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้การวางงบฯโฆษณาผ่านวิทยุสั้นลง จากเดิมที่วางงบฯระยะยาวเป็นปีเหลือเพียง 3-6 เดือน"

อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาพรวมธุรกิจวิทยุปีนี้จะมีมูลค่า 6,000 ล้านบาท หรือเท่ากับปี 2556 หลังจากปี 2557 ภาพรวมธุรกิจวิทยุเติบโตลดลง 11% จากมูลค่าตลาดปี 2556 ขณะที่บริษัทตั้งเป้าหมายว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 535 ล้านบาท หรือโตขึ้นจากปีก่อน 20%


_____________________________________________________











"ธุรกิจวิทยุ" ขยับทัพรอบใหม่ ชน "นิวมีเดีย" ดึงผู้ฟังคืน ยื้อตลาด 6 พันล้าน




โดนกระแสความคึกคักของทีวีดิจิทัล ทีวีดาวเทียม รวมถึงสื่อใหม่ที่ขยายตัวขึ้น เข้ามาชิงพื้นที่ แย่งความสนใจจากผู้บริโภคไปอย่างต่อเนื่องสำหรับธุรกิจวิทยุ แต่ธุรกิจนี้ก็ยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจากการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ ล่าสุด "โมโนกรุ๊ป" เปิดคลื่นวิทยุ โมโนเรดิโอ "FresZ 91.5 FM" หลังก่อนหน้านี้ "บีอีซี" ก็ได้เปิดตัวคลื่นเพลงฟังสบาย "เวอร์จิ้นส์ สตาร์ 98.00 เอฟเอ็ม"

การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากภาพรวมการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อวิทยุที่ค่อนข้างสูง จากรายงานบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า การใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อช่วง 2 เดือนปี 2558 (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) สื่อวิทยุมีมูลค่าถึง 712 ล้านบาท ลดลง 2.86% ส่วนปี 2557 วิทยุมีมูลค่า 5,625 ล้านบาท ลดลง 11% จากปีก่อน และปี 2556 มีมูลค่า 6,320 ล้านบาท

ดีกรีการแข่งขันของธุรกิจวิทยุวันนี้ ไม่ได้มาจากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่โจทย์ที่ท้าทายทุกผู้ประกอบการคือจะชิงความสนใจผู้ฟังจากสื่อออนไลน์ได้อย่างไร

"เดียว วรตั้งตระกูล" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินดิเพ็นเดนท์ จำกัด ผู้บริหารคลื่น 103.5 เอฟเอ็มวัน 102.5 เก็ทเรดิโอ 104.5 เลิฟเรดิโอ และ 98.5 คลิกเอฟเอ็ม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วิทยุคือคอนเทนต์ ซึ่งในตลาดคงยังเดินหน้าต่อไปได้เพียงแต่อาจไม่ได้เติบโตไปมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้เล็กจนไม่สามารถสร้างธุรกิจได้ เพราะมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท

และโจทย์ท้าทายผู้ประกอบการคือจะดึงความสนใจจากผู้บริโภคจากสื่อออนไลน์กลับมาฟังวิทยุได้อย่างไร

นอกจากสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ล่าสุด ผู้ประกอบการวิทยุแข่งกันสร้างอีโมชั่นนอล หรือทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเมื่อฟังคลื่นนี้แล้ว จะมีสิทธิพิเศษมากกว่าคนอื่นอย่างไร ขณะที่อนาคต สิ่งที่ผู้ประกอบการวิทยุต้องทำคือการสร้างพื้นที่ให้ผู้ฟังได้แสดงตัวตน

ดังนั้น เป้าหมายของบริษัทคือต้องการเป็น "วิทยุไอดอล" หมายถึง กำหนดกระแส หรือการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

"สุธี ฉัตรรัตนกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ผู้บริหารคลื่น "คูล ฟาเรนไฮต์ 93" ฉายภาพว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการวิทยุชัดเจนขึ้น จากการรับฟังผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เมื่อ 1-2 ปีก่อน วันนี้ผู้ประกอบการวิทยุแข่งขันกันรักษาฐานผู้ฟังกลุ่มเดิมไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของคลื่น

ทิศทางธุรกิจปีนี้ บริษัทจะเดินหน้าสร้างกิจกรรมและการตลาดระหว่างคลื่นกับผู้ฟังเพิ่มขึ้น ภายใต้กลยุทธ์ "Soundation & Lifestyle Engagement" เพื่อรองรับการแข่งขันที่คาดว่าจะเริ่มต้นขึ้นกลางปีนี้

นอกจากนี้ยังเตรียมปล่อยแคมเปญทางการตลาดออกมาต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขยายฐานสู่ผู้ฟังกลุ่มใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา

"สุธี" กล่าวว่า ในแง่ของสัญญาณการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุเริ่มกลับมาคึกคักขึ้น แม้ว่าจะลดลงในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 ธุรกิจวิทยุน่ามีดีกรีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากสื่อวิทยุวันนี้ยังมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังวัยทำงานได้ดี

"การวางแผนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุช่วง2-3ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนไปจากการขยายตัวของสื่อใหม่ๆ และพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้การวางงบฯโฆษณาผ่านวิทยุสั้นลง จากเดิมที่วางงบฯระยะยาวเป็นปีเหลือเพียง 3-6 เดือน"

อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาพรวมธุรกิจวิทยุปีนี้จะมีมูลค่า 6,000 ล้านบาท หรือเท่ากับปี 2556 หลังจากปี 2557 ภาพรวมธุรกิจวิทยุเติบโตลดลง 11% จากมูลค่าตลาดปี 2556 ขณะที่บริษัทตั้งเป้าหมายว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ประมาณ 535 ล้านบาท หรือโตขึ้นจากปีก่อน 20%

สอดรับกับ "สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจสื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารคลื่น 94 อีเอฟเอ็ม, 98 ชิลล์เอฟเอ็ม และ 106.5 กรีนเวฟ ให้มุมมองว่า ภาพรวมการแข่งขันของธุรกิจวิทยุปีนี้ ผู้เล่นในธุรกิจนี้คงไม่ได้ลงทุนอะไรเพิ่ม แต่จะรักษาพื้นที่การแข่งขันของตัวเองไว้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอความคืบหน้าของวิทยุดิจิทัล คาดว่าปีนี้ธุรกิจวิทยุจะทรงตัวหรืออาจจะมีการเติบโตจากปีก่อนไม่มากนัก สำหรับบริษัทยังโฟกัสที่ 3 คลื่น โดยแต่ละคลื่นก็มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องสำหรับธุรกิจวิทยุ คือ การจัดกิจกรรมอีเวนต์ต่าง ๆ ของคลื่น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟังกับสถานีวิทยุ รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า (แบรนด์สินค้า) ด้วย

เท่ากับว่าโจทย์ของผู้ประกอบการวิทยุวันนี้ ไม่ได้แข่งกันชิงสัมปทานวิทยุ หรือความนิยมของผู้ฟัง (เรตติ้ง) เหมือนที่ผ่าน แต่มุ่งรักษาพื้นที่ ส่วนแบ่งตลาดที่คลื่นตัวเองถือครองอยู่ให้เหนียวแน่นที่สุด เพราะนั่นหมายถึงรายได้จากเม็ดเงินโฆษณา และความอยู่รอดของธุรกิจ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427949651

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.